Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1295
Title: Development of Scientific Writing of Mathayomsuksa 3 Students in Nongareepittaya School, Sisaket Province Using Learning Management by Inquiry Cycle with Science Writing Heuristic Approach
การพัฒนาการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองอารีพิทยา จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเทคนิคการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์
Authors: Jirun Nuntasane
จิรันตร์ นันทะเสน
Bungorn Thaewnon-ngiw
บังอร แถวโนนงิ้ว
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: การเขียนเชิงวิทยาศาสตร์
การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์
การเรียนรู้แบบสืบเสาะ
science writing
writing heuristic
science communication
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aims to develop sciences writing skills and study the attitude toward science using learning management by the Inquiry cycle with Science Writing Heuristic (SWH) approach. The study was carried out 15 of 9th grade's students in Nongareepittaya school. The action research instrument was 1) 10 lesson plans, Inquiry-based (5E) with a science writing heuristic, including 15 hours 2) The Science Writing assessment form 3) Science Writing interview form and 4) The attitude toward sciences test. This action research cycle was based on Kemmis & McTaggart's model (PAOR), divided into 3 cycles of the action research, The Data analyzed by using the simple statistics such as Mean, Standard variation. First, the result indicated that 66.67 percent of students who have sciences writing in the pass level, In the 1st cycle, 75 percent in the 2nd cycle, and 73.33 percent in the last cycle. And this study also found the attitude toward science's students was Medium level.
การพัฒนาการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองอารีพิทยา จังหวัดศรีสะเกษครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ และ เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองอารีพิทยา จังหวัดศรีสะเกษที่ได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเทคนิคการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนหนองอารีพิทยา จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเทคนิคเชิงวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 แผน รวม 15 ชั่วโมง แบบประเมินการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ แบบสัมภาษณ์การเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งจำนวนวงจรปฏิบัติการเป็นตามรูปแบบของ Kemmis & Mctargart เป็น 3 วงรอบ ใช้สถิติพื้นฐาน  การหาร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า จากวงจรปฏิบัติการวงรอบที่ 1 – 3  นักเรียนมีระดับการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ศาสตร์อยู่ในระดับผ่านขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 66.67 ร้อยละ 75 และ ร้อยละ 73.33 ตามลำดับ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับ ปานกลาง
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1295
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010282001.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.