Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1534
Title: A Model Development for Prevention and Control of Melioidosis in Sisaket Province
การพัฒนาตัวแบบการป้องกันและควบคุมโรคเมลิออยโดสิส จังหวัดศรีสะเกษ
Authors: Phachara Kanjaras
พชร กาญจรัส
Choosak Nithikathkul
ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: การพัฒนาตัวแบบ, โรคเมดิออยโดสิส, การป้องกันและควบคุมโรค, ภูมิศาสตร์สารสนเทศ
A model development
Melioidosis
Prevention and control
GIS
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aimed to develop a model for prevention and control of Melioidosis in Sisaket Province. There was a combination of quantitative and qualitative data collected in two phases: phase I model development, and phase II model experiment developed in four districts in Sisaket province. For the quantitative data were analyzed using descriptive statistics to describe characteristics by chi-square. In the inference statistics analysis of factors related to prevalence and prevention behaviors by multivariate logistic regression were used. The qualitative data were analyzed using the Content analytical process and Kruskal-Wallis to compare the differences in performance before and after the trial. The results founded that model development period revealed that the factors associated with Melioidosis by systematic review and meta-analysis. There consisted of occupation (OR=1.24; 95% CI =1.15-1.33). ), alcohol drinking (OR=0.31; 95% CI=0.24-0.39), smoking (OR=0.66; 95% CI= 0.55-0.80), exposure to soil or contaminated water sources (OR=1.60; 95% CI=1.21-2.13), underlying disease (OR=1.67; 95% CI=1.39-2.00), soil exposure (OR=1.48; 95% CI=1.16-1.89), wound (OR=1.81; 95% CI=1.20-2.7) and knowledge of disease prevention and control (OR=2.02; 95% CI=1.55, 2.64). The prevalence of Melioidosis in Sisaket province was divided into 2 groups: the 132 samples experimental group and 133 samples for comparison group. Most of them were 67.17% male, 31.32% farmers, with 41.89% underlying disease. For wound factors (p-value 0.01, 95%CI = 0.18-0.78), basement house (p-value = 0.04, 95%CI = 0.36-1.08), environmental of household (p -value 0.01, 95%CI = 0.05-0.80), patient infectious (p-value 0.01, 95%CI = 1.11-7.59), smoking (p-value 0.01, 95%CI = 0.16-0.53), alcohol drinking (p-value 0.01, 95%CI = 0.20 -0.58), underlying disease (p-value<0.01, 95%CI = 0.16-0.49), rainy season (p-value 0.01, 95%CI = 2.53-8.61), living in the area more than 20 years (p-value 0.01, 95%CI = 1.04 - 4.27), cognitive perception (p-value 0.01, 95%CI = 0.10-0.52), risk perception (p-value 0.01, 95%CI = 0.14-0.88) and disease prevention and control perception (p-value 0.01, 95%CI = 0.10-0.81). While, analyzing the multifactor variable that was associated with prevalence was smoking (p-value 0.01, 95%CI = 0.21- 0.72), comorbidity (p-value 0.01, 95%CI = 0.20-0.61) and rainy season (p-value 0.01, 95%CI = 1.66-5.65). Factors affecting disease prevention and control behaviors were income insufficiency (p-value 0.01, 95%CI = 0.03-0.34), smoking (p-value 0.01, 95%CI = 0.03 - 0.63) and disease risk perceived (p-value < 0.01, 95%CI = 0.01-0.04). The developed risk groups and patient groups consisted of 1) surveillance system for risky seasons and at-risk groups, 2) information systems must rapid information delivery to control the disease, 3) promote awareness of both knowledge, preventive benefits and risk of disease, 4) driving policies or measures to control and prevent communicable diseases.  The results of the model testing phase were divided into 4 groups of 84 samples in each group. There was consisting of 2 experimental groups and 2 comparison groups, it was found that when assessing the effectiveness of the model for prevention and control of Melioidosis by testing knowledge, attitudes about disease prevention and control, and Melioidosis prevention and control behaviors. The experimental group and the comparison group had different scores of knowledges, attitudes, and behaviors at a statistically significant level of 0.01, while the experimental group, it was found that before and after the experiment difference in knowledge and behavior at statistical significance level 0.01. Therefore, the developed Melioidosis prevention and control model should be applied in other areas. 
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาตัวแบบการป้องกันและควบคุมโรคเมลิออยโดสิส จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งจัดเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวแบบ และระยะที่ 2 การทดลองตัวแบบที่พัฒนาขึ้น ในพื้นที่สี่อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาอธิบายคุณลักษณะกลุ่มตัวอย่างใช้ Chi-square สถิติอนุมานใช้ Multivariate logistic regression ในการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการความชุกและพฤติกรรมการการป้องกัน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและใช้ Kruskal-Wallis เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการดำเนินงานก่อนและหลังการทดลอง   ผลการศึกษาในระยะการพัฒนาตัวแบบพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคเมลิออยโดสิสโดยการทบทวนวรรณกรรมและวิเคราะห์ผลด้วยMeta Analysis  ได้แก่อาชีพเกษตรกร  (OR=1.24; 95% CI =1.15-1.33), การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (OR=0.31; 95% CI=0.24-0.39), การสูบบุหรี่ (OR=0.66; 95% CI= 0.55-0.80), การสัมผัสดินโคลนหรือน้ำที่ปนเปื้อนจากแหล่งน้ำ (OR=1.60; 95% CI=1.21-2.13), การมีโรคประจำตัว (OR=1.67; 95% CI=1.39-2.00), การสัมผัสกับดิน (OR=1.48; 95% CI=1.16-1.89),  การมีบาดแผล (OR=1.81; 95% CI=1.20-2.7)และการมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรค (OR=2.02; 95% CI=1.55, 2.64)  เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความชุกโรคเมลิออยโดสิสในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า เมื่อแบ่งกลุ่มทดลอง จำนวน 132 คน กลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 133 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 67.17%, อาชีพเกษตรกร 31.32%  มีโรคประจำตัว41.89% ปัจจัยด้านการมีบาดแผล (p-value 0.01, 95%CI= 0.18-0.78), ลักษณะบ้านมีใต้ถุนบ้าน (p-value = 0.04, 95%CI= 0.36-1.08), ลักษณะสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน (p-value 0.01, 95%CI = 0.05-0.80), พบผู้ป่วยในพื้นที่ (p-value 0.01, 95%CI = 1.11-7.59), การสูบบุหรี่ (p-value 0.01, 95%CI = 0.16-0.53), การดื่มแอลกอฮอล์ (p-value 0.01, 95%CI = 0.20-0.58), การมีโรคประจำตัว (p-value<0.01, 95%CI = 0.16-0.49), ฤดูฝน (p-value 0.01, 95%CI = 2.53-8.61), การอยู่ในพื้นที่มากกว่า 20 ปี (p-value 0.01, 95%CI = 1.04 - 4.27), การรับรู้ด้านความรู้ (p-value 0.01, 95%CI = 0.10-0.52), การรับรู้ด้านโอกาสเสี่ยง (p-value 0.01, 95%CI = 0.14-0.88) และการรับรู้ด้านประโยชน์ในการป้องกันโรค(p-value 0.01, 95%CI = 0.10-0.81) เมื่อวิเคราะห์ตัวแปรเชิงพหุปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความชุกได้แก่ การสูบบุหรี่(p-value 0.01, 95%CI = 0.21-0.72) การมีโรคโรคร่วม(p-value 0.01, 95%CI = 0.20-0.61)และฤดูฝน (p-value 0.01, 95%CI = 1.66-5.65) นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้วิเคราะห์ตัวแปรเชิงพหุปัจจัยปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคพบว่า ความไม่พอเพียงของรายได้(P-value 0.01, 95%CI = 0.03-0.34) การสูบบุหรี่( P-value 0.01, 95%CI = 0.03 - 0.63) การรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค(P-value <0.01, 95%CI = 0.01-0.04) จากการศึกษาปัจจัยดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้พัฒนาตัวแบบโดยการมีส่วนร่วมของคณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านป้องกันและควบคุมโรค กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยตัวแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย1)ระบบการเฝ้าระวังในฤดูกาลที่เสียงและกลุ่มที่เสี่ยง 2)ระบบข้อมูล มีการส่งต่อข้อมูลรวดเร็วทันต่อการควบคุมโรค 3)ส่งเสริมการรับรู้ทั้งด้านความรู้ ประโยชน์ในการป้องกันและโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค 4)การขับเคลื่อนนโยบายหรือมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ ผลการศึกษาในระยะการทดสอบตัวแบบโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม กลุ่มละ 84 คน โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 2 กลุ่มและกลุ่มเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม พบว่า เมื่อการประเมินประสิทธิผลของตัวแบบการป้องกันและควบคุมโรคเมลิออยโดสิสที่พัฒนาขึ้นโดยทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคเมลิออยโดสิส ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเมลิออยโดสิส  กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติและสำหรับในกลุ่มทดลองพบว่าก่อนและหลังการทดลองมีคะแนนความรู้และพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน โดยหลังการทดลองมีคะแนนเพิ่มขึ้น P-value 0.01 ดังนั้นจึงควรนำตัวแบบการป้องกันและควบคุมโรคเมลิออยโดสิสที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นที่มีบริบทที่คล้ายคลึงกัน ต่อไป 
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1534
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011560002.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.