Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1517
Title: | Development the Performance Competency scale Instrument in Sub-district Health Promoting Hospitals in the Northeast of Thailand การพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย |
Authors: | Pullawach Arjyotha ปุลวัชร อาจโยธา Vorapoj Promasatayaprot วรพจน์ พรหมสัตยพรต Mahasarakham University. The Faculty of Public Health |
Keywords: | สมรรถนะ บุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล Competency Public Health Personnel Sub-district Health Promoting Hospitals |
Issue Date: | 31 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | “Development the Performance Competency scale Instrument in Sub-district Health Promoting Hospitals in the Northeast of Thailand” aimed to Development the performance competency scale Instrument in sub-district health promoting hospitals in northeastern region of Thailand to be consistent with the Community Public Health Professions Act B.E.2556 (2013). The study was divided into 2 phases which include Phase 1 - determination of performance based on the literature review, an in-depth interview and group discussion among 30 persons, making a questionnaire and studying factors affecting performance of health personnel in sub-district health promoting hospitals. There are 5 parts in the questionnaire with 147 question items. The content validity was performed by 7 experts (IOC=0.84). Cronbach’s alpha coefficient was 0.96. The sample consisted of 712 public health technical officers and public health officers working in sub-district health promoting hospitals, Phase 2 – development of the performance competency scale instrument in sub-district health promoting hospitals in the northeast of Thailand. Data obtained from the phase 1 were assessed performance scores by using descriptive statistics and a factor analysis was conducted, question items were assessed to ensure they have construct validity and reliability using AMOS.
The study results showed that factors affecting performance in sub-district health promoting hospitals in the northeast of Thailand gave rough value at 23.80% (R 2 = 0.238) and adjusted value at 22.70% (AdjR 2 = 0.227) among 10 variables (from the total of 20 variables) The values with the highest level of significance can be arranged as follow: 4 variables having p-value < 0.001 were age, the number of job training related to responsibility in the past 1 year, highest education level (bachelor’s degree) and sex (female), another 6 variables were employee’s length of service in service unit (p-value = 0.001), the number of professional training in the past 1 year (p-value = 0.013) , the number of job training related to responsibility in the past 1 year (used to) (p-value = 0.008), public health management (p-value = 0.038), public health academic affairs (p-value = 0.028), epidemiology, disease prevention and control and health risk (p-value = 0.019) respectively. An exploratory factor analysis gave 16 factors of performance of public health personnel in sub-district health promoting hospitals in northeastern region of Thailand. The rest of 87 question items were as follow: 1) Body of knowledge competency consisted of 5 factors , data variance could be described by 83.15%; 2) skill and ability competency consisted of 6 factors, data variance could be described by 85.19% and 3) attribute competency consisted of 5 factors, data variance could be described by 79.21%. A confirmatory factor analysis was performed and values of test statistics were GFI=0.994, AGFI=0.995, CFI=0.999, SRMR=0.0132, RMSEA=0.024, LSR=1.135, Critical N=764.000, SSR=-1.003, consistent with the empirical data.
The performance competency scale instrument in sub-district health promoting hospitals in the northeast of Thailand can be employed to assess competency-based performance to be in line with the Community Health Professions Act B.E.2556 (2013) and planning the development of competency-based performance of public heath technical officers and public health officers in sub-district health promoting hospitals to become expert practitioners, making service receivers have confidence in quality services they are going to receive and enabling the operations to achieve the set goals and respond to people’s health requirement accordingly. การศึกษาและพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การกำหนดสมรรถนะจากการวิเคราะห์วรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม จำนวน 30 คน และสร้างแบบสอบถามศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีทั้งหมด 5 ส่วน 147 ข้อคำถาม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน (IOC=0.84) ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิชาการสาธารณสุขและเจ้าพนักงานสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 712 คน และระยะที่ 2 การพัฒนาเครื่องวัดสมรรถนะการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย โดยการนำข้อมูลจากระยะที่ 1 ทำการประเมินคะแนนสมรรถนะโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์องค์ประกอบ เพื่อประเมินข้อคำถามให้มีความตรงเชิงโครงสร้างและความน่าเชื่อถือ โดยโปรแกรมสำเร็จรูป (AMOS) ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ได้ค่าอย่างหยาบร้อยละ 23.80 (R 2 = 0.238) และค่าที่ปรับแล้วร้อยละ 22.70 (AdjR 2 = 0.227) จำนวน 10 ตัวแปร (จากตัวแปรทั้งหมด 20 ตัวแปร) โดยสามารถเรียงลำดับค่าที่มีระดับนัยสำคัญสูงสุด ประกอบด้วย ตัวแปรที่มีค่า p-value < 0.001 มี 4 ตัวแปร ดังนี้ อายุ จำนวนการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบใน 1 ปีที่ผ่านมา ระดับการศึกษาสูงสุด (ปริญญาตรี) และเพศ (หญิง) และอีก 6 ตัวแปร ประกอบด้วย ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการ (p-value = 0.001) จำนวนการฝึกอบรมวิชาชีพใน 1 ปีที่ผ่านมา (p-value = 0.013) การฝึกอบรมเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบใน 1 ปีที่ผ่านมา (เคย) (p-value = 0.008) งานบริหารสาธารณสุข (p-value = 0.038) งานวิชาการด้านสาธารณสุข (p-value = 0.028) ระบาดวิทยา การป้องกันและควบคุมโรคและภัยสุขภาพ (p-value = 0.019) ตามลำดับ และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ได้องค์ประกอบ สมรรถนะการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ทั้งหมด 16 องค์ประกอบ ข้อคำถามคงเหลือ 87 ข้อ ดังนี้ 1) สมรรถนะองค์ความรู้ มี 5 องค์ประกอบ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของข้อมูลได้ร้อยละ 83.15 2) สมรรถนะทักษะและความสามารถ มี 6 องค์ประกอบ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของข้อมูลได้ร้อยละ 85.19 และ 3) สมรรถนะคุณลักษณะ มี 5 องค์ประกอบ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของข้อมูลได้ร้อยละ 79.21 และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ได้ค่าสถิติทดสอบ ดังนี้ GFI=0.994, AGFI=0.995, CFI=0.999, SRMR=0.0132, RMSEA=0.024, LSR=1.135, Critical N=764.000, SSR=-1.003 ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย สามารถนำไปประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานให้สอดคล้องพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 และวางแผนการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขและเจ้าพนักงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้เป็นผู้ปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ ทำให้ผู้รับบริการมีความมั่นใจต่อการได้รับบริการที่มีคุณภาพ และให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนต่อไป |
Description: | Doctor of Public Health (Dr.P.H.) สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1517 |
Appears in Collections: | The Faculty of Public Health |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60011460015.pdf | 10.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.