Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1535
Title: A Model Development for Depression Prevention Among the Elderly in ROI ET Province
การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Ladda Pholputta
ลัดดา พลพุทธา
Choosak Nithikathkul
ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: ผู้สูงอายุ
การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้า
จังหวัดร้อยเอ็ด
Elderly
Depression prevention model
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Depression in the elderly is a major public health problem, which the assistance is not covered or inability to access treatment services may lead to suicide. The purposes of this research were to: 1) Study the prevalence of depression among the elderly, Roi Et Province; 2) Study factors associated with depression, factors predicting depression, and components of depression in the elderly; 3) Develop a depression prevention model in the elderly; and 4) Study the effectiveness of an experiment of a depression prevention model in the elderly. The data were collected from May, 2020 until May. The data collection consisted of 2 phases as follows: 1) Phase 1, the study of the prevalence of depression among the elderly, components of depression in the elderly, and development of a depression prevention model in the elderly, Roi Et Province. The subjects were stakeholders and consisted of 400 elderlies which analyzed depression in the elderly by community participation, and developed a depression prevention model in the elderly; 2) Phase 2, experiment and evaluate the effectiveness of a depression prevention model in the elderly in two districts of Roi Et province. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, analyzed factors associated with depression in the elderly by Pearson product moment Correlation Coefficient, analyzed factors predicting depression by Multiple regression, and analyzed components of depression in the elderly by Confirm Factor Analysis, and compared depression, quality of life, and preventive behaviors for depression in the elderly by one-way repeated-measures ANCOVA and Content analysis.           The results of this research were as follows: 1) Regarding prevalence of depression among the elderly, most of the theme (47.25) have depression, followed by mild depression (35.75%). 2) Factors associated with depression in the elderly covered income, marital status, primary caregiver, underlying disease, work, psychological well-being, number of life crises, and social support which were significantly associated with depression in the elderly. However, gender, age, education level, religion, amount of medication taken, the ability to perform basic daily activities, the ability to perform complex daily routines, exercise, and participation in religious activities were not significantly related to depression. Factors predicting depression in the elderly were life crisis events, primary caregiver, income, social support, and underlying disease which could be able to predict depression in the elderly at 25.50 percent and analyze the components of depression in the elderly by Principal Component Analysis, Orthogonal by Varimax method, 37 components were obtained. When considering the criteria that the key element must have an Eigenvalues greater than or equal to 1.0 or more, in which each question must have an element weight of 0.2 (Item Loading) or more, it was found that there were still 37 important components, could explain the variance at 74.52 percent; 3) Development of a prevention model for depression in the elderly. It consisted of activities such as educating about depression in the elderly, preventing depression in the elderly, exercising by using yoga, meditation, empowerment in the elderly, friends visiting friends, volunteers visiting the elderly, and nurses/health teams visiting the elderly; 4) Effectiveness of the depression prevention model Trial in the Elderly, results showed that after the model application, the experimental group had lower mean depression scores than and lower than the comparison group with statistical significance (p<0.01). The experimental group also had higher mean scores of quality of life and preventive behaviors for depression than before and higher than that of comparison group (p< 0.01). Therefore, health care teams and stakeholders should be encouraged to apply this development program appropriately to the context of the community.
ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ซึ่งการได้รับการช่วยเหลือไม่ครอบคลุม หรือการไม่สามารถเข้าถึงบริการการรักษา อาจเป็นสาเหตุนำไปสู่การฆ่าตัวตาย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า และองค์ประกอบการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ 3) พัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และ 4) ศึกษาประสิทธิผลของการทดลองใช้รูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคม 2563 - พฤษภาคม 2564 ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาความชุกภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ องค์ประกอบการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และการพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน วิเคราะห์การป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โดยชุมชนมีส่วนร่วม และพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระยะที่ 2 ทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ในพื้นที่สองอำเภอของจังหวัดร้อยเอ็ด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment Correlation Coefficient) วิเคราะห์หาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ใช้สถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) และวิเคราะห์ข้อมูลหาองค์ประกอบการเกิดภาวะซึมเศร้าซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โดยใช้สถิติองค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirm Factor Analysis) และ วิเคราะห์ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้า คุณภาพชีวิต และพฤติกรรมป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โดยใช้สถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one -way repeated-measures ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1) ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 47.25 ส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 35.75 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุพบว่า รายได้ สถานภาพสมรส ผู้ดูแลหลัก โรคประจำตัว การทำงาน ความผาสุกด้านจิตใจ จำนวนเหตุการณ์วิกฤตในชีวิต และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05  ส่วนเพศ อายุ ระดับการศึกษา ศาสนา จำนวนยาที่รับประทาน ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่ซับซ้อน การออกกำลังกาย และการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ได้แก่ เหตุการณ์วิกฤตในชีวิต ผู้ดูแลหลัก รายได้ การสนับสนุนทางสังคม และโรคประจำตัว สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ร้อยละ 25.50 และวิเคราะห์องค์ประกอบการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โดยการสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis) หมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธกอนอล (Orthogonol) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) ได้องค์ประกอบ 37 องค์ประกอบ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่าองค์ประกอบสำคัญนั้นต้องมีค่าไอเกน (Eigenvalues) มากกว่าหรือเท่ากับ 1.0 ขึ้นไป โดยในแต่ละข้อคำถามต้องมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.2 (Item Loading) ขึ้นไปพบว่า ยังคงได้องค์ประกอบที่สำคัญ 37 องค์ประกอบ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 74.52 3) ดังนั้นรูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การออกกำลังกายโดยใช้โยคะ การใช้สมาธิในการดำรงชีวิต การเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้สูงอายุ เพื่อนเยี่ยมเพื่อน อสม.เยี่ยมผู้สุงอายุ และพยาบาล/ทีมสุขภาพเยี่ยมผู้สูงอายุ และ 4) ประสิทธิผลของการทดลองใช้รูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตและพฤติกรรมการป้องกันภาวะซึมเศร้ามากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01) ดังนั้นควรส่งเสริมให้ทีมสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำโปรแกรมการพัฒนานี้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1535
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011560004.pdf7.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.