Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1356
Title: Infectious Waste Management of First - Level Hospital and Standard - Level Hospital Case Study on Nakhon Phanom Province
การจัดการขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับต้นและโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับสูง กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม
Authors: Nutnicha Intiya
ณัฐณิชา อินทร์ติยะ
Sunantha Laowansiri
สุนันทา เลาวัณย์ศิริ
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: การจัดการขยะติดเชื้อ
โรงพยาบาลรับส่งต่อระดับต้น
โรงพยาบาลรับส่งต่อระดับสูง
Infectious waste management
First - level hospital
Standard - level hospital
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this research was to study infectious waste and design appropriate guidelines for infectious waste management in first – level hospital and standard – level hospital. The area under study was Nakhon Phanom province which was divided into 2 locations, Renu Nakhon Hospital (first – level hospital) and Nakhon Phanom Hospital (standard – level hospital). The infectious waste samples were continuously collected for 7 days per month over a 3-month period. The sampling of infectious waste from the source of infectious waste at Renu Nakhon Hospital was obtained from 5 buildings consisting of 30 beds. The sampling of infectious waste from the source of infectious waste at Nakhon Phanom Hospital was obtained from 25 buildings consisting of 341 beds. Statistics was calculated using percentage, mean, standard deviation, and hypothesis test with T - test and F - test (One - way ANOVA). The study results on the incidence of infectious waste generation showed that Renu Nakhon Hospital generated 492.459 grams/bed/day (3-month period average) and the building  that had the highest generation rate was the Labor room at 178.497 grams/bed/day. The Hemodialysis building came in second followed by the Inpatient building, Dental Patient building and Emergency building. Meanwhile Nakhon Phanom Hospital generated 1,109.352 grams/bed/day (3-month period average) and the building that had the highest generation rate was the ICU Medicine building  at 697.219 grams/bed/day. This can be attributed to the overstaying of critically ill patients  which generates a lot of waste. The building that had the least incidence of infectious waste was the Lab building because no patients stayed there. The comparison of the incidence of infectious waste (3-month period average) at Renu Nakhon Hospital and Nakhon Phanom Hospital showed significant statistical difference of infectious waste at 0.05 level. The study revealed that the infectious waste composition at Renu Nakhon Hospital and Nakhon Phanom Hospital (3-month period average) was mostly non-sharp weapon infectious waste than sharp weapon infectious waste. Renu Nakhon Hospital had an average of 1.71 % sharp and 98.29 % non-sharp infectious waste. Whereas Nakhon Phanom Hospital had an average of 2.06 % sharp and 97.95 % non-sharp infectious waste. The comparison of  infectious waste composition (3-month period average)  at Renu Nakhon Hospital and Nakhon Phanom Hospital showed no significant statistical difference of infectious waste at 0.05 level. The study on the mode of infectious waste management in hospitals showed that the two hospitals required guidelines for infectious waste management. Guidelines such as separation of infected waste from other types of waste at the point of origin and separation of sharp and non-sharp wastes needed to be implemented. Infectious wastes such as secretions must be poured into the sink which would flow down to the disposal system. Needle type Infectious wastes must  be separated from the needle sheath and discarded into a container made out of a strong material and must be tightly closed before being dumped into infected bins. In the case of infectious waste consisting of plastic bags containing syringes, gauze, cotton buds, wound dressings and plastic wraps, only the infectious waste that had touched the patient must be dumped in an infected bins (red bins) and the remaining should be separated into general waste bins. The large amount of garbage obtained from bathrooms cannot be disposed in general bins. This can be attributed to the fact that the hospital considers the garbage in the bathroom as  an infectious waste thereby adhering to standard precautions. The number of infectious waste bins at Renu Nakhon Hospital is insufficient for the amount of infectious wastes each day. Furthermore, Renu Nakhon Hospital is a representative of first – level hospital since it has less infectious waste employees when compared to  Nakhon Phanom Hospital  which rightfully represents a standard – level hospital.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปริมาณ องค์ประกอบ และอัตราการเกิดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับต้นและโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับสูง กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 2 แห่ง เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการวางแผนการบริหารจัดการขยะติดเชื้อของจังหวัดนครพนม พื้นที่ที่เลือก ได้แก่ โรงพยาบาลเรณูนครเป็นตัวแทนของโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับต้น และโรงพยาบาลนครพนมเป็นตัวแทนของโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับสูง โดยทำการเก็บตัวอย่างขยะติดเชื้อของ 7 วันต่อเนื่องต่อ 1 เดือน เป็นเวลา 3 เดือน โรงพยาบาลเรณูนครเป็นโรงพยาบาล มีขนาด 30 เตียง เก็บตัวอย่างขยะติดเชื้อจากแหล่งกำเนิดขยะติดเชื้อจำนวน 5 ตึก โรงพยาบาลนครพนมโรงพยาบาลมีขนาด 341 เตียง เก็บตัวอย่างขยะติดเชื้อจากแหล่งกำเนิดขยะติดเชื้อ จำนวน 25 ตึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมุติฐานด้วย T - Test และ F – Test (One - way ANOVA) ผลการศึกษาอัตราการเกิดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลเรณูนครเฉลี่ย 3 เดือน เท่ากับ 492.459 กรัม/เตียง/วัน โดยพบว่าตึกห้องคลอดมีอัตราการเกิดขยะติดเชื้อเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 178.497 กรัม/เตียง/วัน รองลงมาคือ ตึกไตเทียม ตึกผู้ป่วยใน ทันตกรรม และตึกฉุกเฉิน ตามลำดับ ในขณะที่อัตราการเกิดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลนครพนมเฉลี่ย 3 เดือน เท่ากับ 1,109.352 กรัม/เตียง/วัน โดยพบว่า ตึก ICU อายุรกรรม มีอัตราการเกิดขยะติดเชื้อเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 697.219 กรัม/เตียง/วัน เนื่องจากเป็นตึกที่มีผู้ป่วยอาการหนัก เข้าพักรักษาที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน ทำให้มีปริมาณขยะติดเชื้อมาก และตึกที่มีอัตราการเกิดขยะติดเชื้อน้อยที่สุด คือ ห้อง LAB เนื่องจากไม่มีผู้ป่วยพักประจำที่ตึกนี้ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลเรณูนครและโรงพยาบาลนครพนมเฉลี่ย 3 เดือน พบว่า โรงพยาบาลเรณูนครและโรงพยาบาลนครพนมมีปริมาณขยะติดเชื้อต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาองค์ประกอบของขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลเรณูนครเฉลี่ย 3 เดือน พบว่ามีองค์ประกอบขยะติดเชื้อประเภทมีคมน้อยกว่าขยะติดเชื้อประเภทไม่มีคม โดยโรงพยาบาลเรณูนครมีขยะติดเชื้อประเภทมีคมเฉลี่ยร้อยละ 1.71 และขยะติดเชื้อประเภทไม่มีคมเฉลี่ยร้อยละ 98.29 ในขณะที่องค์ประกอบของขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลนครพนมเฉลี่ย 3 เดือน พบว่ามีองค์ประกอบขยะติดเชื้อประเภทมีคมร้อยละ 2.06 และขยะติดเชื้อประเภทไม่มีคมร้อยละ 97.95 เมื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบของขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลเรณูนครและโรงพยาบาลนครพนมเฉลี่ย 3 เดือน พบว่า โรงพยาบาลเรณูนครและโรงพยาบาลนครพนมมีปริมาณขยะติดเชื้อไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษารูปแบบการจัดการขยะติดเชื้อในโรงพยาบาล พบว่า โรงพยาบาลทั้ง 2 แห่ง ควรมีแนวทางการจัดการขยะติดเชื้อ คือ ควรแยกขยะติดเชื้อออกจากขยะชนิดอื่น ณ แหล่งกำเนิด โดยการคัดแยกประเภทมีคมและไม่มีคมออกจากกัน สำหรับขยะติดเชื้อที่เป็นสารคัดหลั่ง ให้เททิ้งลงอ่างที่ทำไว้สำหรับเทสารคัดหลั่งเพื่อให้ลงไปสู่ระบบกำจัดต่อไป ส่วนของขยะติดเชื้อประเภทหัวเข็ม ก่อนนำทิ้งในถังขยะติดเชื้อรวม ควรแยกปลอกเข็มก่อนนำไปทิ้งที่ภาชนะรองรับที่ทำจากวัสดุแข็งแรงและต้องปิดฝาให้มิดชิด และในส่วนของขยะติดเชื้อประเภทที่มีถุงพลาสติกห่อหุ้ม เช่น กระบอกฉีดยา ผ้าก๊อซ สำลี และอุปกรณ์ทำแผลอื่นๆ ควรแยกพลาสติกที่ห่อหุ้มทิ้งลงในถังขยะมูลฝอยทั่วไปให้เหลือแต่ขยะติดเชื้อที่สัมผัสกับตัวผู้ป่วยที่ต้องทิ้งลงในถังขยะติดเชื้อ (ถังสีแดง) สำหรับขยะในห้องน้ำที่มีปริมาณมากไม่สามารถทิ้งลงในขยะทั่วไปได้ เพราะโรงพยาบาลยึดหลัก Standard precautions ทำให้ขยะในห้องน้ำเป็นขยะติดเชื้อ ด้านจำนวนภาชนะที่รองรับขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลเรณูนครยังมีไม่เพียงพอต่อปริมาณขยะติดเชื้อในแต่ละวัน และในส่วนของพนักงานเก็บขนขยะติดเชื้อ พบว่าโรงพยาบาลเรณูนครซึ่งเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับต้นมีจำนวนพนักงานน้อยกว่าโรงพยาบาลนครซึ่งเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับสูง
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1356
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011751002.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.