Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1408
Title: Innovators Strategies for the Development of Secondary School Teachers under the Office of the Basic Education Commission
กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Koson Pusri
โกศล ภูศรี
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: กลยุทธ์
การพัฒนา
นวัตกร
Strategies
Development
Innovators
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research objectives were to 1) study the components and indicators of secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission 2) to investigate existing situation and desirable situation of Secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission 3) to develop strategies for developing secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission, and 4) to study the results of implementing the developed strategies for developing secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission. This research and development study employed 4 phases. The first phase was the study of the components and indicators of Secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission, 9 experts verified and confirmed the results by using purposive sampling. The sampling group were 340 school principals and teachers under the Office of the Basic Education Commission collected by multi-stage random sampling. The second phase was the study of the existing situation and desirable situation of Secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission. The sampling  group were 540 school principals and teachers under the Office of the Basic Education Commission collected by multi-stage random sampling. The third phase was the development of strategies for developing secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission evaluated from 8 experts using purposive sampling. And the fourth phase was the study for the results of the implementation of the developed strategies for developing secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission. The sampling group were 540 principals and teachers under the Office of the Basic Education Commission acquired by voluntarily participating in the development. The research tools were suitability assessment form, development questionnaire, suitability and feasibility assessment form, cognitive test and Skills Assessment and Satisfaction Questionnaire. Analyzing statistics were mean, standard deviation, second order Confirmatory Factor Analysis, Priority Needs Index (PNImodified), Conclusion and Test Data Analysis and Dependent Samples t-test. The results were as follows: 1. The components and indicators of secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission consists of 5 components and 28 indicators, including 1) Initiative skills with 5 Indicators 2) Questioning skills with 6 Indicators 3) Observation skills with 6 indicators 4) Experimental skills with 6 indicators and 5) Networking skills with 5 Indicators. The suitability of the elements and indicators is at the highest level and this model is according to empirical data. 2. The present condition of secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission as a whole is at medium level. The desirable condition is at the highest level and the issue with the highest need was questioning skills. 3. The strategies for developing secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission consists of 5 main strategies 10 minor strategies 40 action Methods. And 5 main strategies were 1) Develop teachers for innovator with a focus on questioning skills 2) Develop teachers for innovation with a focus on initiative skills 3) Develop teachers for innovators with a focus on observation skills 4) Develop teachers for innovators with a focus on experimental skills. and 5) Developing teachers for innovation with a focus on networking skills and The strategy is suitable at the highest level and the possibilities at the high level. 4. The implementation results of developed strategies for developing secondary school teacher's innovator skills under the Office of the Basic Education Commission, it is found that the level after development is higher than before development with statistical significance of .05 and the teacher's overall innovator skills were at a high level. The teachers were satisfied with the overall strategies at the highest level and the strategies achieves the objectives.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) ศึกษาผลการนำกลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 340 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 540 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 3 พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 4 ศึกษาผลการนำกลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 540 คน ได้มาโดยการสมัครใจเข้าร่วมการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม แบบสอบถามเพื่อการพัฒนา แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ดัชนีความต้องการจำเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปและการทดสอบ t-test Dependent Samples ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 องค์ประกอบ 28 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ทักษะการคิดริเริ่ม 5 ตัวบ่งชี้ 2) ทักษะการตั้งคำถาม 6 ตัวบ่งชี้ 3) ทักษะการสังเกต 6 ตัวบ่งชี้ 4) ทักษะการทดลอง 6 ตัวบ่งชี้ 5) ทักษะการสร้างเครือข่าย 5 ตัวบ่งชี้ ความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้อยู่ในระดับมากที่สุด  และโมเดลความเป็นนวัตกรของครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  2. สภาพปัจจุบันความเป็นนวัตกรของครูภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และประเด็นที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ ทักษะการตั้งคำถาม  3. กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครู ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก 10 กลยุทธ์รอง 40 วิธีดำเนินการ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาครูเพื่อความเป็นนวัตกรโดยมุ่งเน้นทักษะการตั้งคำถาม กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาครูเพื่อความเป็นนวัตกรโดยมุ่งเน้นทักษะการคิดริเริ่ม กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาครูเพื่อความเป็นนวัตกรโดยมุ่งเน้นทักษะการสังเกต กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูเพื่อความเป็นนวัตกรโดยมุ่งเน้นทักษะการทดลอง และกลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาครูเพื่อความเป็นนวัตกรโดยมุ่งเน้นทักษะการสร้างเครือข่าย โดยกลยุทธ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก 4. ผลการนำกลยุทธ์ไปใช้ พบว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นนวัตกรของครูหลังรับการพัฒนาสูงกว่าก่อนรับการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูมีทักษะความเป็น นวัตกรภาพรวมอยู่ในระดับมาก ครูมีความพึงพอใจต่อการใช้กลยุทธ์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และกลยุทธ์บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1408
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010562002.pdf6.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.