Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1370
Title: | Formed To Tourism Promotion Community Lifestyle Tai Yor For Economy Development In Upper Isan รูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนไทญ้อ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในภาคอีสานตอนบน |
Authors: | Isra Thongthip อิศรา ทองทิพย์ Sastra Laoakka ศาสตรา เหล่าอรรคะ Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science |
Keywords: | รูปแบบการส่งเสริม การท่องเที่ยววิถีชุมชนไทญ้อ วิถีชุมชน ไทญ้อ การพัฒนาเศรษฐกิจ ภาคอีสานตอนบน อัตลักษณ์ที่โดดเด่น Formed To Promotion Tourism Community Lifestyle Tai Yor Community Way Tai Yor Tai Yor Economy Development Upper Isan Outstanding Identity |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this qualitative research were 1) to study the history of tourism promotion of Thai Yor community in the upper northeast of Thailand, 2) to determine the current state and problems of tourism management in Thai Yor community in the upper northeast, and 3) to specify the patterns of tourism management in Thai Your community in the upper northeast to develop the creative economy of the upper northeast. The field data were collected through nonparticipative observation, interview and community discussion based on community participation. Purposive sampling technique was used for selecting participants. Ninety participants included experts, practitioners, and people concerning in the tourism. The data were analyzed by using descriptive analysis. The findings were as follows.
1) For the history of tourism promotion of Thai Yor Community in the upper northeast according to the data obtained from Nation Economic and Social Development Plan, Provincial Development Plan, interview of the Provincial Cultural Office, and Office of Tourism and Sports Province, it was found that in the past the government had never had any plan to promote the tourism for each ethnic community. There was only the plan to promote the tourism for different sectors specified in the First to the Eight Nation Economic and Social Development Plan by the government. Later in the Ninth Nation Economic and Social Development Plan of the Northeastern region, the government aimed to conserve and restore natural resources and attractions as well as history, arts and cultures to make contact with Indochina through Nong Kai, Mukdahan and Nakhon Phanom as the pilot provinces. Since then the government had realized the importance of history, arts and cultures, and traditions conservation and restoration. The tourism of ethnic communitys, therefore, was promoted through various events, and people in the community had a chance to take part in promoting their ethnic community tourism.
2) For the current state and problems of tourism management for Thai Yor community in the upper northeast, it was found that currently the tourism management in Thai yor community in the upper northeast was promoted by the government, which aimed to restore and conserve the arts, cultures and traditions of the community through organizing festivals of the province. The results showed that in some areas, the people in the community did not cooperate much. Some attractions were closed and they lacked cleaning. The roads to the attractions were non-asphalted, and the road signs were not clear. There was also a lack of public relations.
3) For the patterns of tourism management for the creative economy of Thai Yor community in the upper northeast, the results showed that
1. For the patterns of tourism in the area of Sakon Nakhon Province, there were three patterns of tourism in Thai Yor community around Phra That Chueng Chum Temple to promote the creative economy, and they included natural tourism, cultural tourism and special interest tourism, 2) Thai Yor community in Thar Wat Nuer Village and Thar Wat Tai included natural tourism, cultural tourism and special interest tourism, and 3) Thai Yor community in Wat Sapan Sri Temple included cultural tourism and special interest tourism.
2. For the patterns of tourism in the area of Nakhon Phanom Province, 1) Thai Yor community in Wat Phrathat Tha Uthen Temple included cultural tourism, 2) Thai Yor Ban Phon Community included cultural tourism and special interest tourism, and 3) Thai Yor community in Wat That Prasit Temple Community included cultural tourism and special interest tourism.
3. For the patterns of tourism in the area of Mukdahan Province, there were 3 patterns of tourism promotion for creative economy in Thai Yor community in Dong Yen Sub-district. They were natural tourism, cultural tourism and special interest tourism.
The results indicated that the patterns of tourism promotion of Thai Yor community way of life to develop the creative economy in the upper northeast of Thailand had the main purposes of conserving and restoring arts, cultures and traditions of Thai Yor community in the upper northeast of Thailand using public relations through organizing events and festivals of the provinces. There were three patterns of tourism promotion, including natural tourism, cultural tourism and special interest tourism. การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มไทญ้อภาคอีสานตอนบน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการจัดการท่องเที่ยวของกลุ่มไทญ้อภาคอีสานตอนบน และ 3) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยว เพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกลุ่มไทญ้อในภาคอีสานตอนบน ผู้วิจัยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผ่านการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม โดยยึดหลักการการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฎิบัติ และกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนทั้งหมด 90 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมาย และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มไทญ้อภาคอีสานตอนบน จากการสืบค้นข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัดรวมถึงจากการสัมภาษณ์วัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ผู้วิจัยพบว่าในอดีตทางภาครัฐยังไม่มีแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ จะพบเห็นก็เพียงแต่แผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคต่าง ๆ ที่ทางภาครัฐได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 8 ต่อมาเมื่อเข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางภาครัฐได้มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งทรัพยากร แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อนุรักษ์ฟื้นฟูประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นประตูเชื่อมโยงกลุ่มประเทศอินโดจีน โดยมีจังหวัดหนองคาย มุกดาหาร และนครพนม เป็นจังหวัดนำร่อง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทางภาครัฐเล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี จึงได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในทุกชนเผ่า ผ่านทางการสนับสนุนงานเทศกาลต่าง ๆ โดยเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มชาติพันธุ์ของตน 2) สภาพปัจจุบัน และปัญหาการจัดการท่องเที่ยวของกลุ่มไทญ้อภาคอีสานตอนบน ผู้วิจัยพบว่า ปัจจุบันการจัดการท่องเที่ยวของกลุ่มไทญ้อในภาคอีสานตอนบนนั้น ทางภาครัฐได้มุ่งเน้นการรื้อฟื้น ฟื้นฟู อนุรักษณ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มไทญ้อในภาคอีสานตอนบน ผ่านทางงานเทศกาลต่าง ๆ ของทางจังหวัด ส่วนปัญหานั้นพบว่า บางพื้นที่คนในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร สถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งถูกปิด ขาดการดูแลเอาใจใส่ ขาดการดูแลรักษาความสะอาด ถนนทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งเป็นถนนลูกรังไม่มีป้ายบอกทางที่ชัดเจน รวมถึงขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้านสถานที่ท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 3) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยว เพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกลุ่มไทญ้อในภาคอีสานตอนบน ผู้วิจัยพบว่า 1. ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 1) ชุมชนชาวไทญ้อบริเวณวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ประกอบด้วยรูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกลุ่มไทญ้อใน 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ รูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งวัฒนธรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษ 2) ชุมชนชาวไทญ้อบ้านท่าวัดเหนือ และบ้านท่าวัดใต้ ประกอบด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ รูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งวัฒนธรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษ 3) ชุมชนชาวไทญ้อวัดสะพานศรี ประกอบด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งวัฒนธรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษ 2. ในพื้นที่จังหวัดนครพนม 1) ชุมชนชาวไทญ้อบริเวณวัดพระธาตุท่าอุเทน ประกอบด้วยรูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกลุ่มไทญ้อ ในรูปแบบของการท่องเที่ยวตามแหล่งวัฒนธรรม 2) ชุมชนชาวไทญ้อบ้านโพน ประกอบด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งวัฒนธรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษ 3) ชุมชนชาวไทญ้อวัดธาตุประสิทธิ์ประกอบด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งวัฒนธรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษ 3. ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ชุมชนชาวไทญ้อ ตำบลดงเย็น ประกอบด้วยรูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกลุ่มไทญ้อ ใน 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ รูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งวัฒนธรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษ ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า รูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนไทญ้อ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภาคอีสานตอนบนนั้น มีรูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการที่จะอนุรักษณ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของกลุ่มไทญ้อในภาคอีสานตอนบน โดยใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ผ่านการจัดงานเทศกาลต่าง ๆ ของทางจังหวัด และมีรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวใน 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ รูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งวัฒนธรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษ |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1370 |
Appears in Collections: | Faculty of Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58012160010.pdf | 10.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.