Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1371
Title: The Employment of Mor Lam Song’s Wisdom on Holistic Medicine in Ban Khamsri, Nong Kungsri District, Kalasin Province
การใช้ภูมิปัญญาหมอลำทรง ในการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม บ้านคำศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์  
Authors: Artit Auoson
อาทิตย์ อนุสรณ์
Kosit  Phaengsoi
โฆสิต แพงสร้อย
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: การใช้ภูมิปัญญาหมอลำทรง
การรักษาสุขภาพแบบองค์รวม
Application of Moo Lam Song
Local Wisdom of Holistic Health Care for Self-Reliance
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The thesis entitled “The Employment of Mor Lam Song’s Wisdom on Holistic Medicine in Ban Khamsri, Nong Kungsri District, Kalasin Province” is aimed at 1) studying the knowledge of Mor Lam Song, 2) reviewing the wisdom of Mor Lam Song and 3) finding the ways of employing the wisdom of Mor Lam Song on holistic medicine.  The studied population is the people living in Ban Khamsri Village, Nong Bua Sub-District, Nong Kungsri District, Kalasin Province, the studied area which is divided into province, districts and villages.  By means of interviewing, the sample groups of informants comprise of 1) the group of 21 key informants, 2) the group of 38 casual informants which is the group that provided in-depth data on the knowledge of Mor Lam Song and the ways of holistic medicine and 3) the group of 30 general informants. Tools used in this study are an initiative surveying form, an observation form, an interviewing form and a group-conversation form.  Data collection was conducted by means of documents and fieldwork.  The analysis of data from searching out and compilation was conducted and written in the form of analytical description which was separately presented according to the aims of the study.     The results of the study were found that: 1) on the aspect of the knowledge of the Mor Lam Song, Ban Khamsri is the village that has got rites, beliefs and faiths inherited from the ancestors basing the rite “Mor Lam Song”.  Most of the rites that has been done are related to worship, sacrifice, apologizing and praying for having something you want succeeded. The rite “Mor Lam Song”, or so-called in some local areas “Lam Nang Thiam”, “Lam Phi Fa” or “Yao” is related to the invitation of a god, a sacred item or a ghost to come to the medium and communicate with in order to cure an illness.  It was found that the rite “Mor Lam Song” is categorized in Isan-Thai society.  It is a belief that has been inherited from the ancestors to the descendants.  Paying homage to the ghosts, the angels or the city-god has been being conducted, which is considered as the rite to communicate with among the sacred items, the ghosts and the human beings in order to ask for help on a suffering especially on the illnesses of people in the village; 2) on the aspect of the wisdom of Ban Khamsri’s Mor Lam Song, it was found that there must be important components including the patient, Mor Lam (the medium), Mor Khaen (Khaen performer) and offerings. For Khaen music and Lam singing, they are also considered very important because they are used as the means of communication with the god or the ghost to ask it to join the rite and as the helpers running the process, telling the matters of the rite as well as soothing the patient’s mind.  The rite “Mor Lam Song” can heal mental symptoms. It is a rite of Isan villages, considered as a tradition which has been being inherited for long in order to cure some mental ills. It is the belief of people in Ban Khamsri village, NongBua Sub-district, Nong Kungsri District, Kalasin Province, which is believed that it would be able to soothe and cure some diseases.  Throwing back to the past, medical treatment had not been developed as in the present; when someone got an ill, he went to see the Mor Lam Song to ask for help as well as might find another way to support the treatment as a mental support so that he would be hopeful and relieved and 3) on the aspect of employment of the Mor Lam Song’s wisdom on holistic medicine in the community, it is focused on having the members of the community earn their lives and follow the traditions that the ancestors completely created and paved their ways depending on the society, the nature, the environment and the supernatural things based on the cultural identity of the community which can be summarized as following: 1. in terms of physicality, it helps strengthen the person’s health, for example, dancing along with the music (the music of Khaen) which is considered exercising at the same time. By means of employing the Mor Lam Song’s wisdom on health treatment together with modern medicine, people in the community can depend on themselves on primary health care. 2. For mentality, it makes the mental health better and makes the person more hopeful.  A part of the rite “Mor Lam Song” can be the best described, especially, the sound of the music and the poem blessing the patient to have power struggling against an ill as well as to feel comfortable.  As in psychology, this is considered one of mental treatments, that is to say, to make the patient warm, unneglected and undespaired to fight for living.  Moreover, this is a chance to give an encouragement to each other between people in the family and in the community.   3. Towards the society, it is able to change the disunited society into the harmonious society.  That is to say, it helps people solve the problems within their families and the community so that the families become warm, the community becomes stronger and the people have a conscience and can rely on themselves by adopting the guidelines of the rite “Mor Lam Song”, the taboos and the regulations of the community for people’s living under sufficiency leading the community to become independent.      4. And for spirituality, it provides the society a dimension of the belief that is considered as a principle inherited from the predecessors, a source of encouragement, and a spiritual anchor building happiness and enhancing self-pride among the people. This is the process of integrating the rite with the belief in order to create a medical method by means of the sound of music and dancing in the rite which is related to the beliefs of ghosts, spirits and sacred items so as to build up an encouragement  as well as to enhance people in the community to realize and cherish their own culture leading to the strength of the harmony of the people in the society and the nation later
วิทยานิพนธ์เรื่อง การใช้ภูมิปัญญาหมอลำทรง ในการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม บ้านคำศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความมุ่งหมายคือ 1) ศึกษาองค์ความรู้ของหมอลำทรง 2) ศึกษาภูมิปัญญาของหมอลำทรง และ 3) ศึกษาแนวทางการใช้ภูมิปัญญาของหมอลำทรง ในการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม ประชากรที่ศึกษาเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชุมชนบ้านคำศรี ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่เป็นพื้นที่ศึกษา แบ่งเป็นจังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลผู้วิจัยด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้รู้ /ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 21 คน 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติ (Casual Information) เป็นกลุ่มที่จะให้ข้อมูลในเชิงลึก ที่เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับหมอลำทรง และแนวทางการรักษาแบบองค์รวมจำนวน 38 คน และ 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป (General Information) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจเบื้องต้น แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และเก็บข้อมูลภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าและจากการรวบรวมข้อมูลโดยเขียนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบพรรณนาความวิเคราะห์ โดยได้แยกเสนอตามความมุ่งหมายของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ความรู้ของหมอลำทรงบ้านคำศรีนั้น เป็นหมู่บ้านที่มีพิธีกรรมความเชื่อ และความศรัทธาที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งเป็นรากฐานที่ทำให้เกิดพิธีกรรมหมอลำทรง ส่วนใหญ่ของพิธีกรรมที่ประกอบขึ้นมานั้น มักเกี่ยวข้องต่อการแสดงความเคารพบูชา เซ่นสรวงบวงพลี การอ้อนวอนขอขมาลาโทษ และการขอพรวอนไหว้เพื่อสำเร็จกิจที่ตนพึงประสงค์ พิธีกรรมหมอลำทรงหรือบางท้องถิ่นเรียกว่า ลำนางเทียม ลำผีฟ้า หรือเหย้า ล้วนแต่เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเชิญ เทพ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือผี ลงมาประทับทรงทำการรักษาหรือบำบัดอาการเจ็บไข้ได้ป่วย จากข้อมูลพบว่าพิธีกรรมหมอลำทรงจัดอยู่ในสังคมชาวไทยอีสาน ความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน มีการนับถือผี เทพ เทวดา หรือมเหศักดิ์หลักบ้าน ซึ่งเป็นการทำพิธีเพื่อติดต่อระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และผี กับคน เพื่อจะให้ช่วยเหลือแก้ปัญหาความเดือดร้อน โดยเฉพาะปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วยของคนภายในชุมชน 2) ภูมิปัญญาของหมอลำทรงของบ้านคำศรีนั้น พบว่า จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ คนไข้ หมอลำ หมอแคน และเครื่องบูชา สำหรับดนตรีแคน และการขับลำนั้นถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่ง เพราะใช้เป็นการติดต่อสื่อสารกับเทพ เทวดา หรือ ผี ลงมาสู่พิธีและยังช่วยดำเนินเรื่องราว บอกสาระของพิธี กับทั้งช่วยปลอบประโลมบำบัดจิตใจให้แก่คนไข้ได้ พิธีกรรมหมอลำทรงสามารถช่วยบำบัดอาการทางจิตให้หายได้ หมอลำทรงเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชุมชนทางอีสาน เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา ยาวนาน เพื่อใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บทางจิตบางชนิด เป็นความเชื่อของชุมชนบ้านคำศรี ที่เชื่อว่าจะสามารถช่วยให้ โรคทุเลาเบาบางลงไปจึงถึงหายได้ ชาวบ้านคำศรี ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ในอดีตที่ยังไม่มีการแพทย์ที่พัฒนาแบบยุคปัจจุบัน เวลาเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาก็จะไปหาหมอลำทรง ให้ช่วยดูแลรักษาให้ พร้อม ๆ กันอาจจะหาทางออกด้วยวิธีการต่าง ๆ มาเสริมขึ้น เป็นการช่วยทางด้านจิตใจ เพื่อให้มีกำลังใจและสบายใจ และ 3) แนวทางการใช้ภูมิปัญญาของหมอลำทรง ในการรักษาสุขภาพแบบองค์รวมของชุมชนนั้น มุ่งให้สมาชิกในสังคมดำเนินชีวิตและปฏิบัติตามจารีต ประเพณีที่บรรพชนได้สร้างสรรค์ และวางแนวทางไว้อย่างสมบูรณ์ โดยอาศัยสังคม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสิ่งที่เหนือธรรมชาติบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมในชุมชน โดยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ด้านร่างกาย  ทำให้สุขภาพร่ายกายแข็งแรง ยกตัวอย่างเช่นการร่ายรำประกอบเสียงดนตรี (เสียงแคน)  ซึ่งถือได้ว่าเป็นการออกกำลังกายภายในตัว โดยการนำเอาภูมิปัญญาหมอลำทรงมาใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพ ควบคู่กับการรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบัน คนภายในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้น 2. ด้านจิตใจ ทำให้สุขภาพทางใจดีขึ้น มีกำลังใจมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างจากพิธีกรรมหมอลำทรง โดยเฉพาะเสียงดนตรี และกลอนลำที่อวยพรให้ผู้ป่วยมีกำลังในในการต่อสู้กับโรคภัยที่เจ็บป่วยมีความสบายอก สบายใจซึ่งในเชิงจิตวิทยาเป็นการดูแลรักษาสุขภาพด้านจิตใจ ทำให้คนไข้มีความรู้สึกอบอุ่นไม่ถูกทอดทิ้ง แล้วมี ความหวังในการต่อชีวิตอยู่ต่อไป และการให้กำลังใจซึ่งกันและกันระหว่างครอบครัว และคนภายในชุมชน 3. ด้านสังคม ทำให้สังคมที่มีความแตกแยก กลับมามีความสมัครสมานสามัคคี ซึ่งเกิดจากปัญหาภายในครอบครัว และภายในชุมชน มีความเข็มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยการยึดแนวปฏิบัติพิธีกรรมหมอลำทรง ข้อห้ามข้อคะลำ กฎระเบียบแบบแผนภายในชุมชน มาเป็นแนวทางการปฏิบัติและการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน ภายใต้ความพอเพียง ทำให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ 4. ด้านจิตวิญญาณ  ทำให้สังคมเกิดมิติความเชื่อเป็นหลักปฏิบัติและยึดถือกันมาจากบรรพบุรุษ เป็นแหล่งของกำลังใจ เป็นที่พึ่งและยึดเหนี่ยวทางใจก่อให้เกิดความสุข เสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง   ซึ่งเป็นกระบวนการบูรณาการพิธีกรรม เข้ากับความเชื่อเพื่อสร้างแบบแผนการรักษาโรค โดยใช้เสียงดนตรีและการฟ้อนรำประกอบพิธีกรรมที่มีการผูกโยงความเชื่อเรื่องผี วิญญาณ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความรักและหวงแหนในวัฒนธรรมของตนอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของคนในชุมชน และประเทศชาติต่อไป
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1371
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59012180002.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.