Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1496
Title: An analysis of the Effects of the Financial and Accounting Officers's Competency on Accounting Practice : A Case Study  of Public Educational Institution under the Vocational Education Commission
การวิเคราะห์สมรรถนะเจ้าหน้าที่งานการเงินและงานการบัญชีที่มีผลต่อการปฏิบัติงานบัญชี กรณีศึกษาสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Authors: Rotjana Wingdet
รจนา วิ่งเดช
Kittipol Wisaeng
กิตติพล วิแสง
Mahasarakham University. Mahasarakham Business School
Keywords: วิเคราะห์สมรรถนะ
ผลการปฏิบัติงานการบัญชี
สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Performance analysis
Accounting Performance
academy office Vocational Education Commission
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were to examine: 1) the core competencies affecting the working performance of the finance and accounting staffs in the governmental colleges under the Office of the Vocational Education Commission (OVEC); 2) the correlation of variables - in terms of competency of finance staff and accounting staff - and achievement of accounting performance; and 3) both direct and indirect competencies of finance and accounting staffs affecting the accounting performance achievement. This study attentively analyzed the fundamental data to define the core competencies that could affect the working performance of the finance and accounting staffs in the governmental colleges under the OVEC. The representative samples were 586 finance and accounting staffs from the governmental colleges under the OVEC and the research tools was a 5-level questionnaire with a discrimination value of at least 0.20 and a Cronbach’s Alpha Coefficient of 0.886. The data, then, were analyzed to find the mean score, Standard Deviation (S.D.), and correlation, in order to understand both direct and indirect effects. The study outcome was revealed as follows: 1) The study and data analysis indicated that the core competencies with effects on the working performance of finance and accounting staffs consisted of Cognitive Skill, Competence, Self-thinking, Characteristic, and Motivation. Notably, the core competencies with the strongest effect on their performance was their characteristics and self-responsibility affirmed by the highest mean score   = 4.55, and S.D. = 0.58 followed by their self-thinking, discipline and punctual submission with mean score = 4.54 and S.D. = 0.56. The core competency with the least impact on their performance was the positive attitude on their job affirmed by mean score = 4.53 and S.D. = 0.58 2) In term of the core competencies affecting the finance and accounting staff’s performance and their work achievement, a PLS-SEM method with the ADANCO software was utilized to find the correlation between the latent and observed variables while the data  reliability and validity were affirmed by an outer model, AVE, Dijkstra-Henseler’s rho (rA), Jöreskog’s rho (rc), and Cronbach’s Alpha. The result showed that all variables were firmly reliable. Particularly, Cognitive Skill and Competence were found to be directly correlated with the working achievement of the finance and accounting staffs. Conversely, Self-thinking, Characteristic, and Motivation had none of correlation with their working achievement. 3) Regarding the direct and indirect competencies affecting the finance and accounting staff’s performance and work achievement, an inner model was used for data analysis to find the related path coefficients. The result showed that the staff’s cognitive skill, competence, and self-thinking directly affected their working performance. On the contrary, the staff’s cognitive skill indirectly affected their working performance through self-thinking while the characteristic, motivation, and competence indirectly affected their working performance through characteristics and motivation, and the self-thinking indirectly affected the their performance through motivation
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะเจ้าหน้าที่งานการเงินและงานการบัญชีที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบัญชีในสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านสมรรถนะของเจ้าหน้าที่งานการเงินและงานการบัญชีกับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานด้านบัญชี 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรด้านสมรรถนะของเจ้าหน้าที่งานการเงินและงานการบัญชีกับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานด้านบัญชีเป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับวิเคราะห์สมรรถนะเจ้าหน้าที่งานการเงินและงานการบัญชีที่มีผลต่อการปฏิบัติงานบัญชี กรณีศึกษาสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ เจ้าหน้าที่งานการเงินและงานการบัญชี สถานศึกษาภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 586 คน โดยใช้แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับที่ผ่านการหาค่าอำนาจการจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป ผ่านการหาค่าความเชื่อมั่นโดยมีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Coefficient of Alpha) ทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.886 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์สมรรถนะเจ้าหน้าที่งานการเงินและงานการบัญชีที่มีผลต่อการปฏิบัติงานบัญชี กรณีศึกษาสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีสมรรถนะดังนี้ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านความคิดเกี่ยวกับตนเอง ด้านบุคลิกลักษณะประจำตัวบุคคล ด้านแรงจูงใจ และสมรรถนะที่มีผลต่อการปฏิบัติงานบัญชีกรณีศึกษาสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีสมรรถนะดังนี้ ด้านบุคลิกลักษณะประจำตัวบุคคล รับผิดชอบงานเอง รองลงมา ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง มีวินัย ตรงต่อเวลาในการส่งงาน  และ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง มีเจตคติที่ดีในงาน  และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านสมรรถนะของเจ้าหน้าที่งานการเงินและงานการบัญชีกับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานด้านบัญชี ใช้วิธี PLS-SEM ด้วยโปรแกรม ADANCO ในการหาความสัมพันธ์ของตัวแปรแฝงและตัวแปรสังเกตได้ และตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้และความตรง จากค่า AVE, Dijkstra-Henseler’s rho (rA), Jöreskog’s rho (rc) และ  Cronbach’s Alpha ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ Outer Model พบว่าทุกค่ามีความน่าเชื่อถือ และสรุปผลความสัมพันธ์ได้ดังนี้ สมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานด้านบัญชี กรณีสถานศึกษาภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และปฏิเสธสมรรถนะด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง ด้านบุคลิกลักษณะประจำตัวบุคคล และด้านแรงจูงใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานด้านบัญชี กรณีสถานศึกษาภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้งนี้ผลการศึกษาอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรด้านสมรรถนะของเจ้าหน้าที่งานการเงินและงานการบัญชีกับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานด้านบัญชี เป็นการวิเคราะห์ Inner Model โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient) สรุปผลได้ดังนี้ สมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ และ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง มีอิทธิพลทางตรงต่อผลต่อการปฏิบัติงานบัญชี กรณีศึกษาสถานศึกษาภาครัฐ  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสมรรถนะด้านความรู้ส่งผลทางอ้อมผ่าน สมรรถนะด้านคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง  สมรรถนะด้านบุคลิกประจำตัวบุคคล ด้านแรงจูงใจ  ด้านทักษะส่งผลทางอ้อมผ่าน สมรรถนะด้านบุคลิกประจำตัวบุคคล ด้านแรงจูงใจ  และสมรรถนะความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองส่งผลทางอ้อมผ่านสมรรถนะด้านแรงจูงใจ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1496
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010990006.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.