Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/153
Title: Genetic Variation of Macrobrachium lanchesteri in Northeastern Thailand
ความแปรผันทางพันธุกรรมของกุ้งฝอย Macrobrachium lanchesteri ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Authors: Rawikarn Khanarnpai
รวิกานต์  ขนานไพร
Bung-on Thaewnongiw
บังอร แถวโนนงิ้ว
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: กุ้งฝอย, ความแปรผันทางพันธุกรรม, ลำดับเบสดีเอ็นเอ, ดีเอ็นเอ, M. lanchesteri
Shrimp Genetic Variation Sequence DNA M. lanchesteri
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this study were to determine genetic variation of M. lanchesteri collecting total of 1,771 individuals from 16 provinces in northeastern Thailand. The morphological showed rostrum were slender and length, rostral teeth 7-3/2-4, total length 1.5-4.5 cm. The morphometric that mean length M. lanchesteri of female was higher than male in all 16 provinces. M. lanchesteri from Nongkhai seem to be larger than other while Buri Ram and Kalasin that mostly comprised of the smallest size Whereas, the genetic diversity was determined using PCR-RFLP technique with 5 restriction enzyme (Dde I, Alu I, Hinf I, Bgl II and Hae III). The results of these samples showed 2 composite haplotypes as AAAAA and BBBBB. The UPGMA Dendrogram of restriction pattern was analyzed using NTSYSpc version 2.10p. The M. lanchesteri were divided into 2 group as group1 consisted of M. lanchesteri and group2 consised of M. rosenbergii. The similarity coefficient between 2 groups was 1.0. genetic distance between different haplotypes of M. lanchesteri ranged from 0 - 0.035 showed a low rate of genetic variability. Water quality analyzed showed water including water temperature ranged 25 - 33 ºC, pH ranged 6 - 9, water hardness ranged 64 - 101 mg/L and dissolved oxygen ranged 4 to 7.5 mg/L. Water quality was found appropriate for aquatic life.
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของกุ้งฝอย Macrobrachium lanchesteri  จากพื้นที่ทั้งหมด 16 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยทั้งหมด 1,771 ตัวอย่าง นำมาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาภายนอกพบว่ามีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ชัดเจนคือกรีมีลักษณะตรง ปลายงอนขึ้นเล็กน้อย ยาวหรือเท่ากับแผ่นกำบังหนวดคู่ที่ 2 จำนวนฟันกรีด้านบน 7-3 ซี่ ด้านล่าง 2-4 ซี่ ความยาวของลำตัวทั้งหมด 1.4-4.5 เซนติเมตร เมื่อทำการวิเคราะห์การวัดลักษณะทางสัณฐานวิทยาพบว่าประชากรกุ้งฝอยที่มีขนาดความยาวของลำตัวมากที่สุดคือ จังหวัดหนองคาย มีค่าเฉลี่ย 3.86 เซนติเมตร ขณะที่ประชากรของกุ้งฝอยที่มีขนาดเล็กที่สุดพบที่จังหวัดบุรีรัมย์ และกาฬสินธุ์ มีค่าอยู่ในช่วง 1.62 และ1.60เซนติเมตร ตามลำดับ การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของกุ้งฝอยโดยเทคนิค PCR-RFLP โดยการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ 5 ชนิด คือ Dde I, Alu I, Hinf I, Bgl II และ Hae III พบ Composite haplotypes ทั้งหมด 2 รูปแบบ คือ AAAAA และ BBBBB แล้วนำเอ็นไซม์ตัดจำเพาะมาสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยโปรแกรมสำเร็จรูป NTSYSpc version 2.10p พบว่าสามารถจัดจำแนกกุ้งฝอยออกได้เป็น 2 กลุ่ม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนเท่ากับ 1.0 การศึกษาโดยเทคนิคการตรวจสอบลำดับนิวคลีโอไทด์ เมื่อทำการวิเคราะห์ระยะห่างทางพันธุกรรมของกุ้งฝอย M. lanchesteri พบว่าค่าระยะห่างทางพันธุกรรมค่อนข้างต่ำโดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0-0.035 มีค่าเฉลี่ยที่ 0.014 ซึ่งพบว่ากุ้งฝอยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความแตกต่างทางพันธุกรรมต่ำ นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ พบว่าค่าอุณหภูมิของน้ำอยู่ในช่วง 25-33องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดด่างอยู่ในช่วง 6-9 ค่าความกระด้างของน้ำอยู่ในช่วง 64-101 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำอยู่ในช่วง 4-7.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งพบว่าค่าทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำจืด
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/153
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010260003.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.