Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/134
Title: The Development of Participatory  Prevention  for Liver  Fluke in Pornsamran Sub-district, Khumuang District, Buriram Province
การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบมีส่วนร่วม  ตำบลพรสำราญ  อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
Authors: Kittisak Prakrongjai
กิตติศักดิ์ ประครองใจ
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: เทคนิคการมีส่วนร่วม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เข้าถึงชุมชน
Participatory techniques
Behavioral modification
Community access
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this action research was to develop  the participatory prevention for liver fluke in Pornsamran Sub-District, Khumuang District, Buriram Province. The action research process of PAOR cycle was employed with participatory planning technique. The 48 participants comprised of 30 members from Board of Disease and Health Hazards Prevention and Control and 18 persons who had liver fluke. Data was collected by questionnaire, interview and observation. Descriptive and inferential statistics were used to analyze data such as frequency, percentage, mean, standard deviation, and paired sample t-test. Qualitative data was analyzed by content analysis. The study result found the participants realized that liver fluke disease was still a major health problem that must to solve  and prevent the problem. The public relations by multi-channel communication  need to be informed for people understanding in liver fluke prevention. Community network participated together the lessons from role models revealed the “3 No Pornsamran” including No raw fish eating, No liver fluke, and No cholangiocarcinoma. There were the active  behavioral modification and behavioral tracking to raise people awareness called “Knock the house”. As a result, the participants could reduce and quit raw fish consumption. There was no complaint about sewage in the community. After the development, knowledge, attitude, practice and participation of the samples were significantly improved  (p-value <0.001). Key success factors of liver fluke prevention were  problem awareness, community participation, and community access. The government sectors were strongly mentor and support disease prevention. In summary, the development of model for the prevention of liver fluke disease should be based on participatory techniques in a multi-methods, with a focus on real participation from the community all stages.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบมีส่วนร่วม  ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาทั้งหมด 48 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพตำบลพรสำราญ จำนวน 30 คน และผู้ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ 18 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ Paired t-test  ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ตระหนักว่าโรคพยาธิใบไม้ตับเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องร่วมกันแก้ไขและป้องกัน การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับควรเริ่มตั้งแต่ “ต้นน้ำ” ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน  และเครือข่ายชุมชนร่วมกันกำหนดมาตรการทางสังคมที่เรียกว่า "พรสำราญ 3 ไม่" (ไม่กินปลาดิบ ไม่เป็นพยาธิใบไม้ตับ ไม่เป็นมะเร็งท่อน้ำดี) ร่วมกับการปรับเปลี่ยนและติดตามพฤติกรรมแบบ "เคาะบ้าน" ส่งผลให้ประชาชน "ลด และ เลิก" การบริโภคปลาน้ำจืดที่ไม่ถูกสุขลักษณะเพิ่มมากขึ้น และไม่พบ ข้อร้องเรียนเรื่องสิ่งปฏิกูลในชุมชน  ภายหลังการดำเนินงานกลุ่มเป้าหมายมีระดับความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัวและการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value < 0.001) ปัจจัยความสำเร็จเกิดจากประชาชนและทุกหน่วยงานในพื้นที่ตระหนักถึงปัญหาร่วมกันและมีส่วนร่วมแก้ปัญหาแบบ "การเข้าถึงชุมชน"  โดยมีหน่วยงานภาครัฐเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนและชี้แนะทางวิชาการ โดยสรุป รูปแบบในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนควรใช้เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วมโดยวิธีที่หลากหลายและมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากชุมชนในทุกขั้นตอน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/134
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011480013.pdf7.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.