Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1354
Title: Health Promotion Model for the Elderly Residents in Social Welfare Institutions in Southern Thailand
ตัวแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ในภาคใต้ของประเทศไทย
Authors: Mustura Yacob
มุสตูรา ยะโกะ
Pissamai  Homchampa
พิศมัย หอมจำปา
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
แรงสนับสนุนทางสังคม
ตัวแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
คุณภาพชีวิต
สถานสงเคราะห์
Health promotion behavior
social support
institution-based health promotion model for older residents
quality of life
social welfare institution
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research study was aimed to construct the Institution-based Health Promotion Model for the Social Welfare Older Residents residing in government social welfare facilities. The overall objectives were to assess effectiveness of the model on health promotion behaviors-HPB, health status, and quality of life of the older residents, and to assess institution-based health promotion projects and activities, as well as provision of health information to senior residents by staff and relevant sources. Data on older HPB in an institution and related factors (n = 126), views of staff towards organization management and health promotion policies in the four studied institutions (n = 16), and the effectiveness of the model study of the intervention (n=30)- and the comparative group (n = 30) were collected using the older residents interview guide, the staff interview guide, questionnaire, focused-group discussion, the WHOQOL-BREF-THAI, the Suanprung’s Stress test, and health assessment tools. Data analysis used descriptive and analytical statistics for quantitative data and content analysis for qualitative data.            Results showed older residents in the study social welfare institutes in southern Thailand (average age (SD) = 72.9(6.2), 54.0%, being women, 54.8% having primary education, having average time duration of stay (SD) = 4.4(4.8) years) had HPB ( (SD)) in a low level (95.8(18.4)) with practices on spiritual enhancement and on food consumption being in moderate level, while such practices as social engagement, self-care, exercising, and stress management being in low level. Factors predicting health promotion behavior (Y) of this older groups were received social support(X1), having asset (X2), attitude toward health promotion (X3) and type of an institution(X4) Such factors contributed to explain 38.5% of the health promotion behaviors of the older participants. The prediction was as in the following formula: Y = 32.270+1.060X1+8.263X2+0.673X3-10.279X4            The Institution-based Health Promotion Model for the Social Welfare Older Residents comprised 1) Health promotion capacity building for older residents; 2) Organization development for promoting health of the older residents regarding predisposing-, reinforcing-and enabling factors. The management group (MG), compared to the comparative group (CG) demonstrated significant improvements in overall health promotion behaviors after intervention(CG 124.8(27.4) vs MG 160.1(7.2), p<0.001. Their quality of life also significantly improved compared to the comparative group after the intervention (CG 124.8(27.4) vs MG 160.1(7.2), p<0.001) and at follow-up (CG 94.5(8.7) vs MG 103.7(4.3), p<0.001). Modification solutions for suitable health promotion behaviors of the institutionalized older persons should emphasize on enhancing their attitudes and social support from the older home service institute and their peers.
การวิจัยเพื่อพัฒนาตัวแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์นี้ครอบคลุมการศึกษาประสิทธิผลของตัวแบบในการพัฒนาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และการจัดดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของสถานสงเคราะห์ ทำการศึกษาสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ (n = 126) การพัฒนาองค์กรของบุคลากรในสถานสงเคราะห์ 4 แห่ง (n = 16 คน) การพัฒนาและทดลองใช้ตัวแบบในสถานสงเคราะห์ 2 แห่ง เป็นกลุ่มดำเนินการ (Management group-MG 30 คน) และกลุ่มเปรียบเทียบ (Comparative group-CG 30 คน)  ประเมินประสิทธิผลของตัวแบบในระยะก่อน- และหลังได้รับตัวแบบ และระยะติดตามผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม แนวคำถามในการการสนทนากลุ่มเฉพาะ แบบวัดความเครียด แบบวัดคุณภาพชีวิต (WHO-BRIEF-THAI) เครื่องมือประเมินภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา            ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ภาคใต้ที่ศึกษา (อายุเฉลี่ย(SD) = 72.9(6.2), เป็นเพศหญิงร้อยละ 54.0, มีการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 54.8, มีระยะเวลาที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์เฉลี่ย(SD) = 4.4(4.8) ปี) มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพรวมเฉลี่ย(SD)อยู่ในระดับน้อย (95.8(18.4)) โดยมีพฤติกรรมรายด้านเฉลี่ย(SD) อยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ โดยเฉพาะการมีความสุขและพอใจในสิ่งที่มีอยู่และการพึ่งตนเองก่อนพึ่งผู้อื่น และด้านการบริโภคอาหาร โดยเฉพาะการรับประทานอาหารเช้าสม่ำเสมอ และการบริโภคอาหารครบ 3 มื้อ ส่วนด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการดูแลสุขภาพตนเอง ด้านการออกกำลังกาย และด้านการจัดการความเครียด ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ(Y) ของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ คือ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม(X1) การมีทรัพย์สิน(X2) ทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ(X3) และ ประเภทของสถานสงเคราะห์ (X4) โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 38.5 ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ ดังนี้ Y = 32.270+1.060X1+8.263X2+0.673X3-10.279X4           ตัวแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาผู้สูงอายุและกลุ่มไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านองค์ความรู้ ทัศนคติ และการมีทักษะในการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 2) การจัดการองค์กรของสถานสงเคราะห์เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุในด้านปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ระยะหลังได้รับตัวแบบพบว่า ผู้สูงอายุในกลุ่มดำเนินการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (CGหลัง 124.8(27.4) กับ MGหลัง 160.1(7.2), p<0.001) และมีคุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบทั้งระยะหลังได้รับตัวแบบและระยะติดตามผล (CGหลัง 91.6(12.9)กับ MGหลัง 104.5(8.6); CGติดตามผล 94.5(8.7) กับ MG ติดตามผล 103.7(4.3)) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าตัวแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์นี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ที่ปฏิบัติได้จริง  
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1354
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011560005.pdf8.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.