Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1349
Title: The Development of Emergency Medical Service System of Emergency Operation Division in Kutsaicho Subdistrict Administrative Organization, Kantharawichai District, Mahasarakham Province
การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการองค์การบริหารส่วนตำบลกุดใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Padcharaporn Nilnuan
พัชรพร นิลนวล
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การวิจัยปฏิบัติการ
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
หน่วยปฏิบัติการองค์การบริหารส่วนตำบล
Action research
Emergency medical service system
Emergency operation division of subdistrict administrative organization
Issue Date:  17
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aimed to study the development of emergency medical service system of emergency operation division in Kutsaicho subdistrict administrative organization, Kantharawichai district, Mahasarakham province. Propose sample groups are participator have 3 groups total 115 peoples are 1) Population 97 people, 2) Academic 12 people and 3) Politics 6 people. This research have conducted during April - August 2019. Collecting both quantitative and quality data By using the constructed questionnaire and collecting the in-depth data through quality methods. The result represented that the evaluation results of emergency medical service systems in the area is not yet qualified. Which have 4 important causes are 1) Environment, 2) Resource, 3) Board and 4) System of concluded. Therefore collaborated with participator to carry out activities to solve such problems 4 programs. The 4 programs are 1) Development the knowledge of emergency medical service system program, 2) Development the ability of emergency operator in emergency medical service system program, 3) Investigate and reviewed the conducted of emergency medical service system program and 4) Exchange experience with all concerns the emergency medical service system program. After conducted the programs the result show that the population group have change the knowledge before and after development that show the significant at p-value <0.05. Academy group before and after development have high knowledge before development 6 people 50.00 percent and after development 10 people 83.33 percent. And academic group before and after development have medium participation before development 6 people 50.00 percent and after development 8 people 66.67 percent. The political group before and after development have medium knowledge before development 4 people 66.67 percent and after development 6 people 100.00 percent. The politics group before and after development have high participation before development 3 people 66.67 percent and after development 4 people 66.67 percent. And the politics group before and after development have high opinion about emergency medical service system 6 people 100.00 percent. The critical success factors of development emergency medical service system are all concerned in emergency medical service system join to find the problem, report the problem and solve the problem together. Interesting to development emergency medical service system to durable, have encourage the population in Kutsaicho to join and become the part of emergency medical operator and moreover those critical success factors can help us to see the truly problem and more coverage.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการองค์การบริหารส่วนตำบลกุดใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 3 กลุ่ม รวมทั้งหมด 115 คน ได้แก่ 1) กลุ่มวิชาการ 12 คน 2) กลุ่มภาคการเมือง 6 คน และ 3) กลุ่มตัวแทนภาคประชาชน 97 คน มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนเมษายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2562 เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นและการเก็บข้อมูลเชิงลึกด้วยวิธีการทางคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งมีสาเหตุ สำคัญ 4 ด้าน คือ 1) ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ด้านทรัพยากร 3) ด้านคณะกรรมการ และ 4) ด้านระบบการดำเนินงาน จึงได้ร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาความรู้ด้านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 2) โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 3) การตรวจสอบและทบทวนการดำเนินงานด้านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการดำเนินงานในเบื้องต้น พบว่ากลุ่มตัวแทนภาคประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงความรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ก่อนและหลังการพัฒนามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ส่วนกลุ่มวิชาการมีความรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ก่อนและหลังการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในระดับความรู้สูง ก่อนการพัฒนาจำนวน 6 คน (ร้อยละ 50.00) และหลังการพัฒนาจำนวน 10 คน (ร้อยละ 83.33) และระดับการมีส่วนร่วมในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ก่อนและหลังการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ก่อนการพัฒนาจำนวน 6 คน (ร้อยละ 50.00) และหลังการพัฒนาจำนวน 8 คน (ร้อยละ 66.67) และในกลุ่มภาคการเมืองมีความรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ก่อนและหลังการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในระดับความรู้ปานกลาง ก่อนการพัฒนาจำนวน 4 คน (ร้อยละ 66.67) และหลังการพัฒนาจำนวน 6 คน (ร้อยละ 100.00) และระดับการมีส่วนร่วมในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ก่อนและหลังการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ก่อนการพัฒนาจำนวน 3 คน (ร้อยละ 50.00) และหลังการพัฒนาจำนวน 4 คน (ร้อยละ 66.67) ส่วนระดับความคิดเห็นต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ก่อนและหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ก่อนการพัฒนาจำนวน 6 คน (ร้อยละ 100.00) และหลังการพัฒนาจำนวน 6 คน (ร้อยละ 100.00)  นอกจากนี้ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของตำบลกุดใส้จ่อคือ การที่ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา สะท้อนปัญหา และแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการให้ความสนใจที่จะพัฒนาให้มีระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมให้สมาชิกในตำบลเข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติงาน และการที่ดึงเอาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินมาร่วมพัฒนา นอกจากจะทำให้เกิดการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ยั่งยืนแล้ว ยังทำให้มองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุมมากขึ้นอีกด้วย
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1349
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011450001.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.