Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1523
Title: The Development of A Model to Prevention of Drowning Mortality Among Children Aged Under 15 Years in Tha Tum Sub-district, Tha Tum District, Surin Province
การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
Authors: Pittaya Posee
พิทยา โปสี
Phatcha Hirunwatthanakul
พัดชา หิรัญวัฒนกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
การป้องกัน
การจมน้ำ
เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
Development
Prevention
Drowning
Children under 15
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study is action research which aims to develop a model of children’s drowning prevention under 15 years old in Tha Tum sub-district, Tha Tum district, Surin province, Thailand. The cycle of four steps has used in research methodology are as follows: The first step is the planning step which is a process of studying the context of the area where children’s drowning occurrence, organizing lessons learned in case of children’s drowning and organizing a forum to collectively discuss planning and deciding on problem solving. The second step is the implementation of the plan. The target group is 1,000 people includes 912 children under 15 years old and 88 parents then applies the information of problems from the planning process by training on children’s drowning prevention skill to the parents, risk water resources management and training on swimming skills among children under 15 years old. The third step is observation. Following and evaluate the operations, observing participation in the work timetable and other effected evaluation include knowledge evaluation/ children’s drowning prevention skill to the parents, risk water resources management and evaluating swimming skills among children under 15 years old. the fourth step is a reflection by organizing a forum to exchange discussion learning group, analyzing opinions/problems/obstacles/effects/solutions/lesson learned to find achievement’s factors which operated between February 2021 to May 2021 by collecting data from group discussions, observational recording and interview. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean and content analysis of the qualitative data. The results revealed that the action research procedure was studying the context of the area, literature review and providing knowledge, collecting and analyzing data,  organizing a forum to collectively discuss planning and deciding on problem solving.  implementation of the plan, follow-up, evaluation, observation, interview, organizing forum to lessons learned for knowledge exchange and data retrieval, summarizing success factors, problems, obstacles, suggestions and solutions. This procedure gives trainees knowledge about water self-preservation training. There was a statistically significant increase in drowning prevention and preventive operation at the 0.05 level. The result of this study, the development of the model resulted in the implementation has to be an obvious and easy procedure. The success of factor is strong community leaders’ promotion, Increased participation of local people, providing an obvious and continuous working system and supported by public officer in order to continuously operate in the community.  
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งรูปแบบในการดำเนินการเดิมที่ใช้ดำเนินการในชุมขนตำบลท่าตูมนั้น ยังพบว่ามีเหตุการณ์ การตกน้ำ จมน้ำเสียชีวิตอยู่ ผู้วิจัยจึงมีการศึกษาในการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในเขตตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยมีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยในลักษณะวงรอบ 4 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรก เป็นขั้นตอนการวางแผน เป็นขั้นตอนการศึกษาบริบทพื้นที่ที่มีการจมน้ำ การถอดบทเรียนกรณีเด็กจมน้ำ การจัดเวทีเสวนาเพื่อร่วมกันวางแผนตัดสินใจและแก้ไขปัญหาร่วมกัน และได้แผนตามการกำหนดตกลงร่วมกัน ขั้นที่สอง เป็นการปฏิบัติตามแผน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,000 คน ประกอบด้วย กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 912 คน และกลุ่มผู้ปกครองผู้ดูแลเด็ก จำนวน 88 คน โดยเป็นการนำแผนสู่การปฏิบัติ จากการนำข้อมูลปัญหาจากขั้นตอนการวางแผนการดำเนินงานโดยมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันเด็กจมน้ำในกลุ่มผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก การจัดการแหล่งน้ำเสี่ยง และการฝึกทักษะการลอยตัวในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ขั้นตอนที่สาม เป็นการสังเกตการณ์ เป็นนิเทศติดตามประเมินผลด้านการดำเนินงาน สังเกตการมีส่วนร่วมในการกำหนดการทำงาน ประเมินผลกระทบด้านอื่น ๆ ได้แก่ วัดความรู้/ทักษะการป้องกันการจมน้ำในกลุ่มผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำ การจัดการแหล่งน้ำเสี่ยง ประเมินทักษะการลอยตัวในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และขั้นตอนสุดท้าย เป็นการสะท้อนผล โดยการจัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สนทนากลุ่ม วิเคราะห์ความคิดเห็น/ปัญหา/อุปสรรค/ผลกระทบ/แนวทางแก้ไข/การถอดบทเรียน หาปัจจัยแห่งความสำเร็จ ซึ่งมีการดำเนินงาน ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ถึงเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม การใช้แบบสอบถาม การบันทึกจากการสังเกต และการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เนื้อหาในส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยจากกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เริ่มตั้งแต่ การศึกษาบริบทของพื้นที่ การทบทวนวรรณกรรมและการให้ความรู้ การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การจัดเวทีเสวนาเพื่อรวมกันวางแผนและตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ไขปัญหา การปฏิบัติตามแผน การติดตามประเมินผลการดำเนินงานสังเกต สัมภาษณ์ การจัดเวทีถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูล และสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จ สรุปปัญหาอุปสรรคข้อเสนอแนะ ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยกระบวนการทั้งหมดดังกล่าว ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ มีการฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ การดำเนินงานในการป้องกันและการปฏิบัติตัวในการป้องกันการจมน้ำเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งจากผลการศึกษา การพัฒนารูปแบบส่งผลให้การดำเนินงานต้องมีกระบวนการที่ชัดเจน เป็นรูปแบบที่สามารถดำเนินการได้ง่าย โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การสร้างแกนนำในชุมชนมีความเข้มแข็ง การมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น การมีระบบการทำงานที่ชัดเจนและต่อเนื่อง และการสนับสนุนการทำงานโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่ต่อเนื่องในชุมชนต่อไป
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1523
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011480005.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.