Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1322
Title: The Development of an Guideline to Enhance Teacher’s Research Ability in School for the Deaf in Northeastern Region
การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัย ของครูโรงเรียนโสตศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Authors: Srisuda Patjan
ศรีสุดา พัฒจันทร์
Prasert Ruannakarn
ประเสริฐ เรือนนะการ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาแนวทาง
การส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัย
โรงเรียนโสตศึกษา
Development of the Guideline
Enhancing the Research Ability
School for the Deaf
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to: 1) Study the current states of teacher’s research ability, 2) Construct the guideline for enhancing teacher’s research ability, 3) Implement the guideline to enhance teacher’s research ability and 4) Evaluate the guideline to enhance teacher’s research ability in school for the deaf in Northeastern Region. This research was research and development design. The samples composed of 1) one hundred forty-two teachers, 2) fourteen experts for in-depth interview, 3) seven experts for focus group discussion, 4) ten teachers of implementation the guideline and 5) seventeen school administrators and stakeholders. The research instruments consisted of 1) knowledge test form, 2) questionnaire of current states for skills, 3) questionnaire of current states for characteristics researcher, 4) Interview form for interviewing the guideline to enhance teacher’s research ability, 5) Focus group discussion record form, 6) The assessment form for appropriateness of guideline to enhance teacher’s research ability, 7) The assessment form for appropriateness of manual for using guideline to enhance teacher’s research ability, 8) Short-term research training course, 9) Training plan, 10) Research report assessment form, 11) Research article assessment form, 12) Research presentation assessment form, and 13) The assessment form for appropriateness of guideline for enhancing teacher’s research ability. Data were analyzed by using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, and inferential statistics for testing research hypotheses such as one sample t-test, Wilcoxon signed rank test for one sample and content analysis. The research findings were as follows: 1. The current states of teacher’s research ability were found that research ability of teachers in knowledge was equal to 42.70 % of 50 score, which was 60 percent lower that the criteria set by the researcher, ability of skills was at a medium level with an average of 3.34 and a standard deviation of 0.59 and ability in characteristics was at high level with an average of 3.79 and a standard deviation of 0.65 and the results of the qualitative research found that most teachers still lacked of knowledge and understanding about special education research, skills were found that most teachers did not design research according to the research principles and the special education context and characteristics were found that most teachers were more alert in doing research because of their regulations with laws, regulations, policies of educational institutions and professional advancement. 2. The guideline for enhancing teachers’ research ability included four components such as Component 1: The Concept and theories, Component 2: Setting objectives, Component 3: Activities to enhance teacher’s research ability by driving with Deming’s Cycle, and Component 4: Assessment of teacher’s research ability. The results of assessing the suitability of guideline for enhancing teachers’ research ability in school for the deaf in Northeastern region as a whole were the most appropriate, with an average of 4.71 and standard deviation of 0.42. 3. The results of the experiment using the guideline to promote teachers’ research ability were teachers had knowledge about research problems, literature review and conceptual framework, research design, interpretation and conclusions of research which were higher than the threshold of 70 % with statistical significance at the 0.05 level and teachers had knowledge about writing research report which was below the threshold of 70 %. Teachers had skills about writing a complete research report, article writing and oral presentation of research which were higher than the threshold of 70% with statistically significant at the 0.05 level and characteristics of the research teachers which were higher than the threshold of 70% with a statistically significant at the 0.05 level and the results of the qualitative research on knowledge were found that teachers gained knowledge from the workshops, thus it made them for increasing their research knowledge. However, they still lacked of knowledge about the preparation of research papers. Regarding skills, it was found that teachers had practiced real research skills. Therefore, it allowed teachers to design research according to research principles. In terms of teacher-researcher characteristics, it was found that teachers realized and saw the importance of research by applying the research process to develop educational management for students with special needs. 4. The results of the assessment of the guideline for enhance teachers’ research abilities in schools for the deaf in Northeastern Region were found that the overall level was the most appropriate with a mean of 4.87 and standard deviation with 0.19 and the corresponding qualitative research results revealed that the developed guideline was consistent with the contexts of the school for the deaf and it was the most likely to be used to develop teachers' research abilities and affected the sustainable development of students in schools for the deaf, therefore it enabled teachers to develop knowledge, skills and characteristics of teacher researchers.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของความสามารถด้านการวิจัยของครู 2) สร้างแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัย 3) ทดลองใช้แนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัย และ 4) ประเมินแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัยของครูโรงเรียนโสตศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ตัวอย่างประกอบด้วย 1) ครูผู้สอน จำนวน 142 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 14 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับการสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน 4) ครูหน่วยทดลอง จำนวน 10 คน และ 5) ผู้บริหารโรงเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 17 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความรู้ด้านการวิจัย 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันด้านทักษะ 3) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันด้านคุณลักษณะครูนักวิจัย 4) แบบสัมภาษณ์แนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัย 5) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 6) แบบประเมินความเหมาะสมของแนวทาง 7) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้แนวทาง 8) หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น 9) แผนการฝึกอบรมระยะสั้น 10) แบบประเมินการเขียนรายงานวิจัย 11) แบบประเมินการเขียนบทความวิจัย 12) แบบประเมินการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา และ 13) แบบประเมินแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงสำหรับการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย คือ การทดสอบที และการทดสอบลำดับที่โดยเครื่องหมายของวิลค็อกซัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันความรู้ด้านการวิจัย พบว่า ครูมีความรู้ด้านการวิจัยคิดเป็นร้อยละ 42.70 ของคะแนนเต็ม 50 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 60 ครูมีทักษะการวิจัยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.34 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 และครูมีคุณลักษณะครูนักวิจัยอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 ซึ่งผลการวิจัยเชิงคุณภาพด้านความรู้ พบว่า ครูส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยทางด้านการศึกษาพิเศษ ด้านทักษะ พบว่า ครูส่วนใหญ่ออกแบบการวิจัยไม่ถูกต้องตามหลักการวิจัย และไม่สอดคล้องกับบริบทด้านการศึกษาพิเศษ และด้านคุณลักษณะครูนักวิจัย พบว่า ครูส่วนใหญ่เกิดการตื่นตัวในการทำวิจัยมากขึ้น เนื่องจากมีข้อบังคับด้วยกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายของสถานศึกษา และความก้าวหน้าทางวิชาชีพ 2. แนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัยของครูประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบที่ 1 การกำหนดแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 การกำหนดกิจกรรมการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัยของครู โดยการขับเคลื่อนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง และองค์ประกอบที่ 4 การประเมินผลการพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยของครู และผลการประเมินความเหมาะสมของแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัยในภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42 3. ผลการทดลองใช้แนวทางการส่งเสริมความสามารถของการวิจัยด้านความรู้ พบว่า ครูมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมและกรอบแนวคิดการวิจัย การออกแบบการวิจัย การแปลความหมายและสรุปผลการวิจัยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และครูมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนรายงานการวิจัยต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ด้านทักษะ พบว่า ครูมีทักษะการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การเขียนบทความวิจัย และการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และด้านคุณลักษณะครูนักวิจัย พบว่า ครูมีคุณลักษณะของการเป็นครูนักวิจัยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งผลการวิจัยเชิงคุณภาพด้านความรู้ พบว่า ครูได้รับความรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการจึงทำให้มีความรู้ด้านการวิจัยเพิ่มขึ้น แต่ครูยังขาดความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรูปเล่มรายงานการวิจัย ด้านทักษะ พบว่า ครูได้ฝึกทักษะการทำวิจัยจริง ดังนั้นจึงทำให้ครูออกแบบการวิจัยได้ถูกต้องตามหลักการวิจัย และด้านคุณลักษณะครูนักวิจัย พบว่า ครูตระหนักและเห็นความสำคัญของการวิจัยโดยนำกระบวนการวิจัยไปใช้พัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 4. ผลการประเมินแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัยของครูโรงเรียนโสตศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานกับ 0.19 ซึ่งผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า แนวทางฯ ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนโสตศึกษาและมีความเป็นไปได้มากที่สุดในการนำไปพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยของครูและส่งผลต่อการพัฒนานักเรียนโรงเรียนโสตศึกษา ดังนั้นจึงทำให้ครูเกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะครูนักวิจัยได้จริง
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1322
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010566001.pdf14.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.