Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1466
Title: The Development of Teaching and Learning of Davie’s Practical Skills by a Blended Learning Method that Promotes Academic Achievement and Practical Skills for the Seventh Grade Students
การพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: Punyisa Meangjantuk
ปุญญิศา เมืองจันทึก
Hemmin Thanapatmeemamee
เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน
การเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์
ทักษะการปฏิบัติ
Blended Learning Management
Teaching and Learning of Davie’s Practical Skills
Practice Skills
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of the study were: 1. to develop Davies' teaching and practical skills by an effective blended learning management method according to the 80/80 criteria, 2. to determine the effectiveness of the development of teaching and learning of Davie’s practical skills by a blended learning method, 3. to compare the academic achievement of the seventh grade students who studied with Davies' development of teaching and learning, practical skills by a blended learning management method before and after class, 4. to study the practical skills of the seventh grade students who studied with Davies' development of teaching and learning, practical skills by a blended learning management method and 5.to study the satisfaction of the seventh grade students who studied with Davies' development of teaching and learning, practical skills by a blended learning management method. A sample was selected from 34 of the seventh grade students, class 1/2, Nong Sala Secondary School, Kaeng Khro District, Chaiyaphum under the Chaiyaphum Provincial Administrative Organization, academic year 2021. Selected by cluster random sampling method which using the classroom as the unit of randomization. The data collection Instruments includes: 1. the lesson of the development of teaching and learning of Davies practical skills by a blended learning management method in unit 3: the operation of creating print media, 2. six plans of the development of teaching and learning of Davie’s practical skills by a blended learning method, 3. six of practice skill tests created by the researcher which is a measure about the operational process towards the development of teaching and learning of Davie’s practical skills by a blended learning method. 4. The achievement test of the development of teaching and learning of Davies practical skills by the blended learning management method created by the researcher. It was a multiple choice, 4 choice, 30 questions, with a difficulty (p) between 0.20 – 0.60 and a power of discrimination between 0.20 – 0.60 and 5. 20 questions of the satisfaction questionnaire of the seventh grade students created by the researcher which is a rating scale based on the Likert method, with 5 levels includes: most, more, moderate, low and very low. The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation and t-test which is a statistical test that compares critical values to determine their statistical significance. The results showed that the development of teaching and learning of Davies' practical skills by the blended learning method had an efficiency of instructional management (E1/E2) equal to 84.26/85.29, which met the specified criteria. The seventh grade students studying with Davies' development teaching and learning practice skills by a blended learning management method were able to pass the skill test, passing 80% of the total number of 34 students, representing 100%. The students were satisfied with the teaching management at the highest level (x̅ = 4.63), and the effectiveness index was 0.7018, indicating that the students had a 70.18 percent increase in their learning progress.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ก่อนและหลังเรียน (4) เพื่อศึกษาทักษะการปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนมัธยมหนองศาลา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม โดยนักเรียนในห้องเรียนคละความสามารถกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) บทเรียนการพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ (2) แผนการจัดการกิจกรรมเรียนรู้การพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน จำนวน 6 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดทักษะการปฏิบัติ เป็นแบบวัดเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติงาน ที่มีต่อการพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 6 ชุด (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.20 – 0.60 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.60 และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) ตามวิธีการของลิเคิร์ท (Likert) มี 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test เป็นการทดสอบสถิติที่เปรียบเทียบค่าวิกฤติ เพื่อให้ทราบค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติผลวิจัยพบว่า การพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอน (E1/E2) เท่ากับ 84.26/85.29 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สามารถทำแบบทดสอบวัดทักษะปฏิบัติผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ทั้งหมด จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.63) และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7018 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.18
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1466
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010580005.pdf15.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.