Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1375
Title: | The Development of Television Program to Promote the Local Culture Identity in the Northeast of Thailand การพัฒนารูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Authors: | Pratana Dejprasertsri ปรารถนา เดชประเสริฐศรี Phanat Photibat พนัส โพธิบัติ Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Keywords: | รูปแบบ รายการวิทยุโทรทัศน์ ส่งเสริมอัตลักษณ์ อัตลักษณ์ท้องถิ่น Model Television program Promote the local culture The local culture identity |
Issue Date: | 2 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aims to study 1. History of television program 2. Current conditions and problems of television program and 3. Develop television program model to promote the local culture identity in northeastern Thailand. This research is a qualitative research by defining research areas with a specific selection method, such as Nakhon Ratchasima province, Khon Kaen province and Ubon Ratchathani province. The 91 key informants consisted of group of 17 key informantion, 14 casual information and 60 general information. Surveys, observations, interviews and focus group discussions are all tools used to collected data. Then the data was compiled and presented the results of data analysis by the descriptive analysis method.
The research results were found that the television stations was established by the government for public relations, disseminating news and building public understanding. The tv content of local news programs is mainly presented in the form of news programs. For tv program to promote the local culture identity, the content focused on entertainment, quiz and answering the question in the form of variety program and news program. Nowadays, television stations have been adding a variety of local program content, more specific channels, revenue channels from other service businesses and strategies for reaching out to audiences. The administrator focus on being a local television station mainly presented local news and knowledge in the form of news program, talks program and magazine program. For tv program to promote the local culture identity, the content reflected on the localization of the Isan region is presented in the local language in the form of magazine program, variety program and news program. And the television program format to promote the local culture identity in northeastern Thailand which is classified into 3 steps: the first step is to draft, the next step is to develop and the last step is to certified a television program format to promote the local culture identity in northeastern Thailand consists of 7 components as follows: Element 1: Audience between 35-45 years of age. Element 2: Concept of television program connecting past and future with local storytelling, specific culture learning, creating new experiences and touching the way of life. Element 3: Television program structure consists of title, content, interlude, and credit. Element 4: Television content is presented about beliefs, faith, religion, historical sites, natural places, tourist attractions, culture, traditions and local products. Element 5: Characteristics of television programs are presented as follows: Documentary, magazine and variety. Element 6: Television programs announcer should have communication skills, cultural knowledge or issues presented, personality and being a local person or famous person or youtuber and element 7: Period of time should be between 4-5 minutes and 15-25 minutes.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1. ความเป็นมาของรายการวิทยุโทรทัศน์ 2. สภาพปัจจุบันและปัญหาของรายการวิทยุโทรทัศน์ และ 3. พัฒนารูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกำหนดพื้นที่ในการวิจัยด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ จำนวน 17 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 14 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 60 คน รวมจำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ทั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาของรายการวิทยุโทรทัศน์เริ่มต้นจากภาครัฐจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสาร และสร้างความเข้าใจอันดีต่อประชาชน มีการนำเสนอเนื้อหารายการข่าวท้องถิ่นเป็นหลักในรูปแบบรายการข่าว ส่วนรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่นมีการนำเสนอเนื้อหาที่เน้นความบันเทิง การประกวดแข่งขัน และการตอบปัญหา ทั้งในรูปแบบรายการปกิณกะหรือรายการวาไรตี้ และรูปแบบรายการข่าว ด้านสภาพปัจจุบันของรายการวิทยุโทรทัศน์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ได้มีการปรับเพิ่มความหลากหลายของเนื้อหารายการท้องถิ่น จำนวนช่องรายการเฉพาะกลุ่ม ช่องทางรายได้จากธุรกิจการให้บริการ และกลยุทธ์ในการเข้าถึงผู้รับชมรายการ มุ่งเน้นการเป็นโทรทัศน์ของท้องถิ่นที่นำเสนอเนื้อหารายการข่าวท้องถิ่นและสาระความรู้เป็นหลักในรูปแบบรายการข่าว รูปแบบรายการพูดคุย และรูปแบบรายการนิตยสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่นมีการนำเสนอเนื้อหารายการที่สะท้อนความเป็นท้องถิ่นภาคอีสานด้วยภาษาท้องถิ่น ในรูปแบบรายการนิตยสาร รายการปกิณกะ และรายการข่าวท้องถิ่น ทั้งนี้ ปัญหาของรายการวิทยุโทรทัศน์ คือ โครงสร้างรายการและลักษณะการนำเสนอรายการวิทยุโทรทัศน์ขาดความโดดเด่นน่าสนใจ จึงไม่สามารถกระตุ้นให้ผู้ชมติดตามรับชมรายการอย่างต่อเนื่อง เนื้อหารายการวิทยุโทรทัศน์ขาดความหลากหลาย และไม่ตอบสนองความต้องการของผู้ชม ผู้นำเสนอรายการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทพื้นที่และความรู้ทางด้านวัฒนธรรม สื่อสารไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย พูดไม่ชัดเจน และขาดการสร้างลักษณะเฉพาะของตนเอง ส่งผลให้ผู้ชมไม่สามารถจดจำรายการได้ อีกทั้งระยะเวลาในการนำเสนอรายการยังไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้รับชมรายการด้วย และรูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกออกเป็น 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกเป็นการจัดทำร่างรูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น ขั้นตอนต่อมาเป็นการพัฒนารูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น และขั้นตอนสุดท้ายเป็นรูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผ่านการรับรอง ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย ช่วงอายุระหว่าง 35-45 ปี องค์ประกอบที่ 2 แนวคิดรายการวิทยุโทรทัศน์แสดงความเกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบันผ่านการเล่าเรื่องท้องถิ่น การเรียนรู้ลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมหรือจุดเด่นของท้องถิ่น การสร้างประสบการณ์ใหม่ และการสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ด้วยตนเอง องค์ประกอบที่ 3 โครงสร้างรายการวิทยุโทรทัศน์ ประกอบด้วย ส่วนเปิดรายการ ส่วนเนื้อหารายการ ส่วนคั่นรายการ และส่วนปิดรายการ องค์ประกอบที่ 4 เนื้อหารายการวิทยุโทรทัศน์เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา สถานที่ประวัติศาสตร์ สถานที่ธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรมประเพณี และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น องค์ประกอบที่ 5 ลักษณะการนำเสนอรายการวิทยุโทรทัศน์ ได้แก่ รายการสารคดี รายการนิตยสาร และรายการปกิณกะ องค์ประกอบที่ 6 ผู้นำเสนอรายการวิทยุโทรทัศน์ ควรมีทักษะการสื่อสาร ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมหรือประเด็นที่นำเสนอ บุคลิกภาพ และเป็นบุคคลในท้องถิ่นหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือยูทูปเบอร์ และองค์ประกอบที่ 7 ระยะเวลาการนำเสนอควรมีความยาวระหว่าง 4-5 นาที และ 15-25 นาที |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1375 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57012160019.pdf | 8.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.