Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1389
Title: | Phi Ta Khon tradition: pattern of inheriting wisdom Cultural aspects of Thailand – Laos ประเพณีผีตาโขน : รูปแบบการสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสองแผ่นดินไทย-ลาว |
Authors: | Pornpitak Maensiri พรพิทักษ์ แม้นศิริ Sastra Laoakka ศาสตรา เหล่าอรรคะ Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Keywords: | ผีตาโขน รูปแบบการสืบสาน การสืบสาน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สองแผ่นดิน Phi Ta Khon Pattern of Inheriting Inheriting Cultural wisdom Two lands |
Issue Date: | 30 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aims to study the history of Phi Ta Khon tradition, the cultural wisdom of Thailand – Laos, to identify the inheritance of the wisdom of Phi Ta Khon tradition, and to examine the pattern of inheriting the cultural wisdom by using the Qualitative Research method. The researcher collected data in the area like an insider to study the environment and the phenomenon with the intention to reach the in-depth data about history, background, inheritance, and the pattern of inheriting the cultural wisdom. The instruments comprise surveys, observations, interviews, focus groups, and a workshop with three sample groups of 180 participants which are 1) knowledgeable people, 2) practitioners, and 3) general public, by using the triangulation method. The researcher gathered Qualitative Data and used Inductive Analysis to reach the study purpose through the Descriptive Research design.
The study found that Phi Ta Khon is a festival in the Boon Luang festival of Dan Sai district, Loei province. Some called Phi Ta Khon ‘Phi Tam Kon’ and Phi Ta Kon. The festival takes place between the seventh to the eighth month of the traditional festival merit of the Heat Twelve. The villagers in the Dan Sai district believed that Phi Ta Khon is a festival to pay respect to gods and ancestors to bring either abundance or disaster to the town. On the other hand, Phi Khon Muang Pak Lai in Laos has no clear records of its history but only myth. The festival has officially been revived since 2018 when Laos’ government established the tourism year. Phi Ta Khon, selected to join the annual festival of Chaiyaburi, has become an important cultural symbol of Muang Pak Lai.
In the aspect of inheriting the cultural wisdom, both Thailand and Laos believe in spirituality, the god and ancestors, and Buddhism belief in karma, as a result, Phi Ta Khon is held annually. The study found that there have been social and economic initiatives to expand Phi Ta Khon into tourism and the local economy. There was a clear evidence in Thailand, that Phi Ta Khon has been pushed to be the primal local celebration and eventually became the provincial and national major event targeting international cultural tourism market. As well as Loas, Phi Ta Khon in Thailand was supported by the government and authorities. The forgotten festival has come back to life and has become a cultural symbol for tourism purposes. As a result, it could be implied that both Thailand and Laos had similar aspects of inheriting Phi Ta Khon.
In the aspect of the pattern of inheriting the cultural wisdom in Thailand and Laos, the researcher analyzed from relevant contexts such as time, place, people, materials, devices, algorithms, and purposes. The study found that both countries have preserved the original pattern of Phi Ta Khon with Buddhism and local spiritual beliefs such as the Invocation of Pra Upakut ceremony, the Bai - Si (Summoning of Spirits) Ceremony at Chao Pho Kuan’s House, the Welcoming Ceremony of the Vessantara Jataka returns, the Mahachat Sermon, etc. Moreover, in the pattern of applied and rebuilt, the study found that the social condition in the digital age where news is communicated quickly, and the government policy to preserve the local festival affected the inhertance of Phi Ta Khon. It resulted in a change of form in both countries. The researcher also found that the form of the parade that focuses on the local productivity, the color of the opening ceremony, and other attracting activities within the festival such as the International Mask Contest, the live broadcasting, the fair, shows, and more.
The Phi Ta Khon tradition: patterns of inheriting cultural wisdom aspects of Thailand – Laos reflected the history of Phi Ta Khon, the symbol of cultural wisdom which was inherited in various forms by promotions, conservations, restorations, and business expansions with collaborations from communities and societies aiming to make Phi Ta Khon the inheritance of Cultural wisdom of the two lands, Thailand – Laos. การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีผีตาโขนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสองแผ่นดินไทย-ลาว เพื่อศึกษาการสืบสานประเพณีผีตาโขนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสองแผ่นดินไทย-ลาว และเพื่อศึกษารูปแบบการสืบสานประเพณีผีตาโขนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผีตาโขนสองแผ่นดินไทย-ลาว โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติและความเป็นมา การสืบสาน และรูปแบบการสืบสานประเพณีผีตาโขนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสองแผ่นดินไทย-ลาว ด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยทั้ง 4 แบบคือ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้ง 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติและกลุ่มบุคคลผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 180 คน ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) วิเคราะห์ผลแบบอุปนัย นำตอบความมุ่งหมายการวิจัยและนําเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Research) ผลการวิจัยพบว่า ด้านประวัติความเป็นมา ผีตาโขน เป็นคำที่เรียกชื่อการละเล่นชนิดหนึ่งในประเพณีบุญหลวงของชาวด่านซ้าย จังหวัดเลย บ้างเรียกผีตามคนและผีตาขน ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างบุญเดือนเจ็ดหรือเดือนแปด ตามฮีตสิบสองชาวอำเภอด่านซ้ายซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการละเล่นเพื่อบวงสรวงบูชาดวงวิญญาณบรรพชนที่เสียชีวิตไปแล้ว เล่นเพื่อถวายดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจในการปกครองสูงสุดในเมืองด่านซ้าย ส่วนผีโขนเมืองปากลาย สปป.ลาว พบว่าเป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา เป็นตำนานของท้องถิ่นที่คนเมืองปากลายถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่เล็กจนใหญ่ และกลับมาฟื้นฟูอย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2561 ที่ สปป.ลาวกำหนดให้เป็นปีการท่องเที่ยวลาว ซึ่งผีโขนถูกคัดเลือกให้นำไปร่วมงานประจำปีของแขวงไชยะบูลี สปป.ลาว ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเมืองปากลาย ด้านการสืบสานประเพณีผีตาโขนนั้น ทั้งคนไทยและลาวต่างเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติ ความเชื่อเกี่ยวกับผีและดวงวิญญาณของเจ้านายและบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว และเชื่อในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว การปฏิบัติตามความเชื่อดังกล่าว จึงนับเป็นการสืบสานให้มีงานประเพณีผีตาโขนและงานเทศกาลบุญผีโขนสืบต่อกันมาให้ลูกให้หลานในชุมชนได้ถือปฏิบัติจากรุ่นสู่รุ่น จากการศึกษาวิจัยยังพบว่ามีการสืบสานตามบริบททางเศรษฐกิจและสังคมไทย-ลาว เพื่อหวังผลจากการนำผีตาโขนไปต่อยอดจากภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สู่ระบบธุรกิจที่ติดตามมา เกิดการกระจายรายได้ในชุมชนและรายได้เข้าสู่ประเทศ ที่ชัดเจนคือประเพณีผีตาโขนไทยที่มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นกิจกรรมสำคัญของท้องถิ่น กิจกรรมสำคัญของจังหวัดและระดับชาติในที่สุด รวมถึงความพยายามในการเปิดตลาดทางวัฒนธรรมนำธุรกิจเข้าสู่ระดับนานาชาติอีกด้วย ส่วนผีโขนลาวได้รับการสืบสานจากภาครัฐโดยตรงในการนำผีโขนที่ถูกลืมไปแล้วกลับมาปัดฝุ่นใหม่ให้ผู้คนได้รู้จักมากขึ้นผ่านปีการท่องเที่ยวลาวโดยการยกระดับให้เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางวัฒนธรรมของชาติ บทบาทของการสืบสานโดยภาครัฐที่เกิดจากหน่วยงานต่างๆ และเกิดจากบุคคลผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัยที่ผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดความสนใจ จึงนับเป็นการสืบสานประเพณีผีตาโขนตามแนวนโยบายของรัฐทั้งรัฐไทยและรัฐลาวลักษณะใกล้เคียงกัน ด้านรูปแบบการสืบสานประเพณีผีตาโขนนั้น เมื่อวิเคราะห์จากบริบทที่เกี่ยวข้องเช่น เวลา สถานที่ บุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ขั้นตอน วิธีการ และความมุ่งหมาย พบว่าทั้งสองประเทศมีการสืบสานโดยรูปแบบการอนุรักษ์ตามแนวทางดั้งเดิม ผ่านคติความเชื่อในเรื่องปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ และความเชื่อทางพระพุทธศาสนา เช่น พิธีเบิกพระอุปคุตและพิธีบายศรีเจ้าพ่อกวน รวมถึงการสืบสานกิจกรรมอื่นๆ เช่นการอัญเชิญพระเวสเข้าเมือง และการเทศมหาชาติ เป็นต้น และมีการสืบสานโดยรูปแบบการประยุกต์และสร้างใหม่พบว่า สภาพทางสังคมในยุคดิจิทัลที่ข่าวสารส่งถึงกันอย่างรวดเร็ว และแนวนโยบายแห่งรัฐที่ต่างต้องการสืบสาน ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น ล้วนส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบของงานประเพณีผีตาโขนทั้งไทยและลาว เห็นได้รูปแบบของขบวนแห่ที่มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ของดีของเมือง และพิธีเปิดงานที่ต่างมีสีสัน เรียกร้องความสนใจ หรือจากกิจกรรมสำคัญภายในงาน เช่น การประกวดหน้ากากนานาชาติ และการถ่ายทอดสดผ่านสื่อและการจัดกิจกรรมการออกร้าน การแสดงและอื่นๆ กล่าวได้ว่าการศึกษาวิจัย ประเพณีผีตาโขน รูปแบบการสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสองแผ่นดินไทย-ลาว สะท้อนให้เห็นประวัติความเป็นมาของผีตาโขน อันเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่ถูกนำไปสืบสานในรูปแบบต่างๆ ทั้งการส่งเสริม การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการต่อยอดในเชิงธุรกิจ โดยเป็นความร่วมมือกันของคนในชุมชนและสังคม เพื่อให้ผีตาโขนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสองแผ่นดินไทย-ลาว สืบต่อไป. |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1389 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61012160004.pdf | 15.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.