Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1379
Title: Adaptation of Cultural Tourism in Surin Province
การปรับตัวของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์
Authors: Natthayot Boonsot
ณัฏฐยชญ์ บุญสด
Kosit  Phaengsoi
โฆสิต แพงสร้อย
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: การปรับตัว
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
The adaptation
Cultural Tourism
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research is aimed to study the development and adaptation of cultural tourist attractions in Surin province by using quantitative research. The population in this research is population in Surin province. And, the example in this research are 100 people selected by Purposive sampling in Cultural tourist attractions. It is divided into 4 categories; 1) Lifestyle category; Elephant village, Ban Ta Klang M. 9, 13 Krapho sub-district, Tha tum district, Surin province. 2) Ancient community category; Prasat Phum Phon M.5, Dom sub-district, Sangkha district, Surin province. 3) Religious place category; Watkhaosala, Jaras sub-district, Buachet district, Surin province. And, 4) Tradition and custom category; Eel festival, Jasmine rice and Red Cross festival, Chumphonburi district, Surin Province. The method to collect data are questionnaire, observation and group discussion. The collected data is checked by using triangulation method. The data is analyzed by the research purposes. And, the research is presented by using Descriptive method. The result of this study found that cultural tourist attractions in Surin province include way of life, ancient community, religious place and tradition and culture have history, current condition, problem and period of development in different tourist attractions. Cultural tourist attraction in lifestyle category has tourist management when government launch “Elephant back to hometown” project. To cope with the problem of wandering elephants, Elephant Study Center demonstrates the way of life between people and elephant which live together for tourist. It denotes the community’s history to the intelligent elephant’s performance. And, the traveling develops into OTOP Nawatwithi community. In present, tourist attraction in ancient community category is Prasat Phunphon. It is the oldest Stone Prasat in Thailand. It attracts tourists to visit this ancient community. The development of this tourist attraction is supported from Tourism Authority of Thailand. This authority set ‘The Legendary of Prasat Phumphon Custom’ festival. The festival has entertaining ‘Niandoth Thom Legend’ performance from 1993. And, it becomes ancient community’s annual festival. The festival’s duration is celebrate every April. Cultural tourist attraction in religious category is different from another category because traveling occur when tourist want to do merit, meditation retreat and sightseeing. As the temple makes activities and religious place to attract the tourists to visit these without any help from other authority. Last, tourist attraction in custom and culture category presents resource and local wisdom to be unique to attract tourists. The adaptation aspect of cultural tourist attraction in Surin found that the people in community have to be actual participation. Every department should have role to manage. They are the participation in planning, treating, receiving profit and evaluation. At least, the participation must acknowledge and well accept the other department.
วิทยานิพนธ์นี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ และการปรับตัวของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 100 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงของระชาชนในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ ใน 4 ประเภท คือ 1)ประเภทวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ได้แก่ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง หมู่ 9,13 ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ 2)ประเภทชุมชนโบราณ ได้แก่ ชุมชนบ้านภูมิโปน หมู่ 5 ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 3) ประเภทศาสนสถาน ได้แก่ พุทธอุทยานวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ และ4) ประเภทประเพณี และวัฒนธรรม ได้แก่ เทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ และงานกาชาดอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และการสนทนากลุ่ม นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่ต้องไว้ และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ ทั้งที่เป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ชุมชนโบราณ ศาสนสถาน และประเพณี และวัฒนธรรม มีประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบันปัญหา และช่วงเวลาพัฒนาการของแหล่งท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประเภทวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เริ่มมีการจัดการท่องเที่ยวเมื่อรัฐมีโครงการนำช้างคืนถิ่น เพื่อแก้ปัญหาช้างเร่ร่อนโดยมีศูนย์คชศึกษาที่รวมเอาวิถีชีวิตของคนกับช้างมาไว้ให้นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนได้เที่ยวชม ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ชุมชนจนถึงการแสดงของช้างแสนรู้ และพัฒนาการท่องเที่ยวมาเป็นชุมชนท่องเที่ยว otop นวัตวิถี ในปัจจุบัน แหล่งท่องเที่ยวประเภทชุมชนโบราณ ปราสาทภูมิโปน เป็นปราสาทหินที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนชุมชนโบราณแห่งนี้ พัฒนาการของแหล่งท่องเที่ยวเกิดจากการสนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยการจัดงาน “ประเพณีสืบสานตำนานปราสาทภูมิโปน” ผ่านการแสดงแสง สี เสียง “ตำนานเนียงด็อฮ ธม” ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 และกลายเป็นงานประจำปีของชุมชนโบราณแห่งนี้ ซึ่งจะจัดขึ้นช่วงเดือนเมษายนของทุกปี แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประเภทศาสนาสถาน มีความแตกต่างด้านพัฒนาการของแหล่งท่องเที่ยวจากแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประเภทอื่นๆเพราะการท่องเที่ยวเกิดจากการที่นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางมาทำบุญ ปฏิบัติธรรมและเที่ยวความงามของธรรมชาติ โดยทางวัดมีการจัดกิจกรรมและศาสนาสถานเพื่อดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมสถานที่แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี โดยไม่มีหน่วยงานใดมาสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวประเภทประเพณี และวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเกิดจากการที่ชุมชนต้องการนำเสนอทรัพยากร และภูมิปัญญาที่มีในท้องถิ่นมาเป็นจุดเด่นและสร้างเป็นเอกลักษณ์ให้นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนได้เที่ยวชม ด้านการปรับตัวของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ พบว่า การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนากระบวนการนั้น ต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ทุกส่วนเข้ามามีบทบาทในการจัดการ คือ มีส่วนร่วมในการคิดการวางแผน การปฏิบัติ การรับประโยชน์ และการประเมินร่วมกันอย่างน้อยก็ต้องมีส่วนรับรู้และยอมรับในการปฏิบัติของทุกฝ่ายเป็นอย่างดี
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1379
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59012160004.pdf13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.