Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1318
Title: Developing Teachers’ Team Work Enhance Program Under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
Authors: Peerada Mungkun
พีรดา มุงคุณ
Hemmin Thanapatmeemamee
เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
การทำงานเป็นทีม
โปรแกรมเสริมสร้าง
Team Work
Program Development
Enhance Program
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to study current conditions and desirable conditions of teachers’ team work under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4, 2) to developing the teachers’ team work enhance program under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4. This research had 2 phases; Phase 1 to study current conditions and desirable conditions of teachers’ team work under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4. The samples group consisted of 322 directors and teachers selected by multi-stage sampling. Phase 2 to developing the teachers’ team work enhance program under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4, program assessed by 7 luminaries selected by purposive sampling. Research instrument were questionnaire, interviews and assessment form. The statistics used for analyzing data were percentage, mean and standard deviation. The result of research were found;               1. The current conditions of teachers’ team work under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4 overall were at high levels and the desirable conditions overall were at highest levels.                 2. The teachers’ team work enhance program under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4 consisted 6 components were as follows 1) The importance of program 2) Program objectives 3) Program structure 4) Development methods  5) Content and essence of the program and 6) Evaluation, the result of program assessment were found that program suitability assessed and possibility assessed both at highest levels.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)  ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การทำงานเป็นทีมของครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต 4 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต 4  มีการดำเนินการ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การทำงานเป็นทีมของครู  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต 4 จำนวน 322 คน ได้มาโดยการการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต 4  ประเมินโปรแกรม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้                                                    1. การทำงานเป็นทีมของครูในสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้านส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน                                            2. โปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต 4  ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย  1) ความสำคัญของโปรแกรม 2)วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) โครงสร้างของโปรแกรม ระยะเวลาการพัฒนา 126 ชั่วโมง 4) วิธีดำเนินการพัฒนา มีกระบวนการพัฒนา 3 ขั้น คือ  ขั้นที่ 1 เตรียมการ ขั้นที่ 2 การพัฒนา  ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินผล 5) เนื้อหาและสาระสำคัญของโปรแกรม ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้  5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน หน่วยการเรียนรู้ 2 ภาวะผู้นำที่เหมาะสม  หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การมีส่วนร่วม  หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ความสัมพันธ์ภายใน – ภายนอก หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การติดต่อสื่อสาร  กระบวนการพัฒนาทีมงาน โดยมีวิธีการพัฒนา ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การอบรมและการนิเทศภายใน 6) การประเมินผล โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1318
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010586026.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.