Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1514
Title: Indigo Dyeing Product Development and Marketing Promotion of Indigo Dyeing Products of Natural Dyeing Weaving Groups at Ban Phanna, Phanna Sub-district, Sawang Daen Din District, Sakon Nakhon Province
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามเเละการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม ของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างเเดนดิน จังหวัดสกลนคร
Authors: Prem Kosasaeng
เปรม โกษาแสง
Jeerasak Pokawin
จีรศักดิ์ โพกาวิน
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: ผ้าย้อมสีธรรมชาติ
การส่งเสริมการตลาด
ผ้าย้อมคราม
Indigo Dyeing
Natural Dyeing
Marketing Promotion
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of the research on Indigo Dyeing Product’s Development and Marketing Promotion of the Natural Dyeing Weaving Group at Ban Phanna, Phanna Sub-district, Sawang Daen Din District, Sakon Nakhon Province, were to study the indigo dyeing product’s development of the natural dyeing weaving group at Ban Phanna and to study the Marketing Promotion of indigo dyeing product of the natural dyeing weaving group at Ban Phanna. The sample were divided into 3 groups, including 4 members of the natural dyeing weaving group at Ban Phanna, 4 local government officers and twelve people from a group of entrepreneurs and consumers in Sakon Nakhon Province. The researcher used the Semi-Structured Interview (SSI) as a data collection tool and the Analysis Description in presenting the research results. The study results showed that the indigo dyeing product called “Lai Kab Pran” is more popular among the entrepreneurs and consumers in Sakon Nakhon Province. This is a newly applied fabric pattern inspired by “Khan Mak Beng” (or Khan Mak Ben) concept. The Khan Mak Beng pattern is a banana leaf bush decorated with fresh flowers that is used as a flower tray in Buddhism rite. It clearly shows the identity and unique culture and tradition of Isan people. The researcher also designed new packaging in order to add massive value to the product. For marketing promotion of the product, it was only sold at the events from time to time which were held by governmental organizations or at flea markets such as Ruam Nam Jai Tai Sakon Fair (Annual Red Cross Fair), Prasat Phueng Parade, OTOP City Fair, and Pracharat Market respectively. To increase sales and access the target market, the researcher increased market channel through online social media called Facebook, which is the most famous social media platform worldwide to increase customer awareness and accessibility by creating a Facebook page called “KhamKram Organic Weaving Indigo”. Then, the researcher has developed an annual work plan to make the page more attractive through interesting contents and along with professional photos published on the page. In addition, the researcher asked the influencers to wear the products (Tie-in marketing) and bought advertising from Facebook to promote the page. As a result, more people like, follow and share the page; the page has more viewers and followers ultimately. As the researcher mentioned above, social media platform is another channel of Marketing promotion.    
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม ของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา และเพื่อศึกษาการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา โดยกลุ่มตัวอย่างการสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ สมาชิกกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนาจำนวน 4 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 4 คน รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการและผู้บริโภคในเขตจังหวัดสกลนครจำนวน 12 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และเทคนิคการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview : SSI) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Analysis Description) ในการนำเสนอผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม “ลายกาบปรานต์” ได้รับความพึงพอใจจากกลุ่มผู้ประกอบการและผู้บริโภคในเขตจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นลายผ้าประยุกต์ลายใหม่ที่คิดค้นขึ้น โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก “ขันหมากเบ็ง” (ขันหมากเบ็ญจ์) เป็นพุ่มใบตองประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สดที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งแสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเเละประเพณีอันดีงามของชาวอีสานได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ได้มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่อันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้อีกทางหนึ่ง ในด้านการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา พบว่า กิจกรรมการส่งเสริมการตลาดที่ภาครัฐดำเนินการส่วนใหญ่จะเป็นงานประจำปีที่มีการออกร้านเป็นครั้งคราว หรือตลาดนัด อาทิ งานรวมน้ำใจไทสกล (งานกาชาดประจำปี) งานแห่ปราสาทผึ้ง งาน OTOP City รวมถึงตลาดประชารัฐ เป็นต้น จึงได้เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก คือ เฟซบุ๊ก (Facebook) ซึ่งเป็นเเพลตฟอร์ม (Platform) ที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุด และทำการสร้างเฟซบุ๊กเพจภายใต้ชื่อ “KhamKram คำคราม ผ้าครามทอ ออแกนิค” จากนั้นจึงได้จัดทำแผนงานประจำปี เพื่อทำให้เพจมีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยการให้ความรู้ผ่านตัวอักษรควบคู่ไปกับภาพถ่ายที่เผยแพร่ลงบนเพจ นอกจากนี้การให้อินฟลูเอนเซอร์สวมใส่ผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา กอปรกับการซื้อโฆษณากับเฟซบุ๊กเพื่อโปรโมทเพจผลปรากฏว่า มีผู้กดถูกใจ (Like) กดติดตาม (Follow) และกดแบ่งปัน (Share) เพจเพิ่มมากขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่าเพจมีผู้มองเห็นและติดตามจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน อันเป็นอีกหนึ่งช่องทางของการส่งเสริมการตลาด (Promotion)              
Description: Master of Political Science (M.Pol.Sc.)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1514
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011380023.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.