Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1463
Title: | Development of Scientific Conceptual Understanding by using 5e Learning Cycle with Concept Mapping on Acid-Base of Grade 11 Students การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนมติ เรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
Authors: | Pirapoom Singsathid พิรภูมิ สิงห์สถิตย์ Songsak Phusee - orn ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนมติ ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ 5e Learning Cycle with Concept Mapping method Scientific Conceptual Understanding |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purpose of this research was to develop scientific concepts understanding of Mathayomsuksa 5 students by 5e Learning Cycle with the Concept Mapping method, in order to achieve partial understanding or complete understanding levels. The target group is 35 students in Mathayomsuksa 5/4, Yang Talat Wittayakarn School, semester 2 of the academic year 2020. Action Research is conducted in this research which were 2 cycles. The research instruments which consisted of Chemistry learning management plan by using 5e Learning Cycle combined with 6 mind mappings method, the multiple choice test with rationale explanation containing 3 tests on acid base, the teacher's note and students interview form. The data from observations and interviews will be analyzed using a content analysis method. Data were analyzed using percentage. The research results are as follows.
The research showed that the students had scientific concepts understanding on partial understanding or complete understanding levels in the second cycle. When considering each action cycle, it was found as follows: In the first cycle, 21 students (60.00%) had scientific concepts understanding on partial understanding or complete understanding levels and 14 student (40.00%) failed the criteria.The analysis of the observation and interview results, it was found that the students still did not understand the activities and the concept mapping. , In the second cycle, all 35 students (100.00%) had scientific concepts understanding on partial understanding or complete understanding levels and no students failed the criteria. The analysis of the observation and interview results, it was found that the students had a better understanding of the activities and the concept mapping. make students have a level of higher Scientific Concept Understanding. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนมติให้อยู่ในระดับความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ หรือระดับความเข้าใจที่สมบูรณ์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวนนักเรียน 35 คน โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการ 2 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนมติ จำนวน 6 แผน แบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง กรด-เบส จำนวน 2 ชุด แบบบันทึกหลังการสอนของครู แบบสัมภาษณ์ ซึ่งข้อมูลจากการสังเกตและการสัมภาษณ์จะนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ผลการวิจัยมีดังนี้ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ คือ มีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในระดับความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ หรือระดับความเข้าใจที่สมบูรณ์ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 เมื่อพิจารณาแต่ละวงจรปฏิบัติการ พบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 จำนวนนักเรียนมีระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในระดับ ความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ หรือความเข้าใจที่สมบูรณ์ ซึ่งผ่านเกณฑ์จำนวน 21 คนคิดเป็นร้อยละ 60.00 และไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 14 คนคิดเป็นร้อยละ 40.00 จากการวิเคราะห์ผลการสังเกตและสัมภาษณ์ พบว่า นักเรียนยังไม่เข้าใจกิจกรรมและการเขียนแผนผังมโนมติ วงจรปฏิบัติการที่ 2 จำนวนนักเรียนมีระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในระดับ ความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ หรือความเข้าใจที่สมบูรณ์ จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 และไม่มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ จากการวิเคราะห์ผลการสังเกตและสัมภาษณ์ พบว่า นักเรียนมีความเข้าใจในกิจกรรมและการเขียนแผนผังมโนมติมากขึ้น ทำให้นักเรียนมีระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้น |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1463 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62010556029.pdf | 7.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.