Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1532
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorAthiwat Butdabuten
dc.contributorอธิวัฒน์ บุตรดาบุตรth
dc.contributor.advisorPissamai  Homchampaen
dc.contributor.advisorพิศมัย หอมจำปาth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Medicineen
dc.date.accessioned2022-03-24T14:52:50Z-
dc.date.available2022-03-24T14:52:50Z-
dc.date.issued29/9/2021
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1532-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractThis research and development aimed to study for develop the reproductive health promotion application (RH Teen Thailand) for teenagers for teenager Thailand 4.0. The study was consisted of four phases. In the first phase, the network situation and problems were analyzed (n = 296). The factors affecting the adolescent behaviors were also studied (n = 389). In the second phase, the RH Teen Thailand was developed (n = 34). In third phase, the application was implemented (n = 90 for experimental group and n = 90 for control group). The application assessment and synthesis were done by comparing the internal factors and the reproductive health promotion behaviors. The essential factors which enhance the reproductive health were also analyzed. The quasi-experiment approach was used for hypothesis testing. In the fourth phase, the application was distributed. The study was conducted betweens December 2017 to March 2020. The data was analyzed using computer package program. Percentage, mean, standard deviation, minimum and maximum were used to describe the personal factors. The multiple response was used to identify the factors that can be selected more than one. Pearson’s correlation analysis, paired t-test and independent t-test were used to analyzed the relating factors. Focus group discussion, lesson learned and in-depth interviewed were also used in this study. The results showed the first phase revealed that key factors of reproductive health district were launching campaign to raise awareness about reproductive in teenagers. Social supports in term of information and participation in acting also affected the perception of reproductive health district. The extension of reproductive health district to cover all Sub-district also affected the belief, social support in term of emotion, social support in term of information, participation in acting, participation in decision making and participation in responsibility. The findings from adolescent behaviour analysis revealed that age, education and the perception of norm in friend group significantly related with the reproductive health promotion behaviour (p-value < 0.001). Social support in term of information significantly related with the reproductive health promotion behaviour (p-value = 0.013). The findings from the second phase showed that there should be the section of sexual transmitted diseases in RH Teen Thailand and the application should be less formal. The application was approved by five experts. The trial in a small group of students in one school showed that the knowledge significantly increased (p-value < 0.001). The findings from the third phase revealed that, before providing intervention, the knowledge between experimental and control groups were insignificantly different (p-value = 0.538). After providing the intervention, the knowledge between two groups were significantly different (p-value < 0.001). The reproductive health behaviors before providing the intervention were not different. After providing the intervention, the behaviors between two groups were significantly different (p-value < 0.01). The satisfactory score significantly increased after using RH Teen Thailand (p-value < 0.001). The reproductive health behaviors of teenagers after using the application was also improved. The findings from the last phase showed that the application could be downloaded from play store on android operating system. Last phase for dissemination.The suggestions were 1) the application should be effective and provide fast response especially in the consultation for teenager pregnancy, 2) there should be the public relation or the exhibition on safe sex and birth control in community, and 3) the perception on contraceptive implant of teenagers should be settled.en
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มุ่งศึกษาในการพัฒนาโปรแกรมแอปพลิเคชันการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นแบบมีส่วนร่วมเพื่อ วัยใสไทยแลนด์ 4.0 แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ โดยระยะที่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาของเครือข่าย (n=296)และวัยรุ่นพร้อมปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธ์วัยรุ่น (n=389) ระยะที่ 2) การพัฒนาโปรแกรมแอปพลิเคชันการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นแบบมีส่วนร่วมเพื่อ วัยใสไทยแลนด์ 4.0 (n=34) ระยะที่ 3) การดำเนินการตามโปรแกรมแอปพลิเคชัน RH Teen Thailand (n=90) และกลุ่มเปรียบเทียบ (n=90) การประเมินผลและสังเคราะห์โปรแกรมแอปพลิเคชัน RH Teen Thailand โดยการเปรียบเทียบปัจจัยภายในและพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่น วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสำคัญกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นการทดสอบสมมติฐานในการวิจัยใช้เทคนิคการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) ระยะที่ 4 การเผยแพร่โปรแกรม ในการทดสอบสมมติฐานทางการวิจัย ซึ่งการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ดำเนินการในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 นำข้อมูลจากแบบประเมินมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป มีข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การหาร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่าสูงสุด (Maximum) เพื่ออธิบายปัจจัยส่วนบุคคล ใช้ Multiple response เพื่อจำแนกตัวแปรที่เลือกคำตอบได้มากกว่า 1 และใช้ Chi-square Pearson’s correlation, Paired Simple t-test, Independent t-test หาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ มีกระบวนการสนทนากลุ่ม การถอดบทเรียน และการสัมภาษณ์เชิงลึก  ผลพบว่า ระยะที่ 1 การอำเภอมีการรณรงค์เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนรับรู้เรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นเพื่อป้องกันการท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร และปัจจัยการมีส่วนร่วม (การกระทำ) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการรับรู้ของเครือข่ายอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนปัจจัยการดำเนินงานอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ขยายผลครอบคลุมในทุกตำบลมีความสัมพันธ์กับความเชื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value 0.05 และยังมีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ (ความห่วงใยในสถานที่ที่ปลอดภัย), แรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร, การมีส่วนร่วมในการกระทำ มีส่วนร่วมร่วมในการตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value < 0.01 พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่น พบ อายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)  ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และการรับรู้บรรทัดฐานกลุ่มเพื่อนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสารจากสื่อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.013) ระยะที่ 2 ข้อมูลที่วัยรุ่นต้องการให้มีในแอปพลิเคชันวัยใสไทยแลนด์เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 58.9 และหากต้องการให้มีควรมีรูปแบบของแอพพลิเคชันแบบไม่เป็นทางการมากเกินไป ร้อยละ 48.1 โปรแกรมแอปพลิเคชันผ่านความเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ทดลองใช้ในกลุ่มนักเรียนขนาดเล็กในโรงเรียนเขตเมืองในจังหวัดแห่งเพื่อประเมินความรู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ระยะที่ 3 พบว่าคะแนนความรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับ App RH Teen Thailand และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับ App RH Teen Thailand ความรู้ก่อนการทดลองของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.538) หลังการทดลองคะแนนความรู้หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)  ส่วนระดับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม เพื่อวัยใสไทยแลนด์ 4.0 ระยะก่อนดำเนินการ หลังดำเนินการ (3 เดือน) พบว่า ระดับพฤติกรรมก่อนการทดลองเมื่อไม่ทราบความแปรปรวน คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อวัดระดับพฤติกรรมหลังการได้รับ App RH Teen Thailand ระดับพฤติกรรมของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01) และระดับความพึงพอใจในการใช้ App RH Teen Thailand ของวัยรุ่นในโรงเรียนที่ทำการทดลอง พบว่า คะแนนความพึงพอใจจากการใช้ Application RH Teen Thailand มีความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันแตกต่างยังมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p-value < 0.001 จะเห็นได้ว่าผลของการพัฒนาใช้โปรแกรมดังกล่าว วัยรุ่นมีความพึงพอใจเพิ่มมาก และการประเมินพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์จากระบบออนไลน์วัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ระยะสุดท้ายเป็นการเผยแพร่คู่มือการใช้แอปพลิเคชัน ข้อเสนอแนะในการวิจัย 1) ควรพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพรวดเร็วทันเวลาที่จะตอบสนองความต้องการการขอรับคำปรึกษาของวัยรุ่นในประเด็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม 2) ควรมีการประชาสัมพันธ์หรือการจัดนิทรรศการเรื่องการมีเพศสัมพันธ์แบบป้องกันจากการวิธีการคุมกำเนิดในชุมชน 3) ควรพัฒนาความเข้าใจในมิติมุมมองการใช้ยาฝังคุมกำเนิดเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectโปรแกรมแอปพลิเคชั่น, การสร้างเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์, วัยรุ่นth
dc.subjectApplication of reproductive health promotion behaviors adolescentsen
dc.subjectApplication Reproductive health promotion Adolescentsen
dc.subject.classificationMedicineen
dc.titleDevelopment of the participatory adolescent reproductive health promotion application program for Thailand healthy teen 4.0 in the Reproductive Health Districts, Health Area 7 KhonKaen     en
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมแอปพลิเคชั่นการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นแบบมีส่วนร่วมเพื่อวัยใสไทยแลนด์ 4.0 ในอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ เขตสุขภาพที่ 7 ขอนแก่นth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011560004.pdf7.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.