Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1464
Title: The Development of Health Promotion Model by Recreation Activities in Elderly School
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนผู้สูงอายุ
Authors: Watanyoo Kaewsuphan
วทัญญู แก้วสุพรรณ
Arporn Popa
อาภรณ์ โพธิ์ภา
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ
กิจกรรมนันทนาการ
โรงเรียนผู้สูงอายุ
Health Promotion Model
Recreational Activities
Elderly School
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research was to study about the basic data, current conditions problems, needs and the ways for development health promotion model by recreation activities in elderly school, to design and develop the health promotion model, to examine the health promotion model, and to evaluate the health promotion model by recreation activities in elderly school. The research was designed as research and development methods. The samples in phase were divided according to each phase. Phase 1: enquired of 400 elderlies which were from multi-stage random sampling, Phase 2: 5 experts which were from purposive sampling, Phase 3: 40 elderlies which divided into 20 elderlies in control group and 20 elderlies in simple random sampling, Phase 4: evaluated the model by 5 executives elderly school, 5 community leaders, 10 teachers, 20 elderlies in elderly school. All together were 40 which from sample random sampling. The research instruments, Phase 1 was a questionnaire, reliability coefficient of the total scale was 0.92. Phase 2 was a draft of health promotion model by recreation activities in elderly school developing from the focus group. The content validity and confidence were examined, the IOC was 0.88. Phase 3 was a theoretical health test of Pender and Phase 4 was an evaluation form of the health promotion model. The content validity and confidence were examined, the IOC was 0.95. The statistics that used in this research were frequencies, percentages, mean, averages, deviation, Wilcoxon signed-ranks test, Mann-Whitney U test and Friedman test.  The research findings were as follows: In elderly school, there were more female elderlies than male elderlies which average age is 60-69 years old. The needs, understanding in recreation activities and the general physical health of the elderlies were low in average. Their mental, emotional, intellectual and social aspects were in moderate level. The components of a health promotion model by recreation activities in elderly school summarized issues from group discussions by experts, such as the name of activity, objectives, theoretical concepts, duration, method of implementation and evaluation. The results of using a health promotion model by recreation activities in elderly school for the elderlies’ physical, mental, emotional, intellectual and social health after using the model were a statistically significant difference at the level of 0.05 between the control group and the experimental group. The results of the assessment of a health promotion model by recreation activities in elderly school with a quality assessment model had included into four aspects, consisting of the utility standard, feasibility standard, propriety standard and accuracy standard which the highest level in all.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพปัญหาความต้องการ การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ การทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ และการประเมินรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ จำนวน 400 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) ระยะที่ 2 เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 3 เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และระยะที่ 4 เป็นผู้บริหารและผู้นำชุมชน กลุ่มละ 5 คน ครูในโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน และผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน รวมทั้งหมด จำนวน 40 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.924 ระยะที่ 2 เป็นร่างรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนผู้สูงอายุ ที่ได้จากการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความเที่ยงตรง มีค่า IOC เท่ากับ 0.88 ระยะที่ 3 เป็นแบบทดสอบสุขภาพตามทฤษฎีของเพนเดอร์ และระยะที่ 4 เป็นแบบประเมินการใช้รูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความเที่ยงตรง มีค่า IOC เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon signed-ranks test, Mann-Whitney U test และ Friedman test   ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 60-69 ปี ผู้สูงอายุมีความต้องการและความเข้าใจเรื่องกิจกรรมนันทนาการ และสุขภาพทั่วไปของผู้สูงอายุทางด้านร่างกาย มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ด้านจิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และสังคม มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง องค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนผู้สูงอายุ สรุปประเด็นจากการสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ชื่อกิจกรรม วัตถุประสงค์ แนวคิดทฤษฎี ระยะเวลา วิธีดำเนินกิจกรรม ประโยชน์ และการประเมินผล ผลการทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนผู้สูงอายุ สุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และสังคม หลังการใช้รูปแบบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนผู้สูงอายุ ด้วยรูปแบบประเมินคุณภาพ การประเมินภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด แยกเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1464
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010565003.pdf13.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.