Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1314
Title: | The Program for Teacher Development of Learning Management to Enhance Reading and Writing Abilities of Pre-elementary School Students under Mahasarakham Office of Primary Education Service Area 2 การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 |
Authors: | Thitaree Papanai ฐิตารีย์ ปาปะใน Surachet Noirid สุรเชต น้อยฤทธิ์ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | ครูภาษาไทย การอ่านออกเขียนได้ ชั้นก่อนประถมศึกษา Thai Language Teacher Reading Writing Abilities Pre-elementary |
Issue Date: | 22 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This purposes of this research were to study the current and ideal situation in learning management to enhance Reading and Writing Abilities of Pre-elementary school students under Mahasarakham Office of Primary Education Service Area 2 and to develop the program for teacher development of learning management to enhance Reading and Writing Abilities of Pre-elementary school students under Mahasarakham Office of Primary Education Service Area 2. The research was designed into 2 phrases. Phrase 1 was to study the current and ideal situations of learning management to enhance analytical thinking. The samples comprised of 226 of schools administrators and thai teachers in Mahasarakham Office of Primary Education Service Area 2, were collected by Krejcie and Morgan. The research instruments were questionnaire with 5 rating scale. Phrase 2 was to develop the program for teacher development of learning management to enhance Reading and Writing Abilities of Pre-elementary school students. Sample were 2 experts and and 5 experts to evaluate. The research instruments were interview form and appropriate evaluation form. The data were analyzed by percentage , mean, standard deviation and indicator of need to improve. The result of research indicated that.
1. Phase 1 the current situations of teacher development of learning management to enhance Reading and Writing Abilities of Pre-elementary school students as the whole and each factors were at the low level. The ideal situations of teacher development of learning management to enhance Reading and Writing Abilities of Pre-elementary school students as the whole and each factors were at the highest level.
2. Phase 2 a developing Program for teacher development of learning management to enhance Reading and Writing Abilities of Pre-elementary school students under Mahasarakham Office of Primary Education Service Area 2 consisted of five components include 1) Principle 2) Objective 3) Content 4) Process 5)evaluation.
3. The result of the appropriateness and feasibility evaluation of a developing program for teacher development of learning management to enhance
Reading and Writing Abilities of Pre-elementary school students, the total score was at the highest level.
In conclusion, the results of the development of a learning management program for Thai language teachers for literacy among pre-primary school students Under the Office of Maha Sarakham Primary Educational Service Area 2, this helps the school to be used as a guideline for teacher development in learning management of Thai language teachers for literacy among pre-primary school students systematically and quality. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 เพื่อสร้างโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 และเพื่อประเมินโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยสร้างองค์ประกอบและตัวชี้วัด แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูภาษาไทย จำนวนรวม 226 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 จำนวน 57 โรง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา โดยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ระยะที่ 2 การสร้างโปรแกรมโดยการศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จากโรงเรียนต้นแบบ 2 โรง โดยทำการสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 2 คน และระยะที่ 3 ประเมินโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ทำการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 38 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.432 – 0.770 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.956 แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 5 ข้อ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 24 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยรวม อยู่ในระดับมาก ที่สุด 2. โปรแกรมการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการ และการประเมินผล 3. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยรวมทั้งสองส่วนอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปได้ว่า ผลการพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ในครั้งนี้ ช่วยให้สถานศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ของครูสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา ได้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1314 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58010586012.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.