Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1296
Title: Determination of phytochemical contents and antioxidant activity of sugarcane bagasse extracts
การตรวจวัดปริมาณสารพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากชานอ้อย
Authors: Panadda Sanarat
ปนัดดา เสนารัตน์
Prasong Srihanam
ประสงค์ สีหานาม
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: สารพฤกษเคมี
ชานอ้อย
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์
phytochemicals
bagasse
antioxidant activity
enzyme inhibition activity
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this research was to extract the phytochemicals from 2 varieties of bagasse sugarcane; Khon Kaen 1 and Khon Kaen 2 by maceration with ethanol. The extracts were then investigated for phytochemicals contents. The results showed that total phenolic content (TPC), total flavonoids content (TFC), total triterpenoid content (TTC) and total sterol content (TSC) were significantly different by the variety of sugarcane. The TPC, TFC and TTP had the highest in Khon Kaen 2 while TSC had the highest in Khon Kaen 1. The extract obtained from Khon Kaen 2 have free radical scavenging activity in higher potent than Khon Kaen 1 in every method used. All tested phytochemicals have positively correlated, especially for TPC, TFC and TTC. The TSC had high positively correlated to FRAP assay. The extract obtained from Khon Kaen 2 showed higher α-glucosidase and tyrosinase inhibition activity than Khon Kaen 1, but in lower activity than standard. The extract obtained from Khon Kaen 2 found higher tested phytochemicals than Khon Kaen 1, except epicatechin. The quercetin, p-coumaric acid and catechin were the main phenolic found the highest content in the Khon Kaen 2 bagasse extract, respectively. This obtained results indicated that the bagasse sugarcane is an important source of phytochemicals which expressed antioxidant and enzymatic inhibition activities. It might be used the phytochemicals from the bagasse sugarcane for health supplement and beauty applications.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดสารพฤกษเคมีจากชานอ้อย 2 สายพันธุ์ คือ ขอนแก่น 1 และ ขอนแก่น 2 โดยการหมักด้วยเอทานอล แล้วนำไปตรวจสอบสารพฤกษเคมี ผลการทดลอง พบว่า ปริมาณฟีนอลิกรวม (TPC) ฟลาโวนอยด์รวม (TFC) ไตรเทอร์พีนอยด์รวม (TTC) และสเตอรอลรวม (TSC) มีปริมาณแตกต่างกันตามสายพันธุ์ของอ้อย โดยปริมาณ TPC, TFC และ TTC พบมากในสารสกัดจากชานอ้อยสายพันธุ์ขอนแก่น 2 ในขณะที่ปริมาณ TSC พบมากในสายพันธุ์ขอนแก่น 1 สารสกัดจากชานอ้อยสายพันธุ์ขอนแก่น 2 มีฤทธิ์การดักจับอนุมูลอิสระสูงกว่าสายพันธุ์ขอนแก่น 1   ในทุกวิธีที่ตรวจวัด สารพฤกษเคมีทุกชนิดมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกันโดยเฉพาะ TPC, TFC และTTC และมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อตรวจสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS ส่วน TSC มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อตรวจสอบด้วยวิธี FRAP สารสกัดจากชานอ้อยสายพันธุ์ขอนแก่น 2 มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ α-glucosidase และ tyrosinase สูงกว่าสายพันธุ์ขอนแก่น 1 แต่ฤทธิ์ต่ำกว่าสารมาตรฐาน สารสกัดจากชานอ้อยสายพันธุ์ขอนแก่น 2 มีปริมาณสารพฤกษเคมีสูงกว่าสารสกัดจากชานอ้อยสายพันธุ์ขอนแก่น 1 ยกเว้น epicatechin ในขณะที่ quercetin, p-coumaric acid และ catechin คือ สารหลักที่พบมากที่สุดตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าชานอ้อยเป็นแหล่งสำคัญของสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ซึ่งอาจนำสารพฤกษเคมีจากชานอ้อยนี้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความงามได้
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1296
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010286001.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.