Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1526
Title: | Effect of Yoga Asana Program on Flatulence in Young Old People at Nachuak Hospital, Nachuak District, Mahasarakham Province ผลของโปรแกรมโยคะอาสนะต่ออาการท้องอืดในกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม |
Authors: | Supanida Thongduang ศุภนิดา ทองดวง Santisith Khiewkhern สันติสิทธิ์ เขียวเขิน Mahasarakham University. The Faculty of Public Health |
Keywords: | ผู้สูงอายุวัยต้น โยคะอาสนะ อาการท้องอืด Young old people yoga asana flatulence |
Issue Date: | 27 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | An experimental study was used to examine the effects of the Yoga asana program on flatulence in young-elderly persons at Nachuak Hospital, Nachuak District, Mahasarakham Province. This study ran from January 2021 to October 2021. The sample was separated into two groups, 37 patients were in experimental groups and 43 patients were in control groups. The experimental group received a yoga asana program and the control group received only the usual royal massage therapy. The data was collected from the pre and post flatulence assessment form and questionnaires. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation statistics. Paired sample t-test and independent-sample t-test were used to detect the effect of the yoga asana program.
The results after the trials showed that the experimental group had statistically significant to decrease in flatulence or abdominal discomfort p<0.05 . In addition, after the trial, the experimental group had a statistically significant reduction in flatulence than the control group p<0.05 . The yoga asana program can increase muscle flexibility and massage to stimulate the stomach to stimulate bowel movements to work better. The health promotion approaches should be included the yoga asana in the morning for the body flexibility and bowel movement in the young-old people. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมโยคะอาสนะต่ออาการท้องอืดในกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนมกราคม 2564 ถึง เดือนตุลาคม 2564 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุวัยต้นที่มีอาการท้องอืด ที่ไม่มีลักษณะอาการเตือนว่าอาจเกิดโรคร้ายแรงและวินิฉัยทางแพทย์แผนไทยว่ามีอาการท้องอืด โดยกลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 37 ราย และกลุ่มควบคุม 43 ราย โดย 4 สัปดาห์แรก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมโยคะอาสนะ 5 ท่า คือ ท่าขับลม ท่าบิดเอว ท่าตั๊กแตน ท่าธนู และท่างู ท่าละ 6 นาที ใช้เวลาทั้งหมด 30 นาที ร่วมกับการนวดไทยแบบราชสำนัก 45 นาที และกลุ่มควบคุมได้รับเพียงการนวดแบบราชสำนัก 45 นาทีตามปกติ และติดตาม 4 สัปดาห์หลัง ทั้ง 2 กลุ่ม รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลจากแบบประเมินอาการท้องอืดก่อนและหลังการทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกหรือไม่สบายท้องของอาการท้องอืด ด้วยสถิติ Paired sample t-test สำหรับการทดสอบภายในกลุ่มและ Independent sample t-test สำหรับการทดสอบระหว่างกลุ่ม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้สึกท้องอืดหรือไม่สบายท้องลดลงหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีอาการท้องอืดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้นโปรแกรมโยคะอาสนะสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ กดนวดกระตุ้นท้องและอวัยวะต่างๆ กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น และควรมีการส่งเสริมในเรื่องของฝึกโยคะอาสนะช่วงเช้าก่อนการทำงาน เพื่อยืดหยุ่นร่างกายทั้งในผู้สูงอายุ และกลุ่มวัยอื่นๆได้ |
Description: | Master of Public Health (M.P.H.) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1526 |
Appears in Collections: | The Faculty of Public Health |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62011480009.pdf | 7.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.