Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1512
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Wim Hemso | en |
dc.contributor | วิม เหมโส | th |
dc.contributor.advisor | Alongkorn Akkasaeng | en |
dc.contributor.advisor | อลงกรณ์ อรรคแสง | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The College of Politics and Governance | en |
dc.date.accessioned | 2022-03-24T13:38:03Z | - |
dc.date.available | 2022-03-24T13:38:03Z | - |
dc.date.issued | 13/10/2021 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1512 | - |
dc.description | Master of Public Administration (M.P.A.) | en |
dc.description | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) | th |
dc.description.abstract | The research was a qualitative research. To study the process of managing health security funds at the local level, Selaphum District, Roi Et Province, 2 places, namely Wang Luang Sub-district Health Security Fund, which has an A+ rating, and Tha Muang Sub-District Health Security Fund, which has B-level assessment results, by interviewing. The committee of the local health security fund 17 persons per fund, totaling 34 persons, consisting of the president of the local administrative organization. Member of the Council of Local administrative organizations experts in the area officers of tambon health promoting hospital village health volunteer village or community representative person responsible for the work of the local health security fund and the permanent secretary of the local administrative organization, the study year 2020 study was conducted using questionnaires and in-depth individual interviews. Qualitative content analysis was by using the data collected, interpreting and generating inductive conclusions, the researcher will the content analyze was of the health security fund management theory framework at the local level. The results showed that the contexts of the areas of Tambon Wang Luang and Tambon Tha Muang were similar. Whether in terms of space, social, economic, political, educational, cultural, as well as population structure and health status of people in the area, they are not different because they are neighboring areas. Livelihoods and endemic diseases will have similar characteristics as for the policy setting for the implementation of the health security fund at the local level, the two places are different as follows: The administrators of the Wang Luang Subdistrict Provincial Administrative Organization set the Wang Luang Subdistrict Health Security Fund policy to be in accordance with the announcement of the National Health Security Fund Committee. According to the objective of supporting all 5 types of activities, consisting of: (1) Provide health promotion services. Disease prevention and rehabilitation according to the set of benefits by supporting the budget to provide services to 8 main target groups in the area in providing health services in the area; (2) Support the budget for the public health service unit, in providing health services in the area; (3) Supporting health promotion by people and local communities; (4) Fund management. Board potential development and development of the fund management system; and (5) Case of epidemics and disasters in the area appropriately as for the administrators of the Tha Muang Sub-dwitrict Administrative Organization, the Tambon Tha Muang Subdistrict health security fund policy will be in accordance with the national health security fund committee's announcement. For the purpose of supporting activities, but all 5 types, but focusing too much on supporting type 3, which was the political hope of the local government administrators. For the Wang Luang Sub-district Health Security Fund Administration Committee, it has established a policy for the preparation of project plans for health promotion services. Disease prevention and rehabilitation according to the benefit package by supporting the budget to provide services to cover all 8 target groups, which were (1) Pregnant women and postpartum women (2) Young children and preschool children (3) School age children and youth (4) Old age groups Work (5) Elderly people (6) Patients with chronic diseases (7) Disabled and handicapped groups and 8) General people who are at risk of disease and health hazards As for the Tha Muang Sub-District health security fund administration committee, there was no policy to formulate a project plan for the provision of health promotion services, disease prevention and rehabilitation according to the benefit package by supporting the budget to provide services to cover all 8 target groups Consideration was the right of the Fund Management Committee. Local health security fund management process in Selaphum District Roi Et Province with assessment results at A+ level (Wang Luang Subdwastrict Health Security Fund) was different from Local health security fund management process in Selaphum District Roi Et Province The assessment results are at level B (Tha Muang Subdistrict Health Security Fund) as follows: (1) Planning was planning before implementing the project plan of the Wang Luang Subdistrict fund committee, which was better than the Tha Muang Subdistrict Fund Committee. both in terms of knowledge understanding and potential of fund management. There was local health information management finding health problems and solutions in the area and a complete process and the people participated. (2) Wang Luang has spent more than 90 percent different from spending according to the project set by the Tha Muang Sub-District health security fund administration committee. which spends only 50 percent. (3) People management was an evaluation of the performance of the Wang Luang Sub-district fund management committee. The evaluation result was 90 points, at the A+ level. It was a fund with high potential. Different from the evaluation of the Thamuang Subdistrict Fund's performance, the assessment result 66 points, level B, was a fund with medium potential. Continuous development was required and promote the exchange of knowledge on management services with other funds; Fund equipment There will be preparation for the operation and sufficient to operate in the area different from material management Tha Muang Sub-district Fund equipment that lacks both preparation and sufficiency in implementing the project plan board of directors are appointed the working group was clearly responsible for meetings, monitoring, controlling and accelerating operations regularly. Board of directors/working groups participate in good control and supervision of operations. and reporting the results of monitoring and supervision to the committee regularly and continuously than the Tha Muang Sub-district Fund Outstanding work or innovations are presented in solving health problems in the area. and published Publicize the operations to the people in the area regularly. Unlike the Tha Muang Sub-district Fund, there are no outstanding works or innovations in solving health problems in the area, and publicity of the fund operations will be published infrequently public relations. Recommendations for the implementation of the Local Health Security Fund of Selaphum District Roi Et Province. The fund management committee still lacks learning exchange to adapt or apply to suit the conditions of the area, making it impossible to develop operational skills, including the extension of the project of fund management activities to respond to problems and promote health of people in the area and there should be regular development of the fund management committee's potential, including organizing a forum to exchange knowledge or increase knowledge skills in fund management study visits in areas with outstanding management. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลวังหลวงซึ่งมีผลการประเมินระดับ A+ และกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลท่าม่วงซึ่งผลการประเมินระดับ B โดยการสัมภาษณ์คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น กองทุนๆ ละ 17 คน รวมทั้งหมดจำนวน 34 คน ประกอบไปด้วย นายกองค์การบริหารงานส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารงานส่วนท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และปลัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทำการศึกษาปีงบประมาณ 2563 โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล วิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ โดยนำข้อมูลที่ได้มาประมวล ตีความ และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยผู้วิจัยจะวิเคราะห์เนื้อหากรอบทฤษฎีการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น ผลการศึกษา พบว่า บริบทของพื้นที่ของตำบลวังหลวงและตำบลท่าม่วงคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพพื้นที่ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา วัฒนธรรม รวมทั้งโครงสร้างประชากรและสถานะสุขภาพประชาชนในพื้นที่ไม่แตกต่างกันเพราะเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน การดำรงชีวิต โรคประจำถิ่นก็จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ส่วนการกำหนดนโยบายการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นทั้ง 2 แห่ง มีความแตกต่างกัน ดังนี้ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลวังหลวงกำหนดนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลวังหลวงจะเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนกิจกรรมครบทั้ง 5 ประเภท ประกอบด้วย (1) จัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพตามชุดสิทธิ ประโยชน์ โดยสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดบริการแก่ กลุ่มเป้าหมายหลัก 8 กลุ่ม ในพื้นที่ (2) สนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยบริการสาธารณสุข ในการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่ (3) สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น (4) การบริหารกองทุน การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ และการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนฯ และ (5) กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ อย่างสอดคล้องเหมาะสม ส่วนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลท่าม่วงกำหนดนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าม่วงจะเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนกิจกรรมแต่ครบทั้ง 5 ประเภท แต่เน้นสนับสนุนประเภทที่ 3 มากเกินไปซึ่งเป็นการหวังผลทางการเมืองของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลวังหลวงกำหนดนโยบายในการจัดทำแผนงาน โครงการ ในการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามชุดสิทธิประโยชน์ โดยสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดบริการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้ง 8 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด (2) กลุ่มเด็กเล็กและเด็กวัยก่อนเรียน (3) กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน (4) กลุ่มวัยทำงาน (5) กลุ่มผู้สูงอายุ (6) กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (7) กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ และ (8) กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคและภัยสุขภาพ ส่วนคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าม่วงไม่ได้กำหนดนโยบายการจัดทำแผนงานโครงการในการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ โดยสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดบริการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้ง 8 กลุ่ม การจัดทำแผนงานโครงการขึ้นกับการจัดทำประชาคมหมู่บ้านที่เสนอแผนงานความต้องการเข้ามา การพิจารณาเป็นสิทธิของคณะกรรมการบริหารกองทุน กระบวนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับ A+ (กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลวังหลวง) มีความแตกต่างกับ กระบวนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับ B (กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าม่วง) ดังนี้ (1) ด้านการวางแผน คือ การวางแผนก่อนดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ ของคณะกรรมการกองทุนตำบลวังหลวงทำได้ดีกว่าคณะกรรมการกองทุนฯ ตำบลท่าม่วง ทั้งด้านองค์ความรู้ ความเข้าใจและศักยภาพการบริหารจัดการกองทุน มีการบริหารจัดการข้อมูลด้านสุขภาพในพื้นที่ การค้นหาปัญหาและความต้องการในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ และมีกระบวนการที่ครบถ้วน และประชาชนมีส่วนร่วม (2) ด้านการบริหารเงิน คือ การใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ตำบลวังหลวงมีการใช้จ่ายไปมากกว่า ร้อยละ 90 ต่างกับการใช้จ่ายเงินตามโครงการที่ตั้งไว้ของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าม่วง ซึ่งใช้จ่ายไปเพียง ร้อยละ 50 (3) ด้านการบริหารคน คือ การประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ตำบลวังหลวง ผลการประเมิน 90 คะแนน อยู่ในระดับ A+ เป็นกองทุนที่มีศักยภาพสูง แตกต่างกับการประเมินผลการดำเนินงานกองทุนฯ ตำบลท่าม่วง ผลการประเมิน 66 คะแนน อยู่ในระดับ B เป็นกองทุนที่มีศักยภาพปานกลาง จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริการจัดการกับกองทุนอื่น (นกอปุ4) ด้านการบริหารวัสดุ/อุปกรณ์ คือ การบริหารจัดการวัสดุ อุปกรณ์กองทุนฯ จะมีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน และมีความพอเพียงกับการดำเนินการในพื้นที่ ต่างกับการบริหารจัดการวัสดุ อุปกรณ์กองทุนตำบลท่าม่วงที่ขาดทั้งการเตรียมพร้อมและความพอเพียงในการดำเนินตามแผนงาน โครงการ (5) ด้านการควบคุมกำกับการดำเนินงาน คือ กองทุนฯ ตำบลวังหลวง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการประชุม ติดตาม ควบคุมกำกับ เร่งรัดการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ คณะกรรมการ/คณะทำงาน มีส่วนร่วมในการควบคุมกำกับการดำเนินงานอย่างดี และการรายงานผลการติดตามควบคุมกำกับต่อคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง มากกว่ากองทุนตำบลท่าม่วง และ (6) ด้านการรายงานผลการดำเนินงาน คือ กองทุนตำบลวังหลวงฯ มีการนำเสนอผลงานเด่นหรือนวัตกรรมในการแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ และมีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบเป็นประจำ แตกต่างกับกองทุนฯ ตำบลท่าม่วงที่ไม่มีการนำเสนอผลงานเด่นหรือนวัตกรรมในการแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานกองทุนนานๆ ครั้งจะมีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อเสนอแนะ การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด คณะกรรมการบริหารกองทุนยังขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อปรับหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน รวมถึงการต่อยอดขยายโครงการกิจกรรมจัดการกองทุนให้ตอบสนองการแก้ไขปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และควรมีการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการจัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือเพิ่มทักษะความรู้ในด้านการบริหารจัดการกองทุน การศึกษาดูงานในพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการดีเด่น | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | กองทุนหลักประกันสุขภาพ | th |
dc.subject | การบริหารจัดการ | th |
dc.subject | อำเภอเสลภูมิ | th |
dc.subject | Health Insurance Fund | en |
dc.subject | Management | en |
dc.subject | Selaphum District | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | The process of health insurance fund management at the local level, Selaphum District, Roi-Et Province | en |
dc.title | กระบวนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The College of Politics and Governance |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59011381004.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.