Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1409
Title: Strategy for Development a Smart School in the Digital Age under the Office of the Basic Education Commission
กลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Chanwit Choomsri
ชาญวิทย์ ชุมศรี
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: กลยุทธ์การพัฒนา
โรงเรียนอัจฉริยะ
ยุคดิจิทัล
Strategies for Development
Smart School
Digital Age
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The re digital age search objectives were to 1) study the components and indicators of smart school in the digital age under the Office of the Basic Education Commission 2) to investigate existing situation and desirable situation of smart school in the digital age under the Office of the Basic Education Commission 3) to develop strategies for developing to become a smart school in the digital age under the Office of the Basic Education Commission, and 4) to study the results of implementing the developed strategies for developing to become a smart school in the digital age under the Office of the Basic Education Commission. This research and development study employed 4 phases. The first phase was the study of the components and indicators of smart school in the digital age, 9 experts verified and confirmed the results by using purposive sampling. The second phase was the study of the existing situation and desirable situation of smart school in the digital age, which consists of 2 episodes. The first episode was using sampling group which consists of 270 school principles, determine the sample size using Krejcie and Morgan's tables which obtained by Multi Attribute Consensus Reaching (MACR). The second episode was study environment, strengths-weaknesses, opportunities, threats–obstacles and strategies for developing to become a smart school in the digital age from 3 schools with excellent practices, the sampling group was school principles. The third phase was the development of strategies for developing to become a smart school in the digital age, which consists of 2 episodes. The first episode was draft the strategies for developing to become a smart school in the digital age. The second episode was verified and assess suitability, possibility and the usefulness of the strategies by using Multi Attribute Consensus Reaching (MACR), 8 experts verified and confirmed the results by using purposive sampling. The research tools were the questionnaire which had a confidence value of 0.98, interview form and assessment questionnaire. Analyzing statistics were mean, standard deviation, Pearson Correlations coefficient, Cronbach’s Alpha Coefficient, Confirmatory factor analysis, Multi Attribute Consensus Reaching, Modified Priority Needs Index (PNImodified) and Focus group discussion by using content analysis. The fourth phase was studying the results of implementing the developed strategies for developing to become a smart school in the digital age under the Office of the Basic Education Commission, the sampling group was 1 school with 12 volunteers. The data collection tools were pre-development and post-development test, behavioral assessment form, satisfaction questionnaire. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, percentage, and content analysis. The results were as follows: 1. The components and indicators of strategies for developing to become a smart school in the digital age under the Office of the Basic Education Commission consist of 3 components including 1) Personal 2) Management and 3) Media, Innovation and Technology. The results of the suitability assessment were at the highest level (x̅ = 4.63). This model is according to empirical data which was considered from Goodness of Fit Index (GFI) as follows : Chi2 = 214.86, df = 225, Relative Chi2 = 0.951, P-Value = 0.671, GFI = 0.91, AGFI = 0.94, RMR = 0.014 and RMSEA = 0.000. 2. The present and desirable condition of smart school in the digital age under the Office of the Basic Education Commission found that the present condition as a whole is at medium level (x̅ = 3.34), issues with the most average was Personal followed by Management and Media, Innovation and Technology respectively. The desirable condition as a whole is at high level (x̅ = 4.69), issues with the most average was Personal followed by Management and Media, Innovation and Technology respectively. 3. The strategies for developing to become a smart school in the digital age under the Office of the Basic Education Commission found that the strategies were appropriate, possible and the usefulness is at the highest level. The strategy with the highest average was 1) strategies for promoting and developing the capacity of creating modern media innovation, followed by 2) strategies for promoting and developing human potential, and 3) strategies for promoting and developing Internet systems and having appropriate media and equipment for teachers and students respectively. Assessing strategies with Multi Attribute Consensus Reaching (MACR) found that the overall assessment of the strategy's suitability was at a high level (x̅ = 4.26), the overall strategy feasibility assessment was at the highest level (x̅ = 4.58), and the overall assessment of the strategy's usefulness was at the highest level (x̅ = 4.65).  4. The implementation results of strategies for developing to become a smart school in the digital age under the Office of the Basic Education Commission found that 1) the results of the evaluation of the strategy for post-development in management has the highest average level (x̅ = 4.65), 2) the results of the evaluation of individual strategies for post - development has the highest average level (x̅ = 4.73), 3) The results of the individual strategy evaluation for post - development were at the highest average level (x̅ = 4.66), and 4) satisfaction assessment result of strategies for developing to become a smart school in the digital age under the Office of the Basic Education Commission as a whole is at the highest average level (x̅ = 4.64). In conclusion, the strategies for developing to become a smart school in the digital age under the Office of the Basic Education Commission which developed was suitable die to 1) it is a strategy developed from the needs of the school principals and the content covers all aspects, 2) there were various development methods that can be applied to the knowledge gained from the implementation of this strategies, 3) the experience obtained goes into practice. Therefore, we should encourage and support the adoption of the development strategies to become a smart school in the digital age to achieve knowledge, durable and sustainable, for developing of efficiency in school management for further effectiveness.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาผลการนำกลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ โดยใช้หลักการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอนการดำเนินการแบ่งเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล แบ่งออกเป็น 2 ตอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 270 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–Stage Random Sampling) ตอนที่ 2 ศึกษาสภาพแวดล้อม จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม-อุปสรรค กลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล จากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 3 พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ร่างกลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล ตอนที่ 2 ตรวจสอบยืนยันและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยใช้เทคนิคการหาฉันทามติแบบพหุลักษณ์ (MACR : Multi Attribute Consensus Reaching) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามประเมินฯ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การหาฉันทามติ แบบพหุลักษณ์ และการวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็นในวิธีการพัฒนา (Modified Priority Needs Index : PNImodified) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์ (Focus Group Discussion) ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ระยะที่ 4 ศึกษาผลการนำกลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัลไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1 โรงเรียน ผู้เข้าร่วมพัฒนา จำนวน 12 คน โดยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบก่อน-หลังการพัฒนา แบบประเมินพฤติกรรม แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1. องค์ประกอบของกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านบุคคล 2) ด้านบริหารจัดการ และ 3) ด้านสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.63) โดยมีค่าสถิติบ่งชี้ คือ ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 214.86 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 225 ไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ .951 ความน่าจะเป็น (P-value) เท่ากับ .671 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .91 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .94 ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ .014 และดัชนีรากที่สองของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ .000  2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.34) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านบุคคล รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการ และด้านสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี และมีสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.69) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านบุคคล รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการ และด้านสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี     3. กลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด กลยุทธ์รายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ 1) กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการสร้างสื่อ นวัตกรรมที่ทันสมัย รองลงมา คือ 2) กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านบุคคล และกลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตและมีสื่ออุปกรณ์ที่เหมาะสมกับครูและนักเรียน ตามลำดับ การประเมินกลยุทธ์ด้วยวิธีการหาฉันทามติแบบพหุลักษณะ พบว่า การประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.26) การประเมินความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.58) และการประเมินความมีประโยชน์ของกลยุทธ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.65)    4. ผลการนำกลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ ปรากฏผลหลังการพัฒนา ดังนี้ 1) ผลการประเมินกลยุทธ์ด้านบริหารจัดการหลังการพัฒนามีระดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅ = 4.65) 2) ผลการประเมินกลยุทธ์ด้านบุคคลหลังการพัฒนามีระดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅ = 4.73) และ 3) ผลการประเมินกลยุทธ์ด้านบุคคลหลังการพัฒนามีระดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅ = 4.66) และมีผลการประเมินความพึงพอใจต่อต่อการพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความพึงพอใจ อยู่ระดับมากที่สุด (x̅ = 4.64) โดยสรุป กลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นกลยุทธ์การพัฒนาจากความต้องการของผู้บริหารมีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้าน มีวิธีการพัฒนาที่หลากหลายสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการดำเนินการตามกลยุทธ์นี้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติงานจริง จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้นำกลยุทธ์การพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัลไปใช้เพื่อให้เกิดความรู้ที่คงทนและยั่งยืนในการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานโรงเรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของงานต่อไป
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1409
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010562005.pdf11.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.