Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1312
Title: The Development of Child Rights Enhancing Models in Secondary Educational Schools
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
Authors: Tawan Suntara
ถวัลย์ สุนทรา
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนา
รูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็ก
ระดับมัธยมศึกษา
The Development
Child Rights Enhancing Models
Secondary Educational Schools
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were: 1) to study the elements and indicators of child rights in secondary schools. 2) to develop the child rights enhancing models in the secondary schools. 3) to study the forms of child rights enhancing models in the secondary schools. This study was divided ion to 3 phases; Phase 1, studied the elements and indicators of child rights in secondary schools. Phase 2, developed the child rights enhancing models in the secondary schools. And phase 3, studied the types of child rights enhancing models in the secondary schools. Research instruments were child rights enhancing models and manual of using child rights enhancing forms. Tools used in data collection; 1) questionnaire 2) interview 3) evaluation form. The statistics used in the data analysis as frequency, average, standard deviation. The findings were as follows: 1. There were 4 elements of child rights in secondary schools; 1) survival rights, there were 4 indicators. 2) Protection rights, there were 8 indicators. 3) Development rights, there were 4 indicators. 4) Participation rights, there were 5 indicators. 2. The results of development in child rights enhancing models in the secondary schools were found that there were 6 elements; 1) Principles and formsof child rights enhancing models. 2) The purposes of child rights enhancing models. 3) System and mechanismof child rights enhancing models. 4) Child rights enhancing activities. 5) Performance evaluationof child rights enhancing models and 6) summary and report of child rights enhancing models. 3. The results of using child rights enhancing models in in secondary schools were found that 1) after using child rights enhancing models in in secondary schools affected to the child rights development which higher before using child rights enhancing models in in secondary schools. 2) The satisfaction to using child rights enhancing models in in secondary schools, students and guardians, was in the highest level and for teachers and educational personnel were in high level.  3) Performance evaluation of child rights enhancing models in secondary schools, evaluated by teachers and educational personnel after using the model was found that suitability section, was in high level and profitability was in the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 3) เพื่อศึกษาการใช้รูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของสิทธิเด็กและตัวบ่งชี้สิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา และระยะที่ 3 ศึกษาการใช้รูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน คือ รูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็ก และคู่มือการใช้รูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในระดับมัธยมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวนความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของสิทธิเด็กมี 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านสิทธิในการมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัย (Survival Rights) ประกอบไปด้วย 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Protection Rights) ประกอบไปด้วย 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ด้านสิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Development Rights) ประกอบไปด้วย 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 4 ด้านสิทธิในการมีส่วนร่วม (Participation Rights) ประกอบไปด้วย 5 ตัวบ่งชี้ ผลประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา พบว่า รูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กมีองค์ประกอบของรูปแบบ 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็ก 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็ก 3) ระบบงานและกลไกของรูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็ก 4) กิจกรรมการส่งเสริมสิทธิเด็ก 5) การประเมินผลการดำเนินงานของรูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็ก และ 6) การปรับปรุงพัฒนาและรายงานผลของรูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็ก ผลการประเมินโดยรวมด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก  3. ผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา พบว่า 1) หลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษามีผลการพัฒนาสิทธิเด็กสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 2) ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่ในระดับมาก 3) การประเมินรูปแบบการส่งเสริม สิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประเมินโดยครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังการใช้รูปแบบ พบว่า มีด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1312
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010560002.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.