Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1358
Title: Music Education Curriculum Development Bachelor Degree of Rajabhat University in the Northeast Thailand
การพัฒนาหลักสูตรดนตรีศึกษา ระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Authors: Surasak Hanteerapitak
สุรศักดิ์ หาญธีระพิทักษ์
Sayam Juangprakhon
สยาม จวงประโคน
Mahasarakham University. College of Music
Keywords: การพัฒนาหลักสูตร
ดนตรีศึกษา
Curriculum development
Music education
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of the current study is to develop a curriculum for a bachelors’ degree in Music Education in Rajabhat universities in Northeastern Thailand. The study was conducted in a mixed-method approach. The samples include 8 heads of the music department, 8 music instructors, 80 music education bachelors, and 768 students in Rajabhat universities throughout the Northeastern part of Thailand. The instruments were a questionnaire, a structured interview, and an unstructured interview. The data were analyzed using qualitative analysis, mean score, and standard deviation.               The results of the study were as follows. 1. In terms of the current situation and problems related to the bachelor’s degree in music education in both 5-year and 4-year programs among in Rajabhat universities in Northeastern Thailand, it was found that the major problem is the decrease of student number which is accounted by the decrease of the Thai population. Moreover, the condition of instruments and classrooms is another issue leading to the problem. In terms of student recruitment, it was found that the freshmen have different music backgrounds which do not match music expertise in some cases. They need time to adapt themselves to music practicum. In addition, it was found that most of the students are from schools near the university areas.  2. In terms of curriculum assessment, all 8 curriculums in the Faculties of Education were found to reach the standard demanded by the TQF. 1 for the B.E. To clarify, they have the main components of objectives and purposes, contents, learning management, and evaluation and assessment. 3. In terms of curriculum development, the developed curriculum demands 136 units divided into 30 units for general education, 100 units for major courses, and 6 units for elective courses. In detail, of all 100 units of major courses, 40 units are for teacher profession courses and 60 units are for music courses. The curriculum was designed to have 2 semesters, and the curriculum evaluation indicates a high level of appropriateness (x̄ = 4.31, S.D. = 0.23) and a high level of feasibility (x̄ = 4.15, S.D. = 0.20).
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรดนตรีศึกษา ระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย ประธานหลักสูตร จำนวน 8 คน อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 8 คน นักศึกษา จำนวน 768 คน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 80 คน ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. สภาพ และปัญหา พบว่า หลักสูตรดนตรีศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันมีหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา 5 ปี และ 4 ปี ซึ่งมีจำนวนนักศึกษาลดน้อยลง เนื่องจากจำนวนของประชากรน้อยลงและเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สภาพของห้องเรียนส่วนใหญ่ พบว่า อุปกรณ์เครื่องดนตรีและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ การรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อ พบว่า นักเรียนมีพื้นฐานความรู้ทางด้านดนตรีแตกต่างกัน และมีความรู้ไม่ตรงกับความถนัดของตนเอง ต้องใช้เวลาในการปรับพื้นฐานความรู้และทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรี และนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดของมหาวิทยาลัย 2. ผลการวิเคราะห์หลักสูตรดนตรีศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 8 แห่ง พบว่า สังกัดในคณะครุศาสตร์ ซึ่งการดำเนินงานของหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี (มคอ.1) โดยมีองค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วย ด้านวัตถุประสงค์หรือจุดุมุ่งหมายของหลักสูตร ด้านเนื้อหาของหลักสูตร ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และด้านการวัดผลประเมินผลของหลักสูตร 3. ผลการพัฒนาหลักสูตรดนตรีศึกษา ระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต แบ่งเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 100 หน่วยกิต แบ่งเป็นกลุ่มวิชาชีพครู 40 หน่วยกิต กลุ่มวิชาเอก 60 หน่วยกิต และ หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ทำการเรียนการสอนแบบทวิภาค ซึ่งมีผลการประเมินรับรองความเหมาะสม และความเป็นไปได้ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.23 และผลการประเมินรับรองความเป็นไปได้ของร่างหลักสูตรดนตรี พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.20
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1358
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59012060008.pdf5.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.