Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/133
Title: Development Process for Pharmacy Service Quality Improvement to Reduce in Pre-dispensing Error in Khukhan Hospital, Sisaket Province
กระบวนการพัฒนาคุณภาพงานบริการเภสัชกรรมเพื่อลดความคลาดเคลื่อน ในกระบวนการจัดยาก่อนจ่ายยาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Authors: Sayjai Salasook
สายใจ ศาลาสุข
Songkramchai Leethongdee
สงครามชัย ลีทองดี
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
ความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา
ความคลาดเคลื่อนทางยา
Action Research
Pre-dispensing Error
Medication Error
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This  action research aimed to find out development process for pharmacy service quality improvement to reduce in pre-dispensing error in Khukhan Hospital, Sisaket  province. A sample was 24 people selected with inclusion and exclusion criteria.  The statistics used for quantitative data analysis were descriptive such as frequency distribution, percent error rate, per thousand prescriptions, average and standard deviation. Statistical analytical analysis was Paired Sample t-test significant level at 0.05 and  content analysis used for qualitative data. The research found that there were 9 steps  in this development process 1) Basic information and obstacle analysis. 2) Assess the knowledge. 3) Work shop for problem analysis and  action plan. 4) Focus group  5) educate the concerned person 6) Create a guideline to prevention in pre-dispensing error 7) Follow up the results 8) Follow up valuation.  9) Sharing knowledge experiences. The result showed  that knowledge of participants, and satisfaction were statistically significant different. The results are as follows. The error rate is 25.49 times per thousand prescriptions. After developing the system the rate was reduce to 13.57 times per thousand prescriptions. In conclusion, the development process has the success factor of reducing waste in the process by reviewing and designing new systems by changing the process of delay into value in the work.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนพัฒนาคุณภาพงานบริการเภสัชกรรมเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในกระบวนการจัดยาก่อนจ่ายยาของโรงพยาบาลขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 24 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพตามเครื่องมือที่สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่  ร้อยละ อัตราส่วน ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05  และประยุกต์การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาครั้งนี้ มี  9 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและปัญหาอุปสรรค 2) ประเมินความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน 3) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์หาปัญหาและจัดทำแผนปฏิบัติการ 4) ประชุมกลุ่มย่อย ในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการสั่งใช้ยา 5) ให้ความรู้กับผู้เกี่ยวข้อง 6) สร้าง แนวทางการป้องกันความคลาดเคลื่อนในกระบวนการจัดยาก่อนจ่ายยา 7) ติดตามผลการดำเนินงาน 8) การติดตามประเมินผล 9) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ผลการดำเนินงานพบว่าผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ การมีส่วนร่วม ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และส่งผลให้ความคลาดเคลื่อนในกระบวนการจัดยาก่อนจ่ายยาลดลงคือ ก่อนการพัฒนาระบบ  อัตราความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 25.49 ครั้งต่อพันใบสั่งยา หลังพัฒนาระบบเท่ากับ 13.57 ครั้งต่อพันใบสั่งยา สรุป กระบวนการพัฒนาครั้งนี้มีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการลดความสูญเปล่าในขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยการทบทวนและออกแบบระบบงานใหม่โดยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่ล่าช้าเป็นคุณค่าในการทำงาน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/133
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58051480015.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.