Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1351
Title: Development of Instructional Management to Promote Health Literacy for Students in College of Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health, Thailand
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข 
Authors: Saowaluk Seedaket
เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ
Niruwan Turnbull
นิรุวรรณ เทิร์นโบล์
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุ
สารสนเทศด้านสุขภาพ
สุขศึกษา
Health literacy
public health student
health information
health education
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Background and Aims: Health literacy is a necessary skill for future workforce who will be a healthcare model for patients and even people around them. This research aims to develop the Health Instructional model to promote health literacy for students in Praboromarajchanok college of Public Health. Material and Methods: The research has 3 phases; 1) A Cross-sectional study to investigate the health literacy and factors related to health literacy of students who applied Bachelor of Public Health degree in Praboromarajchanok Institute about 143 students by using the questionnaires that have been validated the content by 5 experts and the test of the reliability of critical thinking and health knowledge were 0.75 and 0.96 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple logistics regression. 2) Qualitative research to develop a teaching and learning model to promote health literacy using the Content analysis that have been validated the content by 3 experts to create a model. 3) Quasi-Experimental research with two group pre-test and post-test design to assess  the use of instructional management model using Analysis of Variance (ANCOVA) for data analysis. Results: It was found that 109 (76.22 %) of the respondents were female, the average age was 23.394.15 years, and 57 (39.86 %) had a grade point average (GPA) 3.00 from 4.00 The critical thinking and health literacy was classified as high level, 18 (12.59%) and 78 (54.55%), respectively. The factors significantly associated with reported high health literacy (p–value <0.05) were: (1) gender (Adjusted OR=3.11, 95 % CI: 1.28 - 7.58; p-value = 0.012); (2) GPA (Adjusted OR=2.41, 95% CI: 1.15-5.04; p-value = 0.019); and (3) critical thinking (Adjusted OR=2.99, 95 % CI: 1.36 - 6.54; p-value = 0.006). 2nd Phase found that the learning management model to promote health literacy consists of instructors, courses, coaching, evaluation process, student, researching, critical thinking, which were crucial components of learning the outcome, especially the promotion of health literacy, this course takes 30 hours to access the learning process. 3rdPhase found that the health literacy of the experimental group was significantly different from the comparison group (p-value <0.05) including higher scores than the comparison group for health promotion, 0.32 points (95% CI: 0.15 - 0.50, p-value <0.001), 0.19 points (95% CI: 0.01 - 0.39, p-value = 0.05) for disease prevention, and 0.25 points (95% C I: 0.04 - 0.46, p-value = 0.01) for the aspect of consumer protection. Conclusion: The results showed that gender, GPA and critical thinking were the factors associated with health literacy. The health literacy programme was revealed the increasing students' health knowledge. Therefore, the institution who employed the health courses such as, faculty of Public Health or Faculty of Health Science should be encouraging the students to apply for the health literacy courses as well as set up the health literacy programme for the core course for public health students in all institutions. 
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข มี 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 143 คน โดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความรอบรู้ด้านสุขภาพเท่ากับ 0.75 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Multiple logistics regression  ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content  Analysis) ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และระยะที่ 3 การวิจัยกึ่งทดลอง แบบ Two group pre-test and post-test design เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.22 อายุเฉลี่ย 23.39 ปี (S.D.= 4.15) ส่วนใหญ่สถานภาพสมรสโสด ร้อยละ 93.01 เกรดเฉลี่ย 3.00 ร้อยละ 44.06 นักศึกษามีการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับสูง ร้อยละ 12.59 และ 54.55 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ 1) เพศ (Adjusted OR=3.11, 95 % CI: 1.28 - 7.58; p-value = 0.012) 2) เกรดเฉลี่ย (Adjusted OR=2.41, 95 % CI: 1.15 - 5.04; p-value = 0.019) และ 3) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Adjusted OR=2.99, 95 % CI: 1.36 - 6.54; p-value = 0.006)  ระยะที่ 2 พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย ผู้สอน บทเรียน การโค้ช การประเมินผล ตัวผู้เรียน การศึกษาค้นคว้า การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ใช้เวลาในกระบวนการเรียนรู้ 30 ชั่วโมงและระยะที่ 3 ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลอง ความรอบรู้ด้านสุขภาพแตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มทดลองมีคะแนนมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 0.32 คะแนน (95%CI:0.15 - 0.50, p-value < 0.001) ด้านการป้องกันโรค กลุ่มทดลองมีคะแนนมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 0.19 คะแนน (95%CI: 0.01 - 0.39, p-value = 0.05) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มทดลองมีคะแนนมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 0.25 คะแนน (95% C I: 0.04 - 0.46, p-value = 0.01) จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยด้านเพศ เกรดเฉลี่ยและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่งผลให้นักศึกษามีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ หรือหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ควรส่งเสริมให้มีการนำโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1351
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011460010.pdf6.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.