Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1521
Title: Promoting the health of diabetics With the participation of the Quality of Life Development Committee in Muang Suang District Roi Et Province
การสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Sirirat Phuengsanthia
ศิริรัตน์ พึ่งสันเทียะ
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การมีส่วนร่วม
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
Participation
Quality of Life Development Committee
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research was to study the process of promoting the health if diabetics with the participation of the quality of life development committee in Muang Suang District, Roiet Province.The target group of 67 people consists of the District Quality of Life Development Committee. Mueang Suang District Roi Et Province, 21 people, Sub-Committee on Quality of Life Development at District Level  Mueang Suang District  21 people in Roi Et Province and 25 people with diabetes collected both quantitative and qualitative data  by using the tools created . Data were analyzed by using descriptive statistics such as mean, percentage, standard deviation.  and the qualitative data was analyzed by content analysis. The results showed that Health promotion of diabetic patients with the participation of the Committee on Quality of Life Development in Mueang Suang District Roi Et Province found that Most of them had a good level of knowledge, 56.00%. Most of the overall attitudes about self-care had a good attitude, 80.00 percent.Fair use 60.00% of the self-care behaviors of diabetic patients found that diabetic patients had more appropriate behaviors.In terms of health, it was found that body mass index and weight decreased by 64.00% and 60.00%, waist circumference decreased by 60.00%, HbA1C was less than 7, representing 28.00%, a decrease of 76.00% from the original.  district Mueang Suang District Roi Et Province  Participate in co-thinking, decision-making, and action. and participate in the follow-up evaluation There were academic subcommittees and diabetes subcommittees as important mechanisms for driving work at the local level. Therefore, public health agencies should use this model to develop jobs for the target group to have more knowledge and efficiency in their work.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมาย 67 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 21 คน คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 21 คน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า การสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ความรู้โดยรวมเกี่ยวกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานหลังการพัฒนา ส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับดี ร้อยละ 56.00 ทัศนคติโดยรวมเกี่ยวกับการดูแลตนเองส่วนใหญ่มีทัศนคติในระดับดี ร้อยละ 80.00 การปฏิบัติตัวโดยรวมในการดูแลตนเองส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองในระดับพอใช้ ร้อยละ 60.00 ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมเหมาะสมเพิ่มขึ้น ด้านภาวะสุขภาพ พบว่า ดัชนีมวลกายและน้ำหนักลดลงร้อยละ 64.00 และ 60.00 รอบเอวลดลงร้อยละ 60.00 ค่า HbA1C น้อยกว่า 7 คิดเป็นร้อยละ 28.00 ลดลงจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 76.00 และ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และร่วมติดตามประเมินผล โดยมีคณะอนุกรรมการวิชาการและคณะอนุกรรมการเบาหวานเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ ดังนั้นหน่วยงานด้านสาธารณสุขควรนำรูปแบบนี้ไปใช้เพื่อพัฒนางานให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1521
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011480003.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.