Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1376
Title: The Development of Radio Program for Buddhism Dissemination of Nakhon Ratchasima Province
การพัฒนารูปแบบการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดนครราชสีมา
Authors: Achiraya Supadej
อชิรญา สุภาเดช
Phanat Photibat
พนัส โพธิบัติ
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: รูปแบบ
การจัดรายการวิทยุกระจายเสียง
การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
การส่งเสริม
model
radio program
buddhism dissemination
promoting
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:  This research is a qualitative research to study 1)  History of radio program of Nakhon Ratchasima province  2)  Current conditions and problems of radio program for buddhism dissemination of Nakhon Ratchasima province and 3) Develop model of radio program for buddhism dissemination of Nakhon Ratchasima province. The research areas is Nakhon Ratchasima Province. Researchers select specific the key informants to divided into 3 groups consisted of key information, casual information and general information providers number 106 people. The tools used for data collection such as: surveys, observations, interview guide, and focus group discussion. The researcher collects data from documents and field data. And present the research results by descriptive analysis.  The research results were found that the government radio station in Nakhon Ratchasima province was set up to share government data, information and policies to people. According to the Constitution of the Kingdom of Thailand, Buddhist Era 2540 (1997), section 40. Transmission frequencies for radio or television broadcasting and radio telecommunication are national communication resources for public interest, citizens were able to own a radio station. For this reason, there were over 400 community radio in Nakhon Ratchasima province, were presented news, knowledge, entertainment, art and culture, children and youth, education and activities through talk program , news program, variety program and magazine program according to the NBTC's criteria.  Because of media reform in Thailand and political violence, the illegal community radio station was strictly abide by NBTC regulations.  The most of radio station in Nakhon Ratchasima province receive broadcast signal from the radio Thailand. There are sermons and lectures on the Buddha's doctrine and inserting knowledge of important religious days. The mcunkr Buddhist radio broadcasting station has been produce their own programs both live and recorded program . The problems of broadcasting programs include audience, program content, moderator, present, language, sound, time length and channel    The format of radio program for Buddhism dissemination in Nakhon Ratchasima province includes 7 compositions : 1. audience age between 55-65 years, 2. content about the childbearing of parents, being a good disciple of teachers, being a good friend of friends, good citizenship, being a good disciple of the prophet, nature of life, principles for living and a happy life, 3. program presentation such as magazine program, talk program and answer the question program, 4. moderator is a monks or laymen or monks and laymen who has  knowledge of Buddhism, has an interesting presentation, can talk to the audience in easy-to-understand language and speaks Thai, Pali, Sanskrit and Buddhism correctly, 5. language the moderators should speak in central Thai dialect, 6. sound such as voice, music and sound effects, 7. program length 20-30 minutes and 8. channel such as facebook Live, podcast, youtube and line.
 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1.  ความเป็นมาของการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงจังหวัดนครราชสีมา  2.  สภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา และ 3.  พัฒนารูปแบบการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีพื้นที่ในการวิจัย คือ จังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง โดยจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์    ผลการวิจัย พบว่า จังหวัดนครราชสีมาจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงหลักภาครัฐขึ้นเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และนโยบายจากภาครัฐสู่ประชาชน ต่อมาประชาชนสามารถเป็นเจ้าของสถานีวิทยุกระจายเสียงได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 40 คลื่นความถี่วิทยุและการกำกับดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม จึงได้มีสถานีวิทยุชุมชนเกิดขึ้นจำนวนมากกว่า 400 สถานี ซึ่งเน้นการนำเสนอข่าว ความรู้ บันเทิง เนื้อหาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เด็กและเยาวชน การศึกษา และการประชาสัมพันธ์กิจกรรมขององค์กร  ผ่านรายการพูดคุย  รายการบรรยาย  รายการข่าว  รายการวาไรตี้  และรายการนิตยสารทางอากาศ  ทั้งนี้การจัดระเบียบสื่อวิทยุกระจายเสียงและความรุนแรงทางการเมือง ส่งผลให้สถานีวิทยุชุมชนนครราชสีมาต้องปฏิบัติตามข้อปฎิบัติของ กสทช. อย่างเคร่งครัด  สถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดนครราชสีมาส่วนใหญ่รับสัญญาณการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย(ส่วนกลาง) ซึ่งเป็นการเทศน์ การบรรยายธรรม การแสดงธรรมที่เกี่ยวกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าและสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนา  ซึ่งสถานีวิทยุพระพุทธศาสนา มจร. วิทยาเขตนครราชสีมา ได้ผลิตรายการเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาเอง โดยมีพระสงฆ์ หรือฆราวาสเป็นผู้ดำเนินรายการ มีช่างเทคนิคทำหน้าที่ผลิตรายการออกอากาศสดและรายการบันทึกเทป  ทั้งนี้พบว่าปัญหาการจัดรายการวิทยุกระจายเสียง ได้แก่ ด้านกลุ่มผู้ฟัง  ด้านเนื้อหารายการ  ด้านผู้ดำเนินรายการ  ด้านวิธีการนำเสนอ  ด้านภาษา  ด้านเสียง  ด้านความยาว  และด้านช่องทางการเผยแพร่    รูปแบบการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย มีอายุระหว่าง 55-65 ปี  องค์ประกอบที่ 2 เนื้อหารายการเกี่ยวกับการเป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา การเป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ การเป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน การเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การเป็นสาวกที่ดีของพระศาสดา ธรรมชาติของชีวิต หลักการดำเนินชีวิตและชีวิตที่เปี่ยมสุข  องค์ประกอบที่ 3 วิธีการนำเสนอ ได้แก่ รายการนิตยสาร  รายการพูดคุย  และรายการตอบคำถาม องค์ประกอบที่ 4  ผู้ดำเนินรายการ เป็นพระสงฆ์ หรือ ฆราวาส หรือ พระสงฆ์และฆราวาสที่มีความรู้ทางพระพุทธศาสนา มีลีลาในการนำเสนอน่าสนใจ พูดคุยกับผู้ฟังด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และพูดภาษาไทย ภาษาบาลี สันสกฤต และภาษาพระพุทธศาสนาถูกต้อง องค์ประกอบที่ 5 ภาษา ผู้ดำเนินรายการควรใช้ภาษากลางเป็นภาษาหลักในรายการ และมีการสอดแทรกภาษาโคราช เพลงโคราช และ เพลงแหล่ภาษาโคราช  องค์ประกอบที่ 6  เสียง ประกอบด้วย เสียงพูดหรือเสียงบรรยาย เสียงดนตรี และเสียงประกอบ  องค์ประกอบที่ 7  รายการควรมีความยาว 20-30 นาที  และองค์ประกอบที่ 8  ช่องทางการเผยแพร่ ได้แก่ เฟสบุ๊คไลฟ์ พ็อดคาสท์ ช่องยูทูป ไลน์
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1376
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57012160026.pdf7.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.