Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/136
Title: The Effect of Modifying the Behavior of The Oral Health Care by Learning Together to Change their Behavior to Prevent Dental Caries and Gingivitis Students Primary School 4-6 in Selaphum District, Roi Ed Province
ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยฐานการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Phornthicha Sattanako
พรธิชา สัตนาโค
Santisith Khiewkhern
สันติสิทธิ์ เขียวเขิน
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยฐานการเรียนรู้ร่วมกัน
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
โรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ
modifying the behavior of the oral health care by learning together
students primary school 4-6
Dental caries and Gingivitis
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The problem of dental caries and gingivitis disease is a major problem that is found in people of all age groups, especially among primary school  with the incidence of dental caries and gingivitis is quite high. This experimental research The purpose is to study The effect of modifying the behavior of the oral health care by learning together to change their behavior to prevent dental caries and gingivitis students primary school 4-6 in Selaphum District, Roi ed Province. Random sample selection criteria 83. Divided into The experimental group was Ban Dong Wai School, Koh Kaew District of 38 people. The comparison group was Bannakarteb School, Tha Muang District of 45 people. The instruments used in the study. Activity Program .Activities include base 6 is 1) the management of knowledge about dental caries and gingivitis.  2) the demonstration of brushing teeth properly and pigment dyed teeth.3) Experienced narrative base or problem of dental caries and gingivitis severe. 4) the activity of eating nutritious foods. 5) creating awareness by organizing the rally.6) the exhibition. The experimental group organized a 12-week program developed the statistics used to analyze the data descriptive statistics include percentage, mean, standard deviation and inferential statistics including Paired t-test and Independent t-test. The study indicated that The experimental group was subsequently changed to increase the score. The perceived risk of the disease. The perceived severity of the disease.The perceived benefits and barriers of the disease. Behavior brushing properly. The amount of plaque reduction was statistically significant at the 0.05 level, and found that children with increased Cavity free. In summary, the results of this program, the students have good oral health. The factors that lead to success is learning through engaging activities base.To get the real experience Practicality.
ปัญหาโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่พบได้ในประชากรทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กนักเรียนประถมศึกษามีอัตราการเกิดโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบค่อนข้างสูง การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยฐานการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มตามเกณฑ์ จำนวน 83 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลองโรงเรียนบ้านดงหวาย ตำบลเกาะแก้ว จำนวน 38 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ โรงเรียนบ้านนากระตึบ ตำบลท่าม่วง จำนวน   45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กิจกรรมตามโปรแกรม ประกอบด้วยฐานกิจกรรม 6 อย่าง คือ  1) ฐานการจัดการให้ความรู้เรื่องโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ 2) ฐานสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีและการใช้เม็ดสีย้อมฟัน 3) ฐานการเล่าเรื่องจากประสบการณ์หรือปัญหาเรื่องโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบที่รุนแรง 4) ฐานกิจกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 5) ฐานการสร้างความตระหนักโดยการจัดกิจกรรมแรลลี่ 6) ฐานการจัดนิทรรศการ กลุ่มทดลองได้จัดกิจกรรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t – test และ Independent t-test   ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค  การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการเกิดโรค พฤติกรรมการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ส่วนด้านปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าเด็กนักเรียนมี Cavity free เพิ่มขึ้น โดยสรุปผลของโปรแกรมนี้ทำให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี โดยปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ  คือ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผ่านฐานกิจกรรม การได้รับจากประสบการณ์จริง การปฏิบัติจริง
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/136
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011480027.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.