Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1518
Title: Development  of  Management  Model  of  leftover medicine  in  patients  with    diabetes  mellitus  at  Sakonnakhon  Hospital
การพัฒนารูปแบบการจัดการยาเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสกลนคร
Authors: Sirikanya Wongkalasin
สิริกัญญา วงศ์กาฬสินธุ์
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ยาเหลือใช้, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, การจัดการยาเหลือใช้
leftover medicines
diabetes mellitus
management of leftover medicines
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research was a mixed method aimed to develop of management model of leftover medicines in patients with diabetes mellitus at diabetes mellitus clinic Sakonnakhon Hospital, and test the outcomes the developed model. Participants for develop model including medical personnel, patients with diabetes mellitus, caregiver and leader Village Health Volunteer. Participant for test the outcomes were 134 diabetes patients with leftover medicines, divided into 2 groups experimental and control groups. The tools used for data collection were medication compliance questionnaires and knowledge of drug used. The developed model was used as the instrument for reduce leftover medicines. Content analysis was used to analyze qualitative data, frequency, percentage, mean, standard deviation, logistic regression, and t-test were employed to analyze quantitative data The results revealed that number of drugs, number of type of drug taken per day and number of pills taken per day were predictive factors for number of leftover medicines in diabetes patients. The development of management model of leftover medicines in patients with diabetes mellitus comprise of three vital components: 1) system 2) individual and 3) supporting facilities. These three aspects needed to link together according to the principle the developed CLICK Reduce model aims to achieve the goal of reduce leftover medicines in diabetes patients. Increase knowledge and medication compliance. The results after using the implement, the experimental group had knowledge, medication compliance better than control group (p<0.001, p<0.001, respectively). The experimental group had average number of pill of leftover medicine less than control group. The key successful factors were using of video, medicine book record, reminder sticker and new system of dispensing. Having a communication channel that patients easily to access. Therefore, collaboration of medical personnel and Village Health Volunteer, cooperation from patients and caregiver these will help develop of management of leftover medicines sustainable system.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการยาเหลือใช้ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร และเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าพนักงาน เภสัชกรรม ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้นำ อสม. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มียาเหลือใช้ จำนวน 134 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 67 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 67 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามความร่วมมือในการใช้ยาและแบบวัดความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ยา เครื่องมือที่ใช้ทดลองเป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน logistic regression และ t-test ผลการวิจัยพบว่า จำนวนยาที่ได้รับครั้งล่าสุด จำนวนชนิดยาที่รับประทานต่อวัน และจำนวนเม็ดยาที่รับประทานต่อวัน เป็นปัจจัยทำนายการเกิดยาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยายาลสกลนคร การพัฒนารูปแบบการจัดการยาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่ามี 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) ระบบ 2) บุคคล และ 3) สิ่งสนับสนุน ทั้ง 3 องค์ประกอบเชื่อมโยงประสานกันตามหลัก CLICK Reduce Model ที่สร้างขึ้น มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการลดการเกิดยาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเพิ่มองค์ความรู้เรื่องการใช้ยาและเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา หลังจากใช้รูปแบบที่สร้างขึ้นพบว่ากลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องยาและความร่วมมือในการใช้ยามากกว่าก่อนการทดลอง (p<0.001, p<0.001 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของจำนวนเม็ดยาเหลือน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การใช้สื่อวีดีทัศน์ สมุดบันทึกยา สติ๊กเกอร์เตือนความจำ และการปรับระบบการจ่ายยาใหม่ รวมทั้งการมีช่องทางสื่อสารที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้ง่าย ดังนั้นการทำงานร่วมกันของทีมบุคลากรทางการแพทย์ อสม. ตลอดจนความร่วมมือของผู้ป่วย และญาติผู้ดูแลผู้ป่วย จะช่วยพัฒนาระบบการจัดการยาเหลือใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1518
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011460016.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.