Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1465
Title: The Effects of Web-Based Instruction Based on 5E Inquiry Cycle to Develop Systematic Thinking in Computing Science Subject for Students in Primary 5
ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ วิชาวิทยาการคํานวณ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Authors: Supattra Sirimuangrach
สุพัตรา ศิริเมืองราช
Thapanee Seechaliao
ฐาปนี สีเฉลียว
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์
การคิดเชิงระบบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
5E Inquiry Cycle
Web-Based Instruction
System Thinking
Learning Achievement
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to 1. develop a Web-Based Instruction based on the 5E inquiry cycle in computing science subject according to the 80/80 criterion; 2. compare the systematic thinking of the students before and after the web-based class; 3. compare the academic achievement of the students before and after participating in the web-based class; and 4. explore the satisfaction of students towards the web-based class. The population in this research was Primary 5 students from small-sized schools in Education Development Network (Group 7), Academic Year 2020, for a total of 96 students. Samples used in this research were Primary 5 students at Baan Nhong Buakaew School. Ten students were selectively chosen based on their participation in computing science subject, Academic Year 2021. Tools used in the research include 1. a website of teaching and learning according to the 5E inquiry cycle; 2. systematic thinking evaluation using 4 short-answer questions with non-specific answers, 5 points each; 3. A 4-choice test, 30 questions; 4. 4-scale satisfaction evaluation form for the web-based class, 15 questions. Statistics used in the research were percentage, mean, and standard deviation. The distribution of data was proven not to be normal using Shapiro-Wilk's method. The researchers, therefore, chose Wilcoxon Matched Pairs Signed Rank Test as a statistical test to compare the critical values and find statistical significance. The results showed that: 1. Web-based learning based on the 5E Inquiry Cycle has the academic efficiency (E1/E2) at 83.00/84.50, which meets the specified criteria. 2. Students achieved higher scores in terms of systematic thinking after the class, with a statistical significance of .05. 3. Students achieved higher scores in terms of academic achievement after the class, with a statistical significance of .05. 4. Students were satisfied with the class at the highest level, with an average of 3.68 and a standard deviation of 0.44.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น วิชาวิทยาการคำนวณ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงระบบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ฯ 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ฯ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ฯ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา 5 โรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 7 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 96 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัวแก้ว โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักเรียนที่เรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1. เว็บไซต์การจัดการเรียนการสอนตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น 2. แบบทดสอบวัดการคิดเชิงระบบ โดยใช้แบบทดสอบแบบอัตนัยไม่จำกัดคำตอบ จำนวน 4 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน 3. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4. แบบประเมินความพึงพอใจในจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ฯ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิจัยครั้งนี้มีการทดสอบการแจกแจงข้อมูลโดยใช้ Shapiro-Wilk พบว่าไม่เป็นการแจกแจงปกติ ผู้วิจัยจึงเลือกใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon matched pairs signed rank test เป็นการทดสอบสถิติที่เปรียบเทียบค่าวิกฤติ เพื่อให้ทราบค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติ   ผลวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ตามกระบวนการสืบเสาะ (5E) มีประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอน (E1/E2) เท่ากับ 83.00/84.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนมีคะแนนการคิดเชิงระบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด (x̅ = 3.68, S.D = 0.44)
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1465
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010580003.pdf8.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.