Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1384
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Konkanok Kaeokoed | en |
dc.contributor | กรกนก แก้วเกิด | th |
dc.contributor.advisor | Metta Sirisuk | en |
dc.contributor.advisor | เมตตา ศิริสุข | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science | en |
dc.date.accessioned | 2021-10-05T16:07:18Z | - |
dc.date.available | 2021-10-05T16:07:18Z | - |
dc.date.issued | 13/5/2021 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1384 | - |
dc.description | Master of Arts (M.A.) | en |
dc.description | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) | th |
dc.description.abstract | Research project of “Mhai Tai Thoon Ruean” : Resurrection and invention of traditional Thai-Khmer community's textile art in Surin Province. It is qualitative research which the main objectives are; studying the identity of local textile art in Thai-Khmer community in Surin province. Studying of resurrection and invention of Mhai Tai Thoon Ruean, local textile art identity of Thai-Khmer community. Case study regarding the textile "Mhai Tai Thoon Ruean" of Baan Ta Rod community, Sawai Sub-District, Mueang District, Surin Province. Studying of local textile according to local tradition creating from resurrection and invention of the identity of local textile art in Thai-Khmer community in Surin province lead to synthesis and providing guideline to inherit and preserve the suitable identity of local textile art in Thai-Khmer community in Surin Province using the traditional invention concept of Eric Hobsbawm and the traditional identity concept which demonstrating local textile art that has been used in all ages from birth till death in folk custom through the qualitative research with in-depth interview data collection, participant observation and non- participant observation of local textile. Research result indicated that the identity of textile art pattern was developed and modified its pattern according to social influence and self-influence harmonizing with similar culture. Similarity and distinction were communicated through the textile art pattern until becoming textile art identity which was divided into 5 major groups which are: (1) Geometric pattern (2) Natural pattern (3) Utensil pattern (4) Religious pattern and (5) Ideal imaginary pattern. The textile art identity has established community awareness to realize the significance of their textile art. The main factors that have influenced in modification on the identity of local textile art in Baan Ta Rod Thai-Khmer community are (1) History of the community (2) Education (3) Occupation (4) Homestay business (5) Government involvement/Outsiders and Tourism on how to make silk (6) Number of old people and (7) Identity inheritance. The combination of local textile art identity was established in relevant to social situation which was divided into 3 levels as follows (1) Community level (2) Local community level (3) Government community level. The new textile art identity of Baan Ta Rod community consists of 3 dimensions which are (1) Dimension of belief (2) Dimension of moral (3) Dimension of conservation inheritance in traditional invention through Khuen Khao Sawai tradition and Sand Doen Ta tradition. These traditions have played an important part in the apprehension of local textile phenomenon which has affected the society in both community level and provincial level. Traditional invention was involved in local festival in 2016 onwards. It is the new traditional invention which was related essentially to local textile. This research project was to present the beauty of textile art pattern that represent the weaver's spirit which has reflection on human relations and modern folk custom. It is phenomenon that pass through local community and tradition which would expand knowledge of textile identity and traditional invention for those who are interested. | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง“ไหมใต้ถุนเรือน” : การรื้อฟื้นและประดิษฐ์ศิลปะผ้าทอพื้นบ้านในชุมชนเขมรถิ่นไทยจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอพื้นบ้านในชุมชนเขมรถิ่นไทยจังหวัดสุรินทร์ ศึกษาการรื้อฟื้นและประดิษฐ์อัตลักษณ์ศิลปะไหมใต้ถุนเรือนผ้าทอพื้นบ้านเขมรถิ่นไทย กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหมใต้ถุนเรือนชุมชนบ้านตารอด ตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ศึกษาผ้าทอพื้นบ้านในบริบทประเพณีท้องถิ่นที่เกิดจากการรื้อฟื้นและประดิษฐ์อัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอของคนในชุมชนเขมรถิ่นไทยจังหวัดสุรินทร์ เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์และเสนอแนวทางในการสืบทอดและการธำรงรักษาอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอพื้นบ้านที่เหมาะสมกับชุมชนเขมรถิ่นไทยในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้แนวคิดประเพณีประดิษฐ์ของ อีริค ฮอบส์บอว์ม และแนวคิดอัตลักษณ์วัฒนธรรม นำเสนอศิลปะผ้าทอพื้นบ้านที่ถูกใช้ในทุกช่วงวัย ตั้งแต่เกิดจนตายและในงานประเพณีท้องถิ่น ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพ และเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมของการใช้ผ้าทอพื้นบ้าน ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของลวดลายศิลปะผ้าทอได้ถูกพัฒนารูปแบบเพื่อเคลื่อนตำแหน่งของลวดลายศิลปะผ้าทอพื้นบ้าน โดยอิทธิพลจากสังคมและอิทธิพลของตัวเองที่ลื่นไหลไปตามวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน โดยอาศัยความเหมือน และความต่างกันสื่อสารผ่านลวดลายศิลปะผ้าทอที่เป็นภาพตัวแทน จนกลายเป็นอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอ สามารถจำแนกโดยใช้ลวดลายเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทได้ 5 กลุ่มใหญ่คือ (1) ลายเรขาคณิต และ (2) ลายธรรมชาติ (3) ลายเครื่องใช้ (4) ลายจากศาสนา (5) ลายจินตนาการในอุดมคติ ซึ่งอัตลักษณ์นี้ส่งผลให้คนในชุมชนเกิดกระบวนการสำนึกร่วมกัน และเห็นความสำคัญของลวดลายศิลปะผ้าทอของตนเอง ดังนั้นคนในชุมชนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการสร้าง อนุรักษ์ รักษา และปรับเปลี่ยนความเป็นอัตลักษณ์ของศิลปะผ้าทอพื้นบ้านของชุมชนตนเองได้ ปัจจัยหลักๆ ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอพื้นบ้านเขมรถิ่นไทยชุมชนบ้านตารอดมี 7 ปัจจัย ได้แก่ (1) ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชน (2) การศึกษา (3) การประกอบอาชีพ (4) การทำธุรกิจบ้านเช่าโฮมสเตย์ (5) การเข้ามาปะทะของภาครัฐ/คนนอกและกระแสการท่องเที่ยวดูไหม (6) จำนวนของคนรุ่นเก่า และ(7) การสืบทอดอัตลักษณ์ การประกอบสร้างอัตลักษณ์ผ้าทอพื้นบ้านก่อตัวขึ้นโดยความสัมพันธ์กับสถานการณ์ทางสังคม แบ่งระดับการเคลื่อนไหวออกเป็น 3 ระดับคือ (1) ระดับชุมชน (2) ระดับชุมชนท้องถิ่น (3) ระดับชุมชนของหน่วยงานรัฐ สำหรับอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอพื้นบ้านแบบใหม่ของชุมชนบ้านตารอด มีการประกอบสร้างอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอพื้นบ้านอยู่ 3 มิติได้แก่ (1) มิติที่สัมพันธ์ด้านความเชื่อ (2) มิติที่สัมพันธ์ด้านคุณธรรม (3) มิติที่สัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์สืบทอด ในด้านประเพณีประดิษฐ์ ผ่านงานประเพณีขึ้นเขาสวายและประเพณีแซนโฎนตา ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เข้าใจปรากฏการณ์ของผ้าทอพื้นบ้านที่มีบทบาทต่อสังคมที่เกิดขึ้นทั้งในระดับชุมชน และในระดับจังหวัด ว่าแนวคิดประเพณีประดิษฐ์ สามารถอธิบายปรากฏการณ์ในงานประเพณีท้องถิ่นที่เกิดขึ้นช่วงปี พ.ศ.2559 เป็นต้นมา เป็นการประดิษฐ์ประเพณีที่ได้ประกอบสร้างกิจกรรมขึ้นมาใหม่ โดยมีผ้าไหมซึ่งมีชื่อเสียงของจังหวัดเข้าไปเกี่ยวข้องผ่านระบบความเชื่อ สะท้อนความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผ้าทอพื้นบ้านอย่างขาดกันมิได้ งานวิจัยนี้ต้องการเสนอว่าการนำผ้าทอที่มีลวดลายทางศิลปะอันสวยงามแฝงไปด้วยจิตวิญญาณของช่างทอสามารถสะท้อนปฏิบัติการและความสัมพันธ์ของผู้คน ชุมชนบริบทประเพณีท้องถิ่นสมัยใหม่ได้ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านพื้นที่ของชุมชนและประเพณีอันจะเป็นการขยายความรู้เรื่องอัตลักษณ์และประเพณีประดิษฐ์ให้กว้างออกไปและก่อให้เกิดคุณูปการทางการศึกษาต่อไปสำหรับผู้สนใจในประเด็นเหล่านี้ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | ศิลปะผ้าทอ | th |
dc.subject | ชุมชนเขมรถิ่นไทย | th |
dc.subject | ประเพณีประดิษฐ์ | th |
dc.subject | ผ้าทอพื้นบ้าน | th |
dc.subject | ผ้าไหมใต้ถุนเรือน | th |
dc.subject | Textile art | en |
dc.subject | Thai khmer | en |
dc.subject | The Invention of tradition | en |
dc.subject | local textile | en |
dc.subject | Mai Tai Tun Reuan Textile | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | “Mai Tai Tun Reuan” : Re-Invention of tradition Thai Khmer Art textile Surin Province | en |
dc.title | "ไหมใต้ถุนเรือน" : การรื้อฟื้นและประดิษฐ์ประเพณีศิลปะผ้าทอพื้นบ้านในชุมชนเขมรถิ่นไทยจังหวัดสุรินทร์ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61010651001.pdf | 23.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.