Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1377
Title: Network development Disabled Persons in Northeastern region
การพัฒนาเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสาน  
Authors: Wimolnuch Laowisalsuwan
วิมลนุช  เหล่าวิศาลสุวรรณ
Sithisak Jupadaeng
สิทธิศักดิ์ จำปาแดง
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: การพัฒนาเครือข่าย
องค์กรคนพิการ
Network development
Disabled Persons
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Research studies Corporate network development in the Isan region: a population case study People who live in the Kalasin area. Maha Sarakham Province and Roi Et Province Research aim To study the background of the organization of persons with disabilities in the Isan region To study the current situation and network problems of disabled persons in the Isan To study guidelines for the development of the network of disabled persons in the Isan region By collecting data surveys Case studies of people with disabilities People who live in the Kalasin area. Mahasarakham and Roi Et provinces A group of people selected by a specific method Step 2: Step 1. Determine the agency that will select the personnel to be the sample, which will appear in the next step 2 And step 2: select a sample group of informants who are a network of disabled organizations  Both are government agencies and private entities divided into 3 groups 1) Key Informants 9 of them It is a sample group that provides insights on the history of the disabled organization network in the Isan region Current conditions and problems of the network of organizations of persons with disabilities in Isan and The development of a network of organizations for persons with disabilities in the Isan region consists of 1.1) Provincial public health or one representative of each province 1.2) Supervisor responsible for special education or one representative per province 1.3) Social development and human security or 1 representative per province 2) Casual Informants 18 persons It is a sample group that provides insights on the history of the disabled organization network in the Isan region. Current conditions and problems of the network of organizations of persons with disabilities in Isan region And the development of a network of organizations for persons with disabilities in the Isan region consisting of 2.1) President of the organization club or the leader of the network of people with disabilities Or 3 representatives of each province (9 people in total) 2.2 People with disabilities of various types, 3 people per province (total 9 people ) The results of the research were as follows: 1. The history of the network of disabled organizations in the Isan region can be divided into stages as follows. 1) The ancient period found that caring for people with disabilities was a family matter who had to take care of themselves. Disabled people are socially offensive The family will feel ashamed that the child is a disabled person, often concealing himself from anyone knowing. Some races have even committed the murder of a disabled baby. By the belief that he is of no use to humanity. On the contrary, it will be a burden to others. Therefore deserves to end his life to end the problem from the beginning For the provinces of Kalasin, Maha Sarakham and Roi Et No disability was found in ancient times. 2) Medium term, since 1971, the United Nations Has declared the rights of people with disabilities in the year 2518 designated the year 2524 is a universal and in the year 2526 has been announced. "The United Nations Decade of Persons with Disabilities" The United Nations' ongoing work on people with disabilities has made the work of disabled people stand out. Various civilized countries Therefore being alert and having a movement to support people with disabilities at different stages 3) At present, since 1991, Thailand has issued the Disabled Persons Rehabilitation Act. And assigned to the Ministry of Labor and Social Welfare Along with the Ministry of Public Health As the main ministry in the implementation of this Act Which both ministries Has taken more and more responses to the needs of people with disabilities.  terms of medical care, education, employment, the preparation of facilities. Registering people with disabilities Equipment supply And assistive devices for the disabled Including the development of personnel to get quality people to work in the field of disabled people In helping people with disabilities The state provides assistance to people with disabilities in the form of bringing people with disabilities out of their families to receive external therapy. Such as sent to a hospital, vocational training center Or a home And those in school age May be sent to rehabilitation treatment at a special education center of each province There is only one place per province or sent to Panyanukul School. (For the mentally impaired) Audiovisual school For hearing impaired) School for the blind (For the visually impaired, etc.) 2. Current conditions and problems of the network of organizations of persons with disabilities in the Isan region. (Only in Kalasin Province And Roi Et Province) Number of organizations of persons with disabilities in the three provinces: Kalasin, Maha Sarakham and Roi Et (up to 27 September 2019) Estimated as follows. (The reason to use the word approximation is because the organizations are lacking permanent and continuous closed-open, not current) Kalasin Province has 10 organizations Maha Sarakham Province has 8 organizations and Roi Et Province has 10 organizations. The problems of the networks of disabled organizations in three provinces (Kalasin, Mahasarakham and Roi Et) can be summarized as follows 2.1) on the structure of the organization, buildings, premises, materials, office equipment, lack of the main unit that the disabled organization can contact at any time Such as a service center for the disabled at the district level Lack of building, fixed contact places, not moving often, not closed, open, lack of necessary office supplies. Such as a service center for the disabled at the district level Lack of building, fixed contact places, does not move often, does not close, is open. Causing the organization to move slowly and not achieve its goals 2.2) lack of adequate budget, both. 4 M’x are Man, Money, Material, and Management. 2.3) Lack of human development in the organization Such as developing the leadership of the president or the chairman of the training ICT authorities are not developed and  Office administration 2.5) Development of all persons with disabilities to be self-reliant. Self-esteem Not a burden to society Because each person has knowledge, ability (Ability), interests and aptitudes are different. Development has to be done in various ways and 2.6) Lack of periodic checks and assessments From the responsible person of the state Cause corruption And lack of discipline in using money
การศึกษาวิจัย  การพัฒนาเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสาน ความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อศึกษาความเป็นมาของเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสาน  เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสาน   เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายองค์กรคนพิการภาคอีสาน  โดยการเก็บสำรวจข้อมูล กรณีศึกษาจากผู้พิการ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์  จังหวัดมหาสารคาม  และ  จังหวัดร้อยเอ็ด  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และกลุ่มตัวอย่าง  คือ  กลุ่มคนทีเลือกโดยวิธีการแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)  2  ขั้นตอนคือ  ขั้นตอนที่  1  กำหนดหน่วยงานที่จะเลือกบุคลากรที่จะเป็นกลุ่มตัวอย่างซึ่งจะปรากฏในขั้นตอนที่  2  และขั้นตอนที่  2  เลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลที่เป็นเครือข่ายองค์กรคนพิการ  ทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลและหน่วยงานของเอกชน  แบ่งออกเป็น  3  กลุ่ม  1)  กลุ่มผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลหลัก  (Key  Informants)  จำนวน  9  คน  เป็นกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสาน  สภาพปัจจุบันและปัญหาของเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสาน  และการพัฒนาเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสานประกอบด้วย 1.1)  สาธารณสุขจังหวัดหรือผู้แทนจังหวัดละ  1  คน  1.2)  ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบการศึกษาพิเศษหรือผู้แทน  จังหวัดละ  1  คน  1.3)  พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทนจังหวัดละ  1  คน  2)  กลุ่มผู้ปฏิบัติ  (Casual  Informants)  จำนวน  18  คน  เป็นกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสาน  สภาพปัจจุบันและปัญหาของเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสาน  และการพัฒนาเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสานประกอบด้วย  2.1)  ประธานชมรมองค์กรหรือผู้นำเครือข่ายคนพิการด้านต่างๆ  หรือผู้แทนจังหวัดละ  3  คน  (รวม 9  คน)  2.2  ผู้พิการประเภทต่างๆ  จังหวัดละ  3  คน  (รวม  9  คน) ผลการวิจัยพบว่า     1. ประวัติความเป็นมาของเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสานนั้นแบ่งเป็นระยะได้ดังนี้  1)  ระยะโบราณ  พบว่าการดูแลคนพิการเป็นเรื่องของครอบครัวที่จะต้องดูแลกันเอง  คนพิการเป็นคนที่น่ารังเกียจในสังคม  ครอบครัวจะรู้สึกอับอายที่ลูกเป็นคนพิการ  มักจะปกปิด  ซ่อนเร้น  ไม่ให้ผู้ใดล่วงรู้  บางเผ่าพันธุ์ถึงกับกระทำการฆาตกรรมทารกที่เกิดมาพิการ  โดยความเชื่อว่าเขาไม่มีประโยชน์ใดๆ  กับมนุษยชาติ  ตรงกันข้ามกลับจะเป็นภาระให้กับผู้อื่น  จึงสมควรที่จะจบชีวิตเพื่อจบปัญหาเสียตั้งแต่ต้น  สำหรับจังหวัดกาฬสินธุ์  มหาสารคาม  และร้อยเอ็ดนั้น  ไม่พบว่าได้มีการดูแลคนพิการใดๆ  ในสมัยโบราณ  2)  ระยะกลาง  นับตั้งแต่  ปี  พ.ศ.  2514  เป็นต้นมา  องค์การสหประชาชาติ  (United  Nation)  ได้ประกาศสิทธิคนพิการ  ในปี  2518  กำหนดให้ปี  พ.ศ.  2524  เป็นมีคนพิการสากล  และในปี  พ.ศ.  2526  ได้มีการประกาศ  “ทศวรรษคนพิการแห่งสหประชาชาติ”  ซึ่งการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวกับคนพิการอย่างต่อเนื่องขององค์การสหประชาชาตินี้ผลักดันให้งานด้านคนพิการโดดเด่นขึ้น  นานาอารยะประเทศ  จึงตื่นตัวและมีการเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนคนพิการในระยะต่างๆ  3)  ระยะปัจจุบัน  นับจากปี  พ.ศ.  2534  ประเทศไทยได้ออกพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ  และมอบหมายให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม  พร้อมทั้งกระทรวงสาธารณสุข  เป็นกระทรวงหลักในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้  ซึ่งกระทรวงทั้งสองได้ดำเนินการสนองตอบต่อความต้องการของคนพิการมากขึ้น  ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล  การศึกษา  การจ้างงาน  การจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก  การจดทะเบียนคนพิการ  การจัดหาอุปกรณ์  และเครื่องช่วยคนพิการ  รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้ได้คนที่มีคุณภาพมาทำงานด้านคนพิการ  ในการสงเคราะห์คนพิการนั้น  รัฐได้จัดสงเคราะห์คนพิการในรูปแบบที่นำคนพิการออกจากครอบครัวมารับการบำบัดภายนอก  เช่น  ส่งไปที่โรงพยาบาลศูนย์ฝึกอาชีพ  หรือสถานสงเคราะห์  และผู้อยู่ในวัยเรียน  ก็อาจส่งไปบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพที่ศูนย์การศึกษาพิเศษของแต่ละจังหวัด  ซึ่งมีเพียงจังหวัดละ  1  แห่งเท่านั้น  หรือส่งไปโรงเรียนปัญญานุกูล  (สำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญา)  โรงเรียนโสตศึกษา  (สำหรับผู้บกพร้องทางการได้ยิน)  โรงเรียนคนตาบอด  (สำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น  ฯลฯ)    2.  สภาพปัจจุบัน  และปัญหาของเครือข่ายองค์กรคนพิการในภาคอีสาน  (เฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์  และจังหวัดร้อยเอ็ด)  จำนวนเครือข่ายองค์กรคนพิการในสามจังหวัดคือ  กาฬสินธุ์  มหาสารคาม  และร้อยเอ็ด  (นับถึงวันที่  27  กันยายน  พ.ศ.  2562)  ประมาณได้ดังนี้  (สาเหตุที่ต้องใช้คำว่าประมาณ  เพราะว่า  องค์กรต่างๆ  ขาดความถาวรและต่อเนื่อง  ปิด-เปิด  ไม่เป็นปัจจุบัน)  จังหวัดกาฬสินธุ์  มี  10  องค์กร  จังหวัดมหาสารคาม  มี  8  องค์กร  และจังหวัดร้อยเอ็ด  มี  10 องค์กร  ส่วนปัญหาของเครือข่ายองค์กรคนพิการในสามจังหวัด  (กาฬสินธุ์  มหาสารคาม  และร้อยเอ็ด)  สรุปได้ดังนี้  2.1)  เรื่องโครงสร้างขององค์กร  อาคารสถานที่  วัสดุ  อุปกรณ์สำนักงานขาดหน่วยงานหลักที่องค์กรคนพิการจะติดต่อได้ตลอดเวลา  เช่น  ศูนย์บริการคนพิการระดับอำเภอ  ขาดอาคารสถานที่ติดต่อที่แน่นอน  ไม่ย้ายบ่อย  ไม่ปิดๆ  เปิดๆ  ขาดวัสดุ  อุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็น  และขาดการทำปฏิทินปฏิบัติงานประจำปี  โดยผุ้พิการในองค์กรมีส่วนรวม  ทำให้องค์กรเคลื่อนตัวช้าและไม่บรรลุเป้าหมาย  2.2)  ขาดงบประมาณที่เพียงพอทั้ง 4  M’x  คือ  Man  (บุคลากร)  Money  (เงิน)  Material  (อุปกรณ์)  และ  Management  (การบริหารจัดการ)  2.3)  ขาดการพัฒนาคนในองค์กร  เช่นพัฒนาความเป็นผู้นำของนายกหรือประธานอบรม  เจ้าหน้าที่ไม่ได้รับการพัฒนาเรื่อง  ICT  และการบริหารสำนักงาน  2.4)  ขาดความร่วมมือในรูปแบบบูรณาการ  (integration)  จากภาคส่วนของรัฐ  2.5)  การพัฒนาคนพิการทุกคนให้สามารถพึ่งตนเอง  ภูมิใจในตนเอง  ไม่เป็นภาระต่อสังคมทำได้ยาก  เพราะแต่ละคนมีความรู้  ความสามารถ  (Ability)  ความสนใจและความถนัดแตกต่างกัน  การพัฒนาต้องทำในรูปแบบที่หลากหลาย  และ  6)  ขาดการตรวจสอบและประเมินเป็นระยะๆ  จากผู้รับผิดชอบของรัฐ  ทำให้เกิดการทุจริต  และขาดวินัยในการใช้เงิน 
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1377
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58012160016.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.