Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1471
Title: The Study of Digital Literacy of Matthayomsuksa 3 Students under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et
การศึกษาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
Authors: Pornpitcha Lukkum
พรพิชชา หลักคำ
Lakkana Sariwat
ลักขณา สริวัฒน์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การรู้ดิจิทัล
ความฉลาดทางอารมณ์
ขนาดโรงเรียน
Digital Literacy
Emotional Quotient
Sizes of School
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to study digital literacy and emotional quotient of students under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et, 2) to compare the digital literacy of students under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et with different emotional quotient, and 3) to compare the digital literacy of students under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et with different school sizes. The sample group was 365 students under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et from 30 schools in the academic year 2020 selected by Multi-stage Sampling technique. The research instruments were digital literacy questionnaire and emotional quotient assessment form. The statistics used to analyze data were percentage, mean and standard deviation, hypotheses testing by One-way ANOVA. The research results were following: 1. Students under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et has digital literacy overall was at a high level and their emotional intelligence (EQ) was at the normal level at percentage 67.50, followed by lower than the normal level at percentage 25.24, and higher than the normal level at percentage 7.26. 2. Students under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et with different emotional quotient has different digital literacy at the statistical significance 0.05 level. 3. Students under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et from different school sizes have different digital literacy at the statistical significance 0.05 level.
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทักษะการรู้ดิจิทัลและความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ที่มีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ที่มาจากขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 365 คน จาก 30 โรงเรียน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามทักษะการรู้ดิจิทัล และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีทักษะการรู้ดิจิทัลอยู่ในระดับมาก และมีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) อยู่ในระดับปกติร้อยละ 67.50 รองลงมา อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ร้อยละ 25.24 และอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ ร้อยละ 7.26 2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ที่มีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน มีทักษะการรู้ดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ที่มาจากขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน มีทักษะการรู้ดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1471
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010587003.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.