Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1331
Title: Development of  Problem-Solving Ability Using Deductive Teaching Method with STAR Strategy in Mathayomsuksa 5 Students
การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Patcharada Polyiem
พัชรฎา พลเยี่ยม
Kanyarat Sonsupap
กันยารัตน์ สอนสุภาพ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย, กลวิธี STAR, ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
Deductive Teaching Method
STAR Strategy
Problem-Solving Ability
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this study was to develop Problem-solving ability using Deductive Teaching Method integrate STAR strategy in Mathayomsuksa 5 students to pass the criterion of 70 percent of full score. The target group was 24 Mathayomsuksa 5/2 students in academic year 2020 at Strisuksa school, Muang, Roi Et. The research instruments were : 1) nine lesson plans, 2) 3 the Problem-solving ability tests, 3) the teacher's note and 4) students interview. The data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation. The results revealed that the target students who learning using deductive teaching method integrate STAR strategy improved their problem-solving ability. In the first cycle, there were 12 students who reached problem-solving ability at passed the criterion of 70 full score, 19 students in cycle 2 and 22 students in cycle 3 accordingly.
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธี STAR ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 24 คน โรงเรียนสตรีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธี STAR จำนวน 9 แผน ใช้เวลา 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เป็นแบบอัตนัย จำนวน 3 ชุด 3) แบบบันทึกหลังการสอนของครู 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธี STAR เพิ่มขึ้น โดยในวงจรปฏิบัติการที่ 1 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 วงจรปฏิบัติการที่ 2 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 79.17 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 91.67
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1331
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010556027.pdf4.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.