Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1286
Title: Effect of Government Finance and Fiscal Accounting System on Management Success under the Ministry of Public Health Service 
ผลกระทบของระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐที่มีผลต่อความสำเร็จการบริหารงานของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Authors: Manatchaya Thongniwan
มนัชญา ทองนิวัน
Nuttavong Poonpool
ณัฐวงศ์ พูนพล
Mahasarakham University. Mahasarakham Business School
Keywords: ระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐ
ความสำเร็จทางการบริหารงาน
หน่วยบริหารสังกัดกระทรวงสาธารสุข
Government Finance and Fiscal Accounting System
Management Success
Under the Ministry of Public Health Service
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Government Finance and Fiscal Accounting System is an important tool for managing the government's finance and finance to be more modern and effective. By applying information technology to improve the operations and management of government sectors regarding budgeting, accounting, procurement, and disbursement in the same direction that emphasize efficiency and streamline operations. Therefore, the researcher has studied the effect of the government fiscal and accounting system that affect the management success of the service units under the ministry of public health. By collecting data from 59 chief financial and accounting executives of the service unit under the ministry of public health and using questionnaires as a tool for data collection the statistics used for data analysis were t-test, F-test (ANOVA and MANOVA), multiple correlation analysis, simple regression analysis and multiple regression analysis. The research found that chief financial officer of the service unit under the ministry of public health is also opinions regarding the overall government fiscal and fiscal system in a high level. The highest level, is procurement system and financial accounting system high level, is budget management systems the chief financial and accounting department of the service unit under the ministry of public health is an opinion about the overall and each side management success. At a high level, including operational transparency operational effectiveness good resource allocation and good risk management. Chief financial officer of the service unit under the ministry of public health is including the types of health service units, service unit sizes and budget funds that are allocated differently. There are also opinions regarding the overall government finance and fiscal accounting system and on each side not different chief financial officer of the service unit under the ministry of public health with the types of health service units. Moreover, service unit sizes and budget funds that are allocated differently there is also an opinion about the overall management success. And on each side not different. The analysis of the relationships and the effects found that 1) the government fiscal and fiscal system budget management system is a relationship and a negative impact on overall management success. Regarding transparency in operations operational effectiveness good resource allocation and good risk management 2) government fiscal and accounting systems procurement system there is a relationship and a positive impact on overall management success. (transparency good resource allocation and good risk management.) and 3) government fiscal and financial accounting systems financial accounting system is a relationship and a positive impact on overall management success. transparency good resource allocation and good risk management. In conclusion, the accounting system for finance and public sector has a positive relationship and a negative impact on the success of the administration of service units under the ministry of public health. Therefore, The chief financial officer of the service unit under the ministry of public health. Therefore, the information obtained from this research should be used as a guideline for managing the organization. To make the accounting system for financial and public sector efficiency and effectiveness Can reduce the risk of management Reduce redundant steps Reducing time and operating costs These things will make the organization transparent, worthwhile, verifiable, leading to success and achieving the set goals.
ระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการด้านการเงินการคลังของภาครัฐให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับกระบวนการดำเนินงานและการจัดการภาครัฐด้านการงบประมาณ การบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่าย ให้เป็นทิศทางเดียวกันที่เน้นประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาผลกระทบของระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐที่มีผลต่อความสำเร็จการบริหารงานของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการเงินและบัญชีของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 59 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t - test , F - test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการเงินและบัญชีของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านระบบการจัดซื้อจัดจ้างและด้านระบบการเงินการบัญชี และอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านระบบบริหารงานงบประมาณ และผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการเงินและบัญชีของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความสำเร็จการบริหารงานโดยรวม และเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ด้านประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ด้านการจัดสรรทรัพยากรที่ดี และด้านการบริหารความเสี่ยงที่ดี ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการเงินและบัญชีของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีประเภทหน่วยบริการ เขตสุขภาพ ขนาดหน่วยบริการ และเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรแตกต่างกัน  มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐโดยรวม และเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการเงินและบัญชีของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีประเภทหน่วยบริการ เขตสุขภาพ ขนาดหน่วยบริการ และเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรแตกต่างกัน  มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความสำเร็จการบริหารงานโดยรวม และเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า 1) ระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐ ด้านระบบบริหารงานงบประมาณ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงลบกับความสำเร็จการบริหารงานโดยรวม ด้านความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ด้านประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ด้านการจัดสรรทรัพยากรที่ดีและด้านการบริหารความเสี่ยงที่ดี 2) ระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐ ด้านระบบการจัดซื้อจัดจ้าง มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จการบริหารงานโดยรวม ด้านความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ด้านประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ด้านการจัดสรรทรัพยากรที่ดีและด้านการบริหารความเสี่ยงที่ดี และ 3) ระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐ ด้านระบบการเงินการบัญชี มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จการบริหารงานโดยรวม ด้านความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ด้านประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ด้านการจัดสรรทรัพยากรที่ดีและด้านการบริหารความเสี่ยงที่ดี โดยสรุป  ระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบกับความสำเร็จการบริหารงานของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้นผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการเงินและบัญชีของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จึงควรใช้ข้อสนเทศที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้นำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้ระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถลดความเสี่ยงในการบริหารงาน ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน สิ่งเหล่านี้จะทำให้องค์กรเกิดความโปร่งใส คุ้มค่า ตรวจสอบได้ นำไปสู่ความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
Description: Master of Accountancy (M.Acc.)
บัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1286
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010980005.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.