Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/143
Title: Developing a Program to Strengthen Transformational Leadership of the First-Level Manager in Rajabhat University 
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Authors: Pawat Misdey
ภวัต มิสดีย์
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
โปรแกรม
ผู้บริหารระดับต้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Transformational Leadership
Program
First-Level Manager
Rajabhat University
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to: 1) investigate the elements and indicators of transformational leadership of the first-level manager in Rajabhat University; 2) explore existing situations and desirable situations of the first-level managers in Rajabhat University; and 3) develop a program to strengthen transformational leadership of the first-level manager in Rajabhat University. Mixed methods research was employed with divided into three phases. The 1st phase was investigate the elements and indicators of transformational leadership of the first-level manager by synthesizing documents and verify elements and indicators by 7 experts. The 2nd phase was explore existing situations and desirable situations of the first-level managers in Rajabhat University. The samples were 331 of program chairman of Rajabhat University obtained through multi-stage random sampling technique. The 3rd phase was develop a program to strengthen transformational leadership of the first-level manager in Rajabhat University and evaluate the program by 7 experts. Research instruments were elements and indicators suitability evaluation form, existing situations and desirable situations questionnaire, and program evaluation form. The statistical used were percentage, mean, and standard deviation. The research results were as follows: 1. There were five elements and eighteen indicators of first-level manager transformational leadership, that is: 1) having a vision, comprising 3 indicators; 2) role model, comprising 4 indicators; 3) inspirational motivation, comprising 4 indicators; 4) intellectual stimulation, comprising 3 indicators; and 5) individual consideration, comprising 4 indicators. 2. Existing situations of first-level manager transformational leadership, Rajabhat University was at high level while desirable situations was at the highest level. When each aspect was considered it was found that existing situations was at high level, except inspirational motivation aspect was at moderate level while desirable situations was at the highest level in all aspects. 3. The program strengthening first-level manager transformational leadership, Rajabhat University comprised 3 parts: 1) introduction; 2) Content divided in to 4 modules, consist of module 1: having a vision, module 2: role model and inspirational motivation, module 3: intellectual stimulation, and module 4: individual consideration; and 3) program evaluation. The results of program evaluation by experts were at the highest level in both of propriety and  feasibility.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น โดยการสังเคราะห์เอกสาร และประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัดโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นประธานสาขาวิชา จำนวน 331 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ และประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 5 ด้าน 18 ตัวบ่งชี้ คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม 3 ตัวบ่งชี้ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี 4 ตัวบ่งชี้ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ 4 ตัวบ่งชี้ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา 3 ตัวบ่งชี้ และด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4 ตัวบ่งชี้ 2. สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ อย่างในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แต่ละด้านมีสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการสร้างแรงบันดาลใจอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ทั้งนี้ด้านการสร้างแรงบันดาลใจมีความต้องการจำเป็นลำดับแรก และด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความต้องการจำเป็นลำดับสุดท้าย 3. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) บทนำ 2) เนื้อหา แบ่งเป็น 4 โมดูล ได้แก่ โมดูลที่ 1 การมีวิสัยทัศน์ร่วม โมดูลที่ 2 การเป็นแบบอย่างที่ดีและการสร้างแรงบันดาลใจ โมดูลที่ 3 การกระตุ้นการใช้ปัญญา และโมดูลที่ 4 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ 3) การประเมินผลการใช้โปรแกรม และผลการประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งด้านความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/143
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010561011.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.