Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/138
Title: Lullaby of The Mon  Ethnic Group in Kanchanaburi and Ratchaburi
เพลงกล่อมลูก ของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ ในจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี
Authors: Pranrapee Boonplian
พรรณระพี  บุญเปลี่ยน
Khomgrit Karin
คมกริช การินทร์
Mahasarakham University. College of Music
Keywords: ดีตลักษณ์
เพลงกล่อมลูก
ชาติพันธ์ุมอญ
Form
Lullaby
Mon Ethnic
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to 1) investigate the cultural context of Mon Ethnic group; 2) examine the musical form of the Mon ethnic group; and 3) explore guidelines for preservation and transmission of lullaby of the Mon ethnic group using Ethnomusicology research principle. The interview, observation, and record forms were administered to collect data and presented as analytical description. Research results revealed the followings. 1. The cultural context of Mon Ethnic group was found to migrate into Thailand with the cultures related to religion, language, belief, tradition, plays, dresses, and residence. With changing situations, Mon Ethnic group has experienced a cultural exchange and transfer of Thai culture which infiltrated into their way of living that eventually became assimilated with Thai culture. However, Mon ethnic group in Kanchanaburi and Ratchaburi continue to preserve their roots of cultural context. 2. The analysis of musical forms of lullaby of the Mon ethnic group in 5 songs; 3 of Kanchanaburi and 2 of Ratchaburi suggested that each song provided the contents about the livings, parental love, and threat. The form of singing is without certain rhythm but free by the singer. Every song has sound stress and the melody is unique. 3. Preservation and continuance of lullaby of the Mon ethnic group suggested that the current change of social condition and civilization increasingly approaching into Mon community had brought about the changed value of living among the Mon and that impacted on lullaby of the Mon ethnic group to inevitably reduced roles in child raising as in the past with the current changed social value. Hence, the lullaby of Mon ethnic group exist specifically in older people while the new generation of younger ages do not appreciate the value and significance of lullaby. In this light, lullaby might certainly vanish with older people from Mon community. If the Mon’s lullaby is not well preserved and continued, it probably disappears from the society.
งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาบริบททางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ  2) ศึกษาวิเคราะห์คีตลักษณ์ของเพลงกล่อมลูกกลุ่มชาติพันธุ์มอญ 3) ศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์และสืบทอดเพลงกล่อมลูกของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ โดยใช้หลักการวิจัยทางมานุษยดุริยางควิทยา ใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบบันทึกในการเก็บข้อมูล และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. บริบททางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับนำวัฒนธรรมด้าน ศาสนา ภาษา ความเชื่อ ประเพณีการละเล่น การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย และดนตรี เข้ามาด้วย แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง กลุ่มชาติพันธุ์มอญก็ได้รับแลกเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมของไทย เข้ามา และแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ ในที่สุดก็กลายกลืนไปกับวัฒนธรรมไทย แต่อย่างไรก็ดีกลุ่มชาติพันธุ์มอญ ในจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี ยังคงรักษารากเหง้าบริบททางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ ให้คงอยู่ต่อไป 2. การวิเคราะห์คีตลักษณ์เพลงกล่อมลูกกลุ่มชาติพันธุ์มอญ มีจำนวน 5 เพลง จากจังหวัดกาญจนบุรี 3 เพลง และจังหวัดราชบุรี 2 เพลง ซึ่งแต่ละเพลงมีเนื้อหาของเพลงกล่าวถึงการใช้ชีวิต, ความรักของพ่อแม่, การขู่เพื่อให้เกิดความกลัว ลักษณะการร้องแบบไม่มีจังหวะที่แน่นอน เป็นจังหวะอิสระของผู้ขับร้อง ทุกเพลงจะมีการเน้นเสียงหนักเบา ทำนองเพลงมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว 3. การอนุรักษ์และการสืบทอด เพลงกล่อมลูกกลุ่มชาติพันธุ์มอญ จากสภาพสังคมปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลง  และเมื่อความเจริญยิ่งเข้ามาสู่ชุมชนมอญ ทำให้มีค่านิยมในการดำรงชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป และเมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงจึงส่งผลให้เพลงกล่อมลูกกลุ่มชาติพันธุ์มอญ ที่เคยมีบทบาทหน้าที่ในการเลี้ยงดูลูกในอดีต ต้องลดบทบาทหน้าที่ลงตามค่านิยมของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการคงอยู่ของเพลงกล่อมลูกกลุ่มชาติพันธุ์มอญ นั้นจึงยังคงอยู่เฉพาะกับผู้สูงอายุ ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่เห็นคุณค่า และความสำคัญของเพลงกล่อมลูก ดังนั้นเพลงกล่อมลูกก็คงเลือนหายไปจากชุมชนมอญพร้อมๆกับสังขารของผู้สูงอายุเป็นอย่างแน่นอน แต่ถ้าไม่มีการอนุรักษ์และสืบทอดเพลงกล่อมลูกกลุ่มชาติพันธุ์มอญ อาจจะสูญหายไปจากสังคมเป็นได้
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/138
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56012061002.pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.