Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1511
Title: Becoming Net-Idols : How the LGBTQ Counters Marginalization
การกลายเป็นเน็ตไอดอล: การตอบโต้การทำให้เป็นชายขอบของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ)
Authors: Jariya Tanadkha
จริยา ถนัดค้า
Nattakant Akarapongpisak
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: คนชายขอบ
เน็ตไอดอล
ความหลากหลายทางเพศ
สื่อสังคมออนไลน์
Marginalized
Net-Idols
LGBTQ
Social media
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research is a qualitative research aimed to study the becoming of Net-idols of LGBTQ marginalized people, which is a contradiction in Thai society.The sample groups used in this research included 5 LGBTQ Net-idols and 5 followers. The tools used in the study are documentary studies, non-participation observation, semi-structured interviews and in-depth interview. The study was divided into 2 issues: How LGBTQ became marginalized people and How LGBTQ became Net-idols. The result of the research showed how LGBTQ became marginalized people was caused by the norms in public and private institutions or organizations such as workplaces or educational institutions rules designed for only males and females. In addition, laws or policies that protect the rights of LGBTQ people are currently unclear. Inequality and discrimination are continuing. The main discourse defines the gender identity only on male and female. Therefore, this could make other identities seem to be an abnormality. Moreover, there is a repeated discourse done by verbal exclusion, labeling and categorizing that emphasize on being marginalized people of LGBTQ. This could cause LGBTQ people to conceal their identities and be unable to express themselves. As a result, gender has been considered as a personal matter which is difficult to be revealed. While LGBTQ people are considered as marginalized people in the society, communication technology has developed rapidly. A type of social network has been created so that people can interact with each other through social media. Consequently, there is a phenomenon of making people famous and widely known in the world of social media called Net-idol. The results of the study concluded that as society built up the identity of LGBTQ people to become marginalized, they built up themselves as a new identity in the world of social media by using cultural resources as a symbol to express their identities via social media spaces. Their works and creative ideas reflected themselves and collective identity. Social media provided a space that allowed them to freely express themselves and ​negotiate for their marginalized status. The demonstration of the potential and the work of LGBTQ people were done through the image of creative and gifted people who were followed by many people interested in them. The result of this research suggested some observations on social media acceptance of LGBTQ people whether it was just an acceptance in the online context or not. Besides, with the idea of patriarchy in Thailand, LGBTQ people whose masculine appearance such as transgender could reveal themselves more than LGBTQ people whose feminine appearance such as lesbian.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกลายเป็นเน็ตไอดอลของคนชายขอบที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) อันเป็นปรากฏการที่ย้อนแย้งในสังคมไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เน็ตไอดอลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) จำนวน 5 คน และผู้ติดตาม (followers) จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การศึกษาวิจัยจากเอกสาร (documentary Study) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participation observation) การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (semi-structured interviews) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) โดยแบ่งประเด็นในการศึกษาเป็น 2 ประเด็นได้แก่ การทำให้คนหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) เป็นคนชายขอบ และ การกลายเป็นเน็ตอดอลของคนชายขอบที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ผลการวิจัยพบว่าการทำให้คนหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) เป็นคนชายขอบเกิดจาก การสร้างบรรทัดฐานในสถาบันหรือองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ที่ทำงานหรือ สถาบันการศึกษา โดยทำผ่าน กฏ กติกา ที่ออกแบบมาสำหรับเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น อีกทั้งในปัจจุบันกฏหมายหรือนโยบายที่คุ้มครองหรือปกป้องสิทธิของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ยังไม่มีความชัดเจน ความไม่เท่าเทียมและการกีดกันยังคงดำเนินอยู่ อีกทั้งวาทกรรมหลักที่ได้กำหนดให้โครงสร้างอัตลักษณ์ทางเพศมีพียงแค่อัตลักษณ์ชายแท้และอัตลักษณ์หญิงแท้ ทำให้อัตลักษณ์อื่นที่นอกเหนือจากอัตลักษณ์หลักนั้นกลายเป็นความเบี่ยงเบน ผิดปกติ อีกทั้งการผลิตซ้ำทางวาทกรรมที่เป็นการตอกย้ำความเป็นชายขอบของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ให้กลายเป็นคนชายขอบ เช่นการกระทำที่กีดกันด้วยวาจา การแปะป้าย (label) การจัดประเภท (categorize) กระบวนการเช่นนี้ทำให้คนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ถูกกดทับจนไม่สามารถที่จะแสดงความเป็นตัวตนออกมาได้ จนทำให้เรื่องเพศถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัวยากที่จะเปิดเผย ในขณะที่คนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ยังมีสถานะทางสังคมเป็นคนชายขอบ เทคโนโลยีในการสื่อสารได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดเครือข่ายทางสังคมประเภทหนึ่งในโลกดิจิทัล ที่ทำให้คนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และเกิดปรากฏการณ์สร้างคนมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในโลกของสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเรียกว่า เน็ตไอดอล ผลการศึกษาการกลายเป็นเน็ตไอดอลของคนชายขอบที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ได้ข้อสรุปว่า จากที่สังคมได้ประได้ประกอบสร้างอัตลักษณ์ของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ให้กลายเป็นคนชายขอบ พวกเขาเองก็ได้ประกอบสร้างอัตลักษณ์ใหม่ขึ้นมาในโลกของสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมเป็นสัญลักษณ์โดยใช้พื้นที่ของสื่อสังคมออนไลน์ในการนำเสนออัตลักษณ์ของตน ผ่านผลงานและไอเดียสร้างสรรค์ที่สะท้อนตัวตนและอัตลักษณ์ร่วม โดยที่สื่อสังคมออนไลน์นั้นเปรียบเสมือนพื้นที่ทางสังคมที่ทำให้พวกเขาสามารถที่จะเปิดเผยตัวตนได้อย่างอิสระ อีกทั้งเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการต่อรองต่อความเป็นชายขอบของตน ทั้งนี้การแสดงศักยภาพและผลงานของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) กระทำผ่านการสร้างอัตลักษณ์ของความเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีพรสวรรค์ ที่มีคนสนใจติดตามมากมาย  อนึ่ง ผลการวิจัยบ่งชี้ถึงข้อสังเกตุบางประการเกี่ยวกับการยอมรับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในสื่อสังคมออนไลน์นั้น เป็นเพียงการยอมรับในบริบทของโลกออนไลน์เท่านั้นหรือไม่ อีกทั้งภายใต้มายาคติของสังคมชายเป็นใหญ่ในสังคมไทย คนที่มีความหลายหลายทางเพศ (LGBTQ) ที่มีร่างกายหรือเพศสรีระเป็นเพศชาย เช่น สาวประเภทสองหรือกระเทย จะมีความสามารถที่จะเปิดเผยตัวตนได้มากกว่าคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ที่มีเพศสรีระเพศหญิง เช่น ทอมหรือเลสเบี้ยน  
Description: Master of Political Science Program in Politics and Governments (M.Pol.Sci.)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1511
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011380003.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.