Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1449
Title: The Effect of Online Individual Counseling based on Cognitive Behavior Therapy to Reduce Stress
ผลของการให้การปรึกษารายบุคคลแบบออนไลน์ตามทฤษฎีการปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดความเครียด
Authors: Khanitin Jornkokgoud
คณิติน จรโคกกรวด
Lakkana Sariwat
ลักขณา สริวัฒน์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: จิตวิทยา
การปรับพฤติกรรม
จิตบำบัด
แอปพลิเคชัน
สุขภาพจิต
อินเทอร์เน็ต
psychology
behavior modification
psychotherapy
application
mental health
internet
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:   The purposes of the current study were 1) to develop the program of individual counseling based on cognitive behavior therapy to reduce stress 2) to compare stress between pretest and posttest period of online individual counselling based on the cognitive behaviour therapy approach. The participants were recruited by using purposive sampling with higher stress—ten students studying in secondary school. They were assigned to join the program. The instruments used in this research were (1) Suanprung Stress Test-20  by the department of mental health (2) the program of Individual Counseling based on Cognitive Behavior Therapy to reduce stress with a mean of 3.51 and standard deviation at 0.56 for  the objectives, procedures, patterns and techniques (3) The mental health applications for online individual counseling with a mean at 3.51 and standard deviation at 0.56 of potential used as tools for the program. Descriptive statistics and Wilcoxon Signed Ranks test were used to describe the data and examine the differences in stress scores between pre-and post-intervention. Research findings were presented as follows: 1) the program of individual counseling based on cognitive behavior Therapy to reduce stress was composed of three periods: the first with the initial phase and secondly to clarify, understand problems and find solutions, and finaly for the ending. The program was composed of five activities: orientation, automatic thought identification, thought evaluation, cognitive restructuring and commencement though mental health application. 2) The different stress indicates that the posttest was significantly different at the 0.05 level from the pretest.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้การปรึกษารายบุคคลแบบออนไลน์ตามทฤษฎีการปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดความเครียด 2) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดกลุ่มทดลองระยะก่อนและหลังการให้การปรึกษารายบุคคลแบบออนไลน์ตามทฤษฎีการปรับความคิดและพฤติกรรม ตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่มีความเครียดระดับมากและรุนแรง จำนวน 10 คน เข้าโปรแกรมการให้การปรึกษารายบุคคลแบบออนไลน์ตามทฤษฎีการปรับความคิดและพฤติกรรม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ (1) แบบวัดความเครียดของกรมสุขภาพจิต (2) โปรแกรมการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีการปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดความเครียด ความเหมาะสมวัตถุประสงค์ ขั้นตอน รูปแบบและเทคนิคการปรึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 และ (3) แอปพลิเคชันด้านสุขภาพจิตสำหรับให้การปรึกษารายบุคคลแบบออนไลน์ ความเหมาะสมในการนำมาใช้เป็นเครื่องมือการปรึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาและ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีการปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดความเครียด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) เริ่มต้น (2) สำรวจปัญหา เข้าใจปัญหาและร่วมหาทางแก้ไขปัญหา และ (3) ยุติการให้การปรึกษา โปรแกรมฯ ประกอบไปด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ (1) ปฐมนิเทศ (2) การระบุความคิดอัตโนมัติและอารมณ์ (3) การประเมินความคิดอัตโนมัติ (4) การระบุและการปรับเปลี่ยนความเชื่อ (5) ปัจฉิมนิเทศ  โดยดำเนินกิจกรรมผ่านแอปพลิเคชันด้านสุขภาพจิต 2) ความเครียดของกลุ่มทดลองระยะก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1449
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010554001.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.