Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1328
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorYuparat Puechsingen
dc.contributorยุภารัตน์ พืชสิงห์th
dc.contributor.advisorKanyarat Cojornen
dc.contributor.advisorกัญญารัตน์ โคจรth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2021-10-05T15:32:04Z-
dc.date.available2021-10-05T15:32:04Z-
dc.date.issued19/9/2021
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1328-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThe objectives of this study were 1) to develop learning activities using the problem-based learning and social network to achieve an efficiency of 70/70, 2) to develop computational thinking skills by using the problem-based learning and social network to achieve an average score concerning about 70% of all the total score, and 3) to study student’s satisfaction on the activities using the problem-based learning and social network. In this study, the activity implementing was divided into 2 periods including online learning and on-site learning activities. The research samples were selected by the cluster random sampling technique. There were 33 students from grade 8 of Mahasarakham University Demonstration School in the Second Semester of Academic Year 2020. The instruments of  this study were: (1) 8 lesson plans of problem-based learning and social network, (2) 2 tests of mathematic achievement tests (multiple-choices test), (3) 2 tests of computational thinking tests (writing test),  and (4) 2 copies of a satisfaction survey. The statistics used for analyzing data were percentage, mean, standard deviation, the effectiveness of the learning activities (E1/E2), and one samples t-test. The results revealed that the efficiency of the learning activities using problem-based learning and social network (E1/E2) of online learning and on-site learning sections were 74.85/67.73 and 77.52/68.64 respectively, which were lower than the criterion. After two periods of learning activities and one sample t-test, grade 8 students had the following computational thinking skill scores. The t-test demonstrated that the students' computational thinking skill was not higher than 70% in both online and onsite instruction. Students' average computational thinking scores for online and onsite learning were determined to be 25.79 (71.64 %) and 26.03 (72.31 %), respectively, which were indifferent when compared to the total score criterion (70%). The students’ satisfactions according to online learning and on-site learning activities were 3.77 and 4.06 respectively, which was at the level of very satisfied.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 (2) พัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด (3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ และช่วงที่ 2 เป็นการกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 จำนวน 33 คน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 2 ฉบับ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ (3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ จำนวน 2 ฉบับ เป็นแบบทดสอบอัตนัย และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 2 ฉบับ และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สูตรการหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ (E1/E2) และสถิติทดสอบที แบบ One sample t-test ผลการวิจัย พบว่า 1)  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่าประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงที่ 1 เท่ากับ 74.85/67.73 และในช่วงที่ 2 เท่ากับ 77.52/68.64 ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 70/70 ตามที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีทักษะการคิดเชิงคำนวณหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 2 ช่วง จากการทดสอบโดยใช้สถิติทดสอบที พบว่า นักเรียนมีคะแนนการคิดเชิงคำนวณไม่แตกต่างกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยนักเรียนมีคะแนนการคิดเชิงคำนวณเฉลี่ยในการเรียนรู้ช่วงที่ 1 เท่ากับ 25.79 คิดเป็นร้อยละ 71.64 และในการเรียนรู้ช่วงที่ 2 เท่ากับ 26.03 คิดเป็นร้อยละ 72.31 ซึ่งเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยร้อยละของทั้ง 2 ช่วง พบว่า นักเรียนมีคะแนนการคิดเชิงคำนวณเฉลี่ยเท่ากับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มทั้งหมด 3) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนในแต่ละช่วงการเรียนรู้ พบว่า ในช่วงที่ 1 นักเรียนมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เท่ากับ 3.77 และในช่วงที่ 2 เท่ากับ 4.06 ซึ่งพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานth
dc.subjectเครือข่ายสังคมออนไลน์th
dc.subjectทักษะการคิดเชิงคำนวณth
dc.subjectproblem-based learning activitiesen
dc.subjectsocial networken
dc.subjectcomputational thinking skillsen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleThe development of Computational Thinking Skills Using Problem Based Learning and Social Network for Eighth Grade Studentsen
dc.titleการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010551008.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.