Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1392
Title: Invented tradition and cultural resource management of  Buriram volcano  festival in Buriram Province
ประเพณีประดิษฐ์กับการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม  ในงานเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์              
Authors: Attapon Chanseelamai
อรรถพล จันทร์ศรีละมัย
Pattamawadee Chansuwan
ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: ประเพณีประดิษฐ์
ทรัพยากรวัฒนธรรม
การจัดการ
เทศกาลภูเขาไฟ
Buriram volcano festival
invented tradition
cultural resource management
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:           The research of invented tradition and cultural resource management in the Buriram Volcano Festival, Mueang Buriram district, Buriram province. The purpose of this study were; to examine the history of the Buriram Volcano Festival, Mueang Buriram district, Buriram province. To investigate the proceedings of the Buriram Volcano Festival, Mueang Buriram district, Buriram province. The last, to study managing the local cultural resources of the Buriram Volcano Festival, Mueang Buriram district, Buriram province. This research was qualitative research by means of investigating from documentary, research and field studies. The purposive sampling was an in-depth interview with the population. The sample was selected from the five experts, twenty five performers and twenty general people. The research instruments were survey form, non-participant observation form, structured interview and unstructured interview. The researchers were presented this study by using  descriptive analysis system.           The results revealed that the history of the Buriram Volcano Festival was held in December. The event has been held for only two years since 2017 and 2018. It was very well received from tourists and workers. The event was organized for the following year but in 2019 the committee was postponed because they had been prepared for the MOTO GP THAILAND 2020 event of Chang International Circuit,the world's largest flat-track bicycle race in April 2020 and had been postponed again since being affected by the pandemic situation of COVID-19. So, the Buriram Volcano Festival was unable to organize this year. The process of invented tradition and cultural resource management in the Buriram Volcano Festival, Mueang Buriram district, Buriram province. The results showed the composition regarding management, concept of using local resources and including the activities in the event that was revived and created for responding to modern society. In addition, it was inducted to be a festival to serve society in several areas such as tourism, economy and education. So, it was made people in communities had the activities to do together. On the other hand, the people realized using local resources and conservation together. The management of local cultural resources in the Buriram Volcano Festival turned out that the past stories were adjusted and invented to be in the globalization era, modern and quickly accessible. It had cultural resource managing plans by considering six major factors. Moreover, it took tangible cultural resources and intangible cultural resources to present and convey which was completely perfect.           To summarize all of invented tradition and cultural resource management in the Buriram Volcano Festival. It appeals that the development of the event that this invented tradition was created to reflect the tourism image changing according to the globalization era as well as being a machinisme to drive an economy by tourism industry. And found that, the cultural selling point was presented the novelty and differently from the old image and brought to perform in new way by choosing a part of the past stories to adaptation and creation suitable in globalization era such as brought disappear the literature cultural resources named ‘Pachit-Oraphim’ to become in the performing which be able to set up a role model the local resources management.
          การวิจัยเรื่องประเพณีประดิษฐ์กับการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม ในงานเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของงานเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  ศึกษากระบวนการสร้างประเพณีประดิษฐ์ในงานเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์ และศึกษาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมท้องถิ่นในงานเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยและข้อมูลภาคสนาม โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจงด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชากรกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้รู้ 5 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 25 คน กลุ่มประชาชนทั่วไป 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสำรวจ แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง  และนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์           ผลการศึกษา พบว่า ความเป็นมาของงานเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์  เป็นกิจกรรมที่ทางจังหวัดบุรีรัมย์ได้จัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม มีการเริ่มจัดงานได้เพียงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยปี พ.ศ.2560  และปี พ.ศ.2561 ได้เสียงตอบรับที่ดีมากจากนักท่องเที่ยวและมีการเตรียมจัดดำเนินงานต่อเนื่องในปีถัดไป แต่ในปีพ.ศ. 2562 นั้นได้เลื่อนการจัดงานเพื่อให้ไปรองรับกิจกรรมการแข่งขันMOTO GP THAILAND 2020 ของสนาม Chang International Circuit ซึ่งเป็นการแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลกรุ่นใหญ่ที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 และต้องเลื่อนการจัดงานอีกครั้ง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดกิจกรรมเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์ได้ กระบวนการสร้างประเพณีประดิษฐ์ในงานเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า มีองค์ประกอบคือ การจัดงานและแผนผังการจัดงาน แนวคิดการสร้าง การใช้ทรัพยากรวัฒนธรรมในการประดิษฐ์สร้าง รูปแบบงาน กิจกรรมภายในงาน ซึ่งเป็นการรื้อฟื้น สร้างสรรค์เพื่อตอบสนองต่อสังคมสมัยใหม่ นำมาประกอบสร้างเป็นเทศกาลคอยรับใช้สังคมทั้งทางด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจรวมถึงการศึกษา ทำให้คนในชุมชนสังคมมีกิจกรรมทำร่วมกัน รวมถึงตระหนักถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ  ให้คนในท้องถิ่นได้ร่วมกันอนุรักษ์ หวงแหนและรักษาและการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมท้องถิ่นในงานเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์ พบว่าเป็นการหยิบยกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตมาปรับเปลี่ยนและสร้างสรรค์วัฒนธรรมให้เข้ากับยุคกระแสโลกาภิวัตน์ ทันสมัยและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว มีการวางแผนวิธีการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมโดยคำนึง 6 ปัจจัยหลัก และนำทรัพยากรวัฒนธรรมที่จับต้องได้และทรัพยากรวัฒนธรรมที่จับต้อง ไม่ได้มานำเสนอและสื่อความหมาย ทำให้รูปแบบของงานมีความสมบูรณ์และน่าท่องเที่ยว            โดยสรุป ประเพณีประดิษฐ์กับการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม ในงานเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์อำเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้เห็นการพัฒนาของงานเทศกาลซึ่งประเพณีประดิษฐ์ถูกผลิตขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการท่องเที่ยวให้ทันต่อสภาพโลกาภิวัตน์ ตลอดจนเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยว ค้นพบว่าจุดขายทางวัฒนธรรมเป็นการนำเสนอภาพที่มีความแปลกใหม่และแตกต่างจากเดิม และถูกนำมาปรับใช้ในบริบทใหม่ เป็นการหยิบยกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตมาปรับเปลี่ยนและสร้างสรรค์วัฒนธรรมให้เข้ากับยุคกระแสโลกาภิวัตน์ เช่น การนำทรัพยากรด้านวรรณกรรมมาเป็นต้นทุนทางทรัพยากรวัฒนธรรม เรื่องปาจิต อรพิม ที่กำลังสูญหายให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยผ่านการแสดง แสง สี เสียง จึงสามารถนำมาเป็นต้นแบบการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมท้องถิ่นได้
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1392
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61012180014.pdf15.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.