Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1516
Title: Model of Quality of life Development for Pre - Dialysis Chronic Kidney Disease Patients
รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต
Authors: Paratthakon Wongkalasin
ปรัตถกร วงศ์กาฬสินธุ์
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: คุณภาพชีวิต, โรคไตเรื้อรัง, การชะลอไตเสื่อม
quality of life
chronic kidney disease
delayed progression of nephropathy
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research was a mixed method aimed to develop of model of quality of life for pre - dialysis chronic kidney disease patients at Sakonnakhon Hospital, and studied from the outcomes of testing the developed model. Participants of the developed model including medical personnel, chronic kidney disease patients, and caregiver. Participant of testing the outcomes were 60 pre - dialysis chronic kidney disease patients, divided into 2 groups were experimental and control groups. The tools used questionnaires of quality of life and knowledge of self-management support program for delayed progression of nephropathy. Content analysis was used to analyze qualitative data and frequency, percentage, stepwise multiple regression, paired t-test and independent t-test. The results revealed that incomes, caregiver, depression, age, sex, and co-diseases together could explain 49.3 percent of the variability in quality of life. The development of model comprises of four vital components: 1) individual 2) caregiver 3) health service and 4) supporting facilities. These four aspects needed to link together aims to achieve the goal of increasing quality of life in pre - dialysis chronic kidney disease patients effectively. Increasing knowledge of self-management support program for delayed progression of nephropathy. The results after using the implement, the experimental group had knowledge of self-management support program for delayed progression of nephropathy and quality of life better than control group (p<0.001, p<0.00, respectively). The experimental group had laboratory results including eGFR, Glucose, Serum Creatinine and Systolic BP better than before experiment. Supporting facilities including Instructional media, Advice, Discuss problem and Communication channel that patients can easily to access. These will help encourage and support the patient's learning to care for themselves effectively to achieve the goals.
การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร และศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบที่สร้างขึ้น ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามคุณภาพชีวิตและแบบวัดความรู้เรื่องการจัดการตนเอง ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย stepwise multiple regression, pairedt-test และ independent t-test ผลการวิจัย พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การได้รับการดูแล ภาวะซึมเศร้า อายุ เพศ และโรคร่วมอื่น ๆ เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตได้ ร้อยละ 49.3 รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต มี 4 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) บุคคล 2) ผู้ดูแล 3) ระบบบริการสุขภาพ และ 4) สิ่งสนับสนุนซึ่งเชื่อมโยงประสานกันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไตดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเพิ่มองค์ความรู้เรื่องการจัดการตนเองเพื่อชะลอการเสื่อมของไต หลังจากใช้รูปแบบที่สร้างขึ้น พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีความรู้และคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p<0.001 ตามลำดับ) ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของกลุ่มทดลอง ได้แก่ eGFR, Glucose, Serum Creatinine และ Systolic BP พบว่ามีค่าดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง การใช้สิ่งสนับสนุน ได้แก่ สื่อวีดีทัศน์ให้ความรู้ คู่มือการจัดการตนเองเพื่อชะลอการเสื่อมของไต และช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ความรู้ คำแนะนำรวมไปถึงการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการดูแลตนเองที่สามารถทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้ง่าย จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ที่จะดูแลตนเองของผู้ป่วยทำให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1516
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011460014.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.